วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ร่วมกับ แม็คโคร เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ เพื่อขอบคุณลูกค้าผู้ประกอบการ ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ในกรุงเทพฯ

 


กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2565 – สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) และ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สานต่อความร่วมมือยกระดับอุตสาหกรรมอาหารทะเลในประเทศไทย จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำขอบคุณลูกค้าผู้ประกอบการ ณ บ้านพักเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย ในกรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมื้ออาหารสุดเอ็กซ์คลูซีฟนี้ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของโปรโมชั่น “สัมผัสรสชาติแซลมอนจากนอร์เวย์ ได้ทุกวัน ที่แม็คโคร” ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ กันยายน 2565 – พฤศจิกายน 2565 ที่แม็คโคร 131 สาขาทั่วประเทศ พร้อมด้วยลูกค้าที่เข้าร่วมแคมเปญ 18 ราย

 

 

 

ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) กล่าวว่า ในปีนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ปักธงให้นอร์เวย์เป็นประเทศแห่งอาหารทะเลและผลักดันการใช้อาหารทะเลจากนอร์เวย์ในเมนูอาหารไทย เราภูมิใจนำเสนออาหารทะเลที่มีโปรตีนคุณภาพสูง อาทิ แซลมอน ฟยอร์ดเทราต์ และนอร์วีเจียนซาบะ จากน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาดของนอร์เวย์ มาสู่ตลาดในประเทศไทย ด้วยแนวโน้มของการประกอบอาหารเองที่บ้านที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเริ่มหันมาซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากแม็คโคร และความต้องการอาหารทะเลจากนอร์เวย์ที่สูงขึ้นหลังการคลี่คลายของสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารต่าง ๆ ได้กลับมาเปิดกิจการอีกครั้งและมีการขยายธุรกิจ เรามองเห็นโอกาสในการกระชับความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับแม็คโคร ธุรกิจค้าส่งชั้นนำของประเทศไทย โดยจัดแคมเปญส่งเสริมการขายตามฤดูกาล เพื่อกระตุ้นยอดขายและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยและผู้ประกอบการร้านอาหาร”

 

 

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “แม็คโคร มีความยินดีที่ได้สานต่อความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ซึ่งทำให้เราสามารถส่งเสริมสินค้าจากประเทศผู้ผลิตอาหารทะเลที่มีรสชาติดี คุณภาพสูง ปลอดภัย มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน แซลมอนจากนอร์เวย์ยังคงครองตำแหน่งสินค้าอันดับ ที่เรานำเข้ามากกว่า 50% ของปริมาณทั้งหมดในตลาดประเทศไทย ความร่วมมือของเราผ่านแคมเปญภายในร้าน สื่อส่งเสริมการขาย สื่อประชาสัมพันธ์ สื่อสังคมออนไลน์ โครงการฝึกอบรมลูกค้า และกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ เช่น งานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าเช่นนี้ ได้พิสูจน์แล้วว่าช่วยกระตุ้นยอดขายได้อย่างมากในปีที่ผ่านมา และกระชับความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการร้านอาหารต่าง ๆ ทั่วประเทศ”

 

 

 

ภายในงานเลี้ยงอาหารค่ำยังได้รับเกียรติจาก นาง อัสตริด เอมีเลีย เฮลเล เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยเชฟจิ๊บ - ชภรภัช ดาภาชุติสรรค์ ผู้รังสรรค์เมนูจากอาหารทะเลของนอร์เวย์ซึ่งประกอบไปด้วย แซลมอนหมักซีอิ๊ว นอร์วีเจียนซาบะเสิร์ฟพร้อมควินัวและซอสซัลซ่า ต้มยำเกี๊ยวแซลมอนจากนอร์เวย์ แซลมอนรมควันย่าง ตามด้วยข้าวเหนียวมะม่วงและไอศกรีมชาไทย ลูกค้าของแม็คโครได้ใช้โอกาสนี้ในการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์และพูดคุยถึงแนวโน้มของตลาดอาหาร

 

ตลาดอาหารทะเลในประเทศไทยในส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภคมีสัญญาณการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ด้วยเศรษฐกิจโลกที่กลับมาฟื้นตัว พร้อมกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคในหลายประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการร้านอาหารต่าง ๆ จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว และเศรษฐกิจโลกที่เติบโตช้ากว่าตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ธุรกิจต่าง ๆ ควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่แข็งแกร่งและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อรักษาการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว

ศิริราช ผนึกพลังภาครัฐ-เอกชน ระดมทุนสนับสนุนโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร

 


รพ.ศิริราช จับมือภาครัฐ-เอกชน แถลงโครงการ ศิริราชรวมพลังภาครัฐ-เอกชน เพื่อโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร” เปิดตัวแคมเปญ กายอุปกรณ์...เชื่อมใจให้ไปต่อ” ชวนบริจาคสมทบทุนสนับสนุนการสร้างนักกายอุปกรณ์ เสริมภารกิจช่วยผู้พิการที่ยากไร้และด้อยโอกาสให้ได้รับอุปกรณ์และการรักษาที่ดี และกลับมามีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงคนปกติ พร้อมชวนดูหนังสั้นสร้างแรงบันดาลใจจากชีวิตจริงของผู้พิการแขน-ขา คน ที่ชีวิตเริ่มต้นใหม่ได้ด้วยกายอุปกรณ์ 25 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป


โรงพยาบาลศิริราช แถลงข่าว โครงการ ศิริราชรวมพลังภาครัฐ-เอกชน เพื่อโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ณ ห้องประชุมสิรินธร อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น โรงพยาบาลศิริราช  นำโดย นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช รศพญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหารภาคเอกชน ได้แก่ นายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชนและนางกัลยา สวัสดิชัย หัวหน้าฝ่ายขายด้านการศึกษา บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด   นางพักร์วิมล สตะเวทิน รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายอีคอมเมิร์ซ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล รีเทล (ท็อปส์ นางกนกพร  รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตทจํากัด (มหาชนและ นาย เชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี เข้าร่วมงาน


นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล .มหิดล กล่าวว่า โรงเรียนกายอุปกรณ์ สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งเพื่อผลิตนักกายอุปกรณ์ที่มีคุณธรรมและคุณภาพ สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผู้พิการและให้บริการด้านกายอุปกรณ์ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว ผู้สูงอายุ บุคคลทั่วไป รวมถึงนักกีฬา จัดการเรียนการสอนด้านกายอุปกรณ์ ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกระดับนานาชาติ ซึ่งถือเป็นหลักสูตรแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ดำเนินการเปิดหลักสูตรตั้งแต่ปี พ.. 2545 ผลิตบัณฑิตในประเทศ และต่างประเทศไปแล้วเกือบ 400 


นพอภิชาติ อัศวมงคลกุล กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งพันธกิจของโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คือการมุ่งเน้นงานวิจัยร่วมกับหลายภาคส่วนเพื่อพัฒนาวัสดุท้องถิ่นและเทคโนโลยีภายในประเทศ แต่อุปกรณ์และเครื่องมือสนับสนุนงานวิจัยยังขาดแคลน ขณะเดียวกันในประเทศไทยมีจำนวนนักกายอุปกรณ์ผู้ให้บริการงานสาธารณสุขที่รองรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวทั้งประเทศเพียง 200 กว่าคน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเข้าถึงการรักษาของคนพิการยังน้อยมาก อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายในการผลิตนักศึกษากายอุปกรณ์สูงมากกว่าค่าเทอมหลายเท่าตัว ทางโรงเรียนฯ ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเกินมาโดยตลอดทำให้ประสบภาวะขาดทุนจากการดำเนินงาน 50 ล้านบาทต่อปี โดย โรงพยาบาลศิริราชต้องแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้  ดังนั้นการระดมทุนเพื่อสนับสนุนพันธกิจและการดำเนินงานของโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง


ด้าน คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวเสริมว่า การระดมทุนเพื่อโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร นอกจากจะเป็นการสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรด้านกายอุปกรณ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยในการจัดหาเครื่องมือวิจัยที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงและเพิ่มคุณภาพทางการรักษา รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาคนพิการทางกายกว่า 40% เข้าไม่ถึงบริการด้านกายอุปกรณ์จากผู้มีความจำเป็นทั้งหมด 1,000,000 คน โรงเรียนฯ จำเป็นต้องพัฒนาระบบบริการกายอุปกรณ์ เพื่อการเข้าถึงสำหรับผู้ป่วยโดยการผสมผสานเทคโนโลยีและเครือข่ายการสื่อสารเข้ามาช่วยเสริม


ไม่เพียงเท่านี้ โรงเรียนฯ ยังมีแผนงานปรับปรุงพื้นที่อาคารโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรตามหลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal design for ALLที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและพิการที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ให้เป็นตัวอย่างของอารยสถาปัตย์ในหน่วยงานสาธารณสุข พร้อมสร้างความตระหนักให้สังคมว่า คนพิการไม่ได้ต้องการความสงสารแต่ต้องการโอกาสในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม’ จึงมีความจำเป็นที่ทุกคนในสังคมต้องให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ไม่ใช่เป็นภาระและหน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ต้องอาศัยพลังความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านมาร่วมกันบริจาคเพื่อผลักดันให้คนเหล่านี้มีที่ยืนในสังคมร่วมกับพวกเรา


 รศ. พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร กล่าวว่า คลินิกหน่วยกายอุปกรณ์ให้บริการรักษาผู้ป่วยทุกเพศทุกวัยด้วยกายอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นเอง อาทิ แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองขา แขน และลำตัว รองเท้าดัดแก้ไขความพิการ และแผ่นรองฝ่าเท้า หากแต่ที่ผ่านมาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ยากไร้และด้อยโอกาสจะได้รับกายอุปกรณ์ตามสิทธิขั้นพื้นฐานเท่านั้น เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินสิทธิ์พื้นฐาน เนื่องจากต้นทุนการผลิตวัสดุและส่วนประกอบหลายอย่างยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ


ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนกายอุปกรณ์ฯ จึงจัดตั้งกองทุน กายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ” ในศิริราชมูลนิธิ ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยผู้พิการที่ยากไร้ให้ได้รับอุปกรณ์และการรักษาที่มีคุณภาพ โดยแต่ละปีเราได้สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลกว่าหลายล้านบาท ทำการผลิตอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมากกว่า 7,000 ชิ้น/ปี ในปีนี้จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคช่วยผู้พิการที่ยากไร้และด้อยโอกาสในแคมเปญ กายอุปกรณ์...เชื่อมใจให้ไปต่อ โดยคาดหวังว่าทุกการบริจาคที่สนับสนุนโรงเรียนกายอุปกรณ์ฯ จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างยั่งยืน เรามีตัวแทนผู้พิการแขนขาที่ได้รับการรักษาจากคลินิกหน่วยการอุปกรณ์ ราย มาแบ่งปันเรื่องราวของตนเองเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคมและผู้พิการคนอื่นๆ ผ่านภาพยนตร์สั้น ซึ่งจะเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ วันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมสนับสนุนแคมเปญนี้เพื่อส่งต่อการเป็นผู้ให้ 


นอกจากนี้โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร ยังได้ช่วยเหลือผู้ป่วยผู้พิการที่ยากไร้ โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุน ผ่านกิจกรรมขององค์กรเอกชนต่างๆ ด้วยดีเสมอมา


 นาย เชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า เจตนารมณ์มุ่งมั่นของมูลนิธิคือ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน” เราจึงมีกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพความจำเป็นของสังคม โดยในปีนี้มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับศิริราช เปิดโครงการเป๋าบุญ หนุนขา” สมทบกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ โดยผู้บริจาคจะได้รับกระเป๋าเอนกประสงค์ที่ผลิตจากถุงปูนซีเมนต์ที่ยังไม่ผ่านการใช้งานเป็นของที่ระลึก ซึ่งกระเป๋าดังกล่าวตัดเย็บโดยกลุ่มคนไร้ที่พึ่งที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทุกการบริจาคจึงเป็นการให้บุญต่อบุญ


นางกนกพร  รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตทจำกัด (มหาชนกล่าวว่า ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ หนึ่งในพันธกิจคือพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทยให้เติบโตไปด้วยกัน ปตท.จึงสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงพื้นที่อาคารโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรตามหลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยพร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการตามเจตนารมย์ของโรงเรียนฯ


นางพักร์วิมล สตะเวทิน รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายอีคอมเมิร์ซ บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ในเครือเซ็นทรัล  รีเทล กล่าวว่า ท็อปส์” มีเจตนารมย์ที่จะดำเนินธุรกิจเคียงคู่กับการเอาใจใส่สังคมในทุกมิติ จึงจัดทำโครงการต่าง ๆ ร่วมกับคณแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 สำหรับการสนับสนุนโครงการะดมทุนโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของท็อปส์ ที่ต้องการมีส่วนร่วมสร้างความเท่าเทียม สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยที่ด้อยโอกาส โดยปีใหม่นี้ท็อปส์ได้จัดกระเช้าของขวัญภายใต้แนวคิด Every Day DISCOVERY ส่งมอบความสุขที่ยิ่งใหญ่ผ่านแคมเปญ “Celebrating the Future” เพื่อให้กระเช้าของขวัญปีใหม่ มีคุณค่าและมีความหมายในการให้มากขึ้น ท็อปส์’ จึงขอเป็นตัวกลางส่งคืนความสุขสู่สังคม โดยรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายกระเช้าของขวัญปีใหม่ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2565  – 31 มกราคม 2566 จะร่วมสมทบทุนเพื่อการผลิตแขนขาเทียม โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร พร้อมเชิญชวนลูกค้าของท็อปส์ทุกคนร่วมกันส่งต่อความสุขไปด้วยกันผ่านกล่องบริจาค และ สแกนคิวอาร์โค้ดได้ที่ ท็อปส์, ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์, ท็อปส์ ไฟน์ ฟู้ดส์ท็อปส์ คลับ และแฟมิลี่มาร์ท ทุกสาขา 


นายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองประธานคณะกรรมการบริหาร ของ บมจทรู คอร์ปอเรชั่น ในนามบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์และทรู คอร์ปอเรชั่น พร้อมสนับสนุนแคมเปญ กายอุปกรณ์...เชื่อมใจให้ไปต่อ อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้โรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธรสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน โดยนำศักยภาพความเป็นสื่อ ร่วมประชาสัมพันธ์โครงการระดมทุนผ่านสื่อต่างๆ ของเครือฯ เปิดช่องทางระดมทุนผ่านแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท ที่มีผู้ใช้บริการครอบคลุมทุกเครือข่าย และจัดทำแคมเปญรณรงค์รับบริจาค รวมไปถึงผลักดันไอเดียในการระดมทุนให้แก่โรงเรียน


การสนับสนุนโครงการในครั้งนี้ สะท้อนความมุ่งมั่นของเครือเจริญโภคภัณฑ์และทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มุ่งเสริมสร้างให้ประชากรไทยมีสุขภาวะที่ดี สุขภาพแข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข มีโอกาสประกอบอาชีพ เพื่อสร้างประโยชน์และคุณค่าให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติต่อไป


นอกจากองค์กรและหน่วยงานที่กล่าวมา ประชาชนผู้มีจิตศรัทธายังสามารถเติมเต็มโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พวกเขา มาร่วมเป็นผู้ให้” เพราะทุกการให้จะเติมเต็มชีวิตใหม่ให้คนอีกนับล้าน

1. บริจาคเงินเข้าศิริราชมูลนิธิ ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี ศิริราชมูลนิธิ เลขที่บัญชี 901-7-07188-8 โดยระบุในบันทึก "กองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการหรือ "กองทุน D003366"

2. บริจาคผ่าน Application ธนาคารที่ท่านมีบัญชีเงินฝาก โดยสแกนผ่าน QR CODE (กรุณาระบุกองทุนกายอุปกรณ์เพื่อผู้พิการ หรือ กองทุ D003366” )

3. สำหรับท่านที่ต้องการใบเสร็จรับเงิน รวมถึงการลดหย่อนภาษี  2 เท่า (e-Donation ถึง 31 ธันวาคมนี้เท่านั้น) 
ที่ออกโดยศิริราชมูลนิธิ กรุณากรอกข้อมูลผ่านช่องทางไลน์ @sirirajfoundation หรือส่งอีเมลที่ donation@sirirajfoundation.org กรุณาแจ้งข้อมูลชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน  เพื่อจัดส่งเอกสารการบริจาคแก่ท่านต่อไป


สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  @sisspo หรือ สแกน QR Code

รับชมคลิป กายอุปกรณ์เชื่อมใจให้ไปต่อ” ที่ https://youtu.be/LMPYjpP1m4I 

บีโอไอนำทีมผู้บริหารหารือ ส.อ.ท. ยกระดับอุตสาหกรรมไทย สร้างเศรษฐกิจใหม่

 


เลขาธิการบีโอไอ นำทีมผู้บริหารเข้าพบ ส.อ.ท. หารือความร่วมมือยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยสู่โมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะกลุ่ม BCG เตรียมตั้งคณะทำงานร่วมผลักดัน SMEs เข้าถึงมาตรการ และสิทธิประโยชน์จากบีโอไอ ส.อ.ท. ชูแนวคิด One FTI เร่งขับเคลื่อน 1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรม มุ่งสร้างอุตสาหกรรมยุคใหม่

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้นำคณะผู้บริหารบีโอไอเข้าพบและหารือกับนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยรองประธานอาวุโส รองประธานและกรรมการบริหาร ส.อ.ท. โดยได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างบีโอไอกับ    ส.อ.ท. ในการร่วมขับเคลื่อนการลงทุน เพื่อมุ่งสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี (พ.ศ. 2566  2570) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ มกราคม 2566 เป็นต้นไป

“บีโอไอให้ความสำคัญกับการทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการยกระดับภาคอุตสาหกรรม และการลงทุนที่จะนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะการส่งเสริมอุตสาหกรรมมุ่งเป้าทั้ง 5 สาขา ได้แก่ BCG อีวี สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นอกจากนี้ บีโอไอยังได้เชิญชวนให้สมาชิก ส.อ.ท. เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนา 3 ด้านให้มากขึ้น คือ พัฒนาคน พัฒนา SMEs และพัฒนาชุมชน โดยบีโอไอมีมาตรการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแก่บริษัทเอกชนที่ทำกิจกรรมในเรื่องเหล่านี้ด้วย” นายนฤตม์กล่าว

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญในการหารือร่วมกับ ส.อ.ท. คือ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใหม่ของบีโอไอ ร่วมกับการสนับสนุนนโยบาย One FTI ของ ส.อ.ท. เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเป็นที่พลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจใหม่ การจัดตั้งทีมทำงานร่วมกันเพื่อให้สมาชิก ส.อ.ท. ทั่วประเทศ โดยเฉพาะ SMEs เข้าถึงมาตรการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของบีโอไอ รวมถึงการร่วมกันปลดล็อกอุปสรรคและอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน

            นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โลกปัจจุบันมีปัจจัยท้าทายหลายด้านที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัว โดยนโยบาย ONE FTI ซึ่งประกอบด้วย One Vision, One Team, One Goal จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่แข็งแกร่งกว่าเดิม เร่งขับเคลื่อน 1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรม มุ่งสร้างอุตสาหกรรมยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนทั้งอุตสาหกรรมเดิม (First Industries) ไปพร้อมกับอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next - GEN Industries) ที่ประกอบด้วย 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S - Curves) อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยแนวคิด BCG และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

            “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เลขาธิการบีโอไอมีนโยบายและมาตรการใหม่ ๆ ที่จะช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง ส.อ.ท. พร้อมจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนให้สมาชิกเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของบีโอไอ เพื่อสร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะสร้างความได้เปรียบ และสามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมกลุ่ม BCG ที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ส.อ.ท. พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ไปพร้อมกัน สำหรับอุตสาหกรรมเดิม เราพร้อมสนับสนุนเพื่อให้ผู้ประกอบการยังคงยืนหยัด ต่อสู้ และต่อลมหายใจให้สามารถก้าวข้ามผ่านการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายไปได้ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” นายเกรียงไกรกล่าว    

ดร.วรวุฒิ คงศิลป์ ตัวแทนวินตัน (Winton)จากอังกฤษ และคณะร่วมสวัสดีอวยพร ดร.สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

  ดร.วรวุฒิ คงศิลป์  (คนที่  3  จากขวา)  หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารร่ วมอาวุโส  (Senior Partner)   Winton Associates Ltd.   (Co Advisor and In...