16 พฤษภาคม 2567 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – มหาวิทยาลัยแมสซีย์ (Massey University) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในกระทรวงศึกษาธิการของไทย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อโอกาสในการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำจากนิวซีแลนด์ และกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (PCSHS) ในอนาคต
ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในระหว่างการมาเยือนประเทศไทยของนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ คริสโตเฟอร์ ลักซอน พร้อมด้วยคณะผู้แทนภาคธุรกิจจากประเทศนิวซีแลนด์ การมาเยี่ยมเยือนทางการทูตครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระจายโอกาสทางการค้า และเน้นย้ำนวัตกรรมที่สำคัญของนิวซีแลนด์ในภาคส่วนหลัก ๆ ได้แก่ การผลิตและเทคโนโลยี ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดยรองศาสตราจารย์ แจน โธมัส และรักษาการแทน ร.ท.ธนู วงศ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ในนามของมหาวิทยาลัยแมสซีย์ และ สพฐ. เมื่อวันพุธที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา
ศาสตราจารย์โธมัสกล่าวว่า มหาวิทยาลัยแมสซีย์มีความยินดีที่จะกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยผ่านบันทึกความเข้าใจ โดยระบุว่า “ความร่วมมือนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านการศึกษาและการวิจัย ด้วยการทำงานร่วมกับกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เราสามารถมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูนักเรียนและนักการศึกษาที่มีความสามารถรุ่นต่อไป เรากำลังปูทางไปสู่การแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมและโอกาสทางการศึกษาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในอนาคต"
บันทึกความเข้าใจระดับสูงนี้จะอนุญาตให้มีการทำงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงการเคลื่อนย้ายของพนักงานและนักศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวิชาการ และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายอาจพบว่าเป็นประโยชน์ร่วมกัน
เครือข่าย PCSHS ประกอบด้วยโรงเรียน 12 แห่งที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดูแลโดยสำนักความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ (ESEB) โรงเรียนแต่ละแห่งตั้งอยู่ครอบคลุมในสี่ภูมิภาคของประเทศไทย และเปิดรับสมัครนักเรียนที่มีพรสวรรค์ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งนักเรียนทุกคนจะได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากรัฐบาล
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกความเข้าใจนี้ ดร. คาเรน แอชตัน อาจารย์อาวุโสด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ สาขามนุษยศาสตร์ สื่อ และการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ของแมสซีย์ จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกอบรมครูในประเทศไทยสำหรับโรงเรียมในเครือข่าย PCSHS โดย ดร. แอชตันจะจัดเวิร์คช็อปให้กับเหล่าครูจาก PCSHS จำนวน 40 คน รวมถึงการสัมมนาให้กับครู สพฐ. ในเดือนมิถุนายนนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวจะเน้นไปที่การสนับสนุนครูให้มีส่วนร่วมกับนักเรียนในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และเพิ่มขั้นตอนในการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีการสื่อสารและโต้ตอบ เพื่อยกระดับการศึกษาในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น