วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567

ปลุกพลังเศรษฐกิจไทย! ยกระดับบริการ สร้างมูลค่าเพิ่ม ผลักดันประเทศไทยไม่หยุดยั้ง

 


กรุงเทพฯ ประเทศไทย 21 มีนาคม 2567 – ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ในประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2024 จะยังคงชะลอตัว ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมได้แนะนำว่าภาครัฐในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับมาตรการระยะยาวเพื่อเพิ่มศักยภาพและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น การท่องเที่ยวและการบริการโรงแรม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นและเพื่อสร้างมูลค่าทางการตลาดที่มากขึ้น

หลังจากการเติบโตในปีพ.ศ. 2566 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.9% ซึ่งชะลอตัวลงจากปีพ.ศ. 2565 ถึง 2.5% ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับลดการคาดการณ์ในการเติบโตสำหรับปีนี้ โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC) ปรับลดประมาณการการเติบโตเป็นช่วง 2.2-3.2% จากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วที่ 2.7-3.7%

จุดที่น่าจับตามองสำหรับเศรษฐกิจไทยประกอบด้วยการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น และความแข็งแกร่งของภาคบริการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มุ่งเน้นไปที่การดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายสูงและส่งเสริมการบริการระดับพรีเมียม อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังเหล่านี้ยังคงห่างไกลจากความเป็นจริง เนื่องจากประมาณการค่าใช้จ่ายต่อทริปของนักท่องเที่ยวถูกบันทึกว่าต่ำกว่าปกติอย่างมาก แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นในทุกๆ ประเทศ อ้างอิงจากงานวิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา [1] รายงานเศรษฐกิจรายเดือน (กุมภาพันธ์ 2567)


image.png


เลียม คอร์ดิงลีย์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Oxford Economics กล่าวว่า ในขณะที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโตภายหลายวิกฤติโควิด โดยรัฐบาลในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบายได้ตั้งเป้าหมายชัดเจนที่จะก้าวข้ามการท่องเที่ยวแบบแมส-มาร์เก็ตซึ่งเคยเป็นแนวทางหลักในการโปรโมตอุตสาหกรรมนี้ ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงเพื่อก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินเข้าสู่การท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่น รวมถึงเมืองรองได้มากกว่าที่เคยเป็นมา”

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ รัฐบาลไทยควรเฟ้นหานโยบายที่มีประสิทธิภาพ โดยเอื้อให้เกิดการกระตุ้นการพัฒนาด้านบริการการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งสร้างรายได้มูลค่าหลายหมื่นล้านบาทให้แก่ภาคการท่องเที่ยว รวมถึงพิจารณาการยกระดับและเสริมทักษะของบาร์เทนเดอร์ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม นักลงทุน และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและบริการ เพื่อตอบสนองสู่การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นจุดหมายปลายทางด้านบริการการท่องเที่ยวระดับพรีเมียมของประเทศไทย

จากรายงานวิจัยฉบับใหม่โดย 
Oxford Economics ที่เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว ชี้ว่าเทรนด์พรีเมียม (Premiumization) หรือการยกระดับการบริโภคสินค้าและบริการ กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตและฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบริการและค้าปลีกของประเทศไทย โดยยกระดับมาตรฐานและการส่งมอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เหนือระดับ เน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูง ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มองหาประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงไลฟ์สไตล์ อันหมายรวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่พิเศษไม่ซ้ำแบบใคร แนวโน้มของ "การเลือกสินค้าระดับพรีเมี่ยมนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากการเติบโตของปริมาณการบริโภคไวน์และสุราในระดับพรีเมียม จากปี 2564 ถึงปี 2569 ราวกว่า 43% และ 78% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าการเติบโตที่คาดการณ์ไว้ของไวน์และสุราระดับสแตนดาร์ดและระดับราคาที่ถูกในช่วงเวลาเดียวกันในระดับ 17% และ 5% ตามลำดับ

เอมิลี่ โรดส์ หัวหน้าฝ่ายการค้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ 
Scotch Whisky Association (SWA) “สก็อตวิสกี้ ในฐานะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับพรีเมียมที่มีประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานสามารถตอบโจทย์ความต้องการในประเทศไทยโดยเฉพาะการนำเสนอประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมการโรงแรมที่นำเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงและมีความหลากหลาย ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวและนำประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ดังที่ตัวอย่างของสก็อตวิสกี้ ที่ประสบความสำเร็จในสกอตแลนด์ โรงกลั่นวิสกี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับพรีเมี่ยมและการอุตสาหกรรมโรงแรมในแบบองค์รวม ในขณะที่ภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประกอบการโดยยึดความรับผิดชอบ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในเชิงบวกเป็นอย่างมาก รวมถึงสร้างเสริมการจ้างงานและการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนบ่มเพาะความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับการดื่มอย่างรับผิดชอบ ทั้งนี้ แนวทางการทำงานของ SWA ในการสนับสนุนภาคธุรกิจและตลาดสก็อตวิสกี้ในตลาดต่างประเทศนั้น มุ่งเน้นการผลักดันและกระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกแก่ทุกกลุ่มธุรกิจ"

รายงานที่ชื่อว่า
 "International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam" จัดทำโดย Oxford Economics และได้รับมอบหมายจาก Asia Pacific International Spirits and Wine Alliance (APISWA) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของการขายและจัดจำหน่ายไวน์และสุราต่างประเทศในสองประเทศเศรษฐกิจสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทยและเวียดนาม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที ลีสซิ่ง จับมือ ศรีประจันต์วัฒนยนต์ จัดอบรม "ขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดมลพิษ" โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

  บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด  ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ อรถจักรยานยนต์  ในเครือ เอ็ม บี เค  เล็งเห็นความสำคัญของการขับขี่ รถบนท้องถนนอย่างปลอ...