ดูเหมือนว่าขณะนี้ประเทศไทยเราโดยเฉพาะกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล กำลังเผชิญวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นมลพิษทางอากาศ ที่มักมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าเพราะอนุภาคเหล่านี้มีขนาดเล็กเกินกว่าที่ดวงตาของมนุษย์จะมองเห็น แต่อาจสามารถมองเห็นได้ในบางสถานการณ์ และ แม้ว่าเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่ามิได้หมายความว่าไม่มีมลพิษอยู่ในอากาศ
แพทย์หญิงมัณฑนา สันดุษฎื อายุรแพทย์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ และ เวชบำบัดวิกฤตโรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าววว่า ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 (particulate matter, PM) เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ รวมถึงไฟป่า และไม่ได้เป็นแค่ฝุ่นธรรมดา แต่คือฝุ่นขนาดเล็กมากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร (เส้นผมของคนเรามีหน้าตัด 50 ไม่โครเมตร แปลว่าฝุ่นจิ๋วนี้ต้องอยู่เรียงกัน 20 ตัวถึงจะมีขนาดเท่าหน้าตัดเส้นผมเรา 1 เส้น) ซึ่งเกินกว่าที่เราจะมองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นผงฝุ่น มนุษย์จะเห็นเพียงอากาศที่คล้ายมีหมอกๆ มัวๆ และเล็กมากพอที่จะไม่ถูกดักจับโดยกลไกการดักจับฝุ่นเบื้องต้นของร่างกายเรา ทั้งขนจมูก ทั้งเมือก ที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจ
ฝุ่นจิ๋วนี้สามารถผ่านลงหลอดลมและปอดเราเข้าไปได้ง่ายดาย และเล็กมากพอที่จะเข้าไปในหลอดเลือด และกระตุ้นในเกิดการอักเสบในที่ต่างๆ ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยฝุ่นจิ๋วพวกนี้มันมักจะมีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดตัวมันมาด้วย ทั้งสารเคมีที่เป็นสารโลหะหนัก เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายเรา ซึ่งนอกจากจะทำลายระบบทางเดินหายใจ ยังพบว่า PM2.5 ยังสร้างความเสียหายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้เพิ่มอัตราการเกิดโรค และการกำเริบของหอบหืด ถุงลมโป่งพอง รวมถึงมะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อีกด้วย”
โดยข้อมูลจาก World Health Organization Thailand ระบุว่า ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับระดับการรับสัมผัส และระยะเวลาที่รับสัมผัส อย่างไรก็ตามแต่ละบุคคลอาจมีความอ่อนไหวต่อผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กแตกต่างกันไป การรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ในระยะสั้นมักก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การระคายเคืองดวงตา จมูกและลำคอ การไอ และการติดเชื้อทางเดินหายใจสวนล่างเฉียบพลันลึกลงไปถึงปอด
ในขณะที่ ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศประเทศไทย รายงานว่า (ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567) ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศไทยพบเกินค่ามาตรฐาน โดย กรุงเทพมหา นครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. พบเกินค่ามาตรฐาน 2 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 12.4 - 40.3 มคก./ลบ.ม.
แพทย์หญิงมัณฑนา กล่าววต่อไปว่า ปัจจุบันมีการศึกษามากมาย พบข้อมูลตรงกัน ว่าคุณภาพอากาศที่ไม่ดี มีปริมาณ PM2.5 เกินมาตรฐานเพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งปอดได้จริง ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะป้องกันตัวเองจาก PM2.5 ด้วยการ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม outdoor ในกรณีคุณภาพอากาศไม่ดี PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้แนะนำให้ใส่หน้ากาก N95 เพื่อกรอง PM2.5 ให้ได้มากที่สุด หรือ ควรปิดประตูและหน้าต่างเพื่อป้องกันไม่ให้ละอองฝุ่นจากภายนอกเข้ามาในบ้าน
นอกจากนี้ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอด เราก็ควรจะคัดกรองโรคมะเร็งปอดอย่างเหมาะสม การคัดกรองมะเร็งปอดที่ดีที่สุด แนะนำการทำ low dose CT screening lung (LDCT) เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปอดอย่างละเอียด โดย การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดแบบ Low dose CT screening lung (LDCT) คือ ตรวจปอดโดยละเอียด ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปริมาณรังสีต่ำ สามารถฉายออกมาเป็นภาพสามมิติที่ให้ความละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา ทำให้สามารถคัดกรองโรคมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อนำไปสู่โอกาสรักษาหายได้มากกว่า” แพทย์หญิงมัณฑนา กล่าวทิ้งท้าย
ท่านสามารถศึกษาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับศูนย์โรงพยาบาลออนไลน์ หรือ Praram9V ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine) ได้ที่ ID Line : @praram9v หรือ คลิก https://lin.ee/euA1bAc หรือโทร. 1270 หรือ www.praram9.com / Line: lin.ee/vR9xrQs หรือ @praram9hospital และทาง Facebook: Praram9 Hospital โรงพยาบาลพระรามเก้า HEALTHCARE YOU CAN TRUST เรื่องสุขภาพ…ไว้ใจเรา #Praram9Hospital
FYR
1. ศูนย์รวมบทความสุขภาพ โรงพยาบาลพระรามเก้า
https://www.praram9.com/pm2-5_airpollition/
2. World Health Organization Thailand
https://shorturl.asia/bu91c
3. ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ
https://shorturl.asia/usPxI
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น