วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เสียวหมี่เปิดตัวสมาร์ทอีโคซิสเต็ม "Human x Car x Home" สะท้อนนิยามใหม่ของการเชื่อมต่อ ณ งาน MWC 2024

 


บาร์เซโลนา สเปน 27 กุมภาพันธ์ 2567 – เสียวหมี่เปิดตัวระบบนิเวศอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทอีโคซิสเต็ม “Human x Car x Home” สู่ตลาดโลกที่งาน MWC Barcelona 2024 ซึ่งสร้างนิยามใหม่ของการผสานของเทคโนโลยี โดย Xiaomi SU7 ที่ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศอัจฉริยะ “Human x Car x Home” ได้เปิดตัวบนเวทีระดับนานาชาติ โดยนำเสนอภาพรวมวิสัยทัศน์ในการบุกเบิกของเสียวหมี่ไปสู่อนาคตอัจฉริยะ ที่ทุกความต้องการของผู้ใช้ได้รับการตอบสนองอย่างดีเยี่ยมภายในระบบนิเวศอัจฉริยะเพียงแห่งเดียว

 

มร. แดเนียล เดสจาลาส (Daniel Desjarlais) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารของเสียวหมี่ อินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า“ที่เสียวหมี่ เทคโนโลยีถูกมุ่งเน้นไปที่ผู้ใช้งานเสมอ นวัตกรรมของเราได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นอันดับแรก “Human x Car x Home” นั้นสะท้อนถึงหลักการนี้ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของเราในการมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อที่ครอบคลุมและดียิ่งขึ้น ด้วยการผสาน มนุษย์ รถยนต์ และบ้านเข้าด้วยกัน เรามุ่งมั่นที่จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างกันแบบ end-to-end ให้เหนือกว่าสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน เราขอชวนผู้เข้าร่วมงาน MWC ทุกคนให้มาร่วมชมในวิสัยทัศน์ของเสียวหมี่ที่เปลี่ยนแนวคิดแห่งอนาคตให้กลายเป็นความเป็นจริงโดยเปลี่ยนวิธีที่เราเชื่อมต่อกัน”

 

นอกจากนี้ยังมาพร้อม Xiaomi 14 Series และ Xiaomi Pad 6S Pro 12.4 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ พร้อมด้วยอุปกรณ์ AIoT มากมายที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้ชีวิตอัจฉริยะเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโซน Xiaomi Imagery Technology ที่นำเสนอการบูรณาการเทคโนโลยีเลนส์อันล้ำสมัยของ Leica ลงบนสมาร์ทโฟนของเสียวหมี่ ขณะเดียวกันก็มี CyberDog 2 ที่นำมาจัดแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้ามากมายของเสียวหมี่ให้กับผู้มาเยี่ยมชมด้วยเช่นกัน

 

ความก้าวหน้าของการเชื่อมต่ออันครอบคลุม

การเปลี่ยนผ่านของเสียวหมี่จาก "Smartphone x AIoT" ไปสู่ระบบนิเวศอัจฉริยะ "Human x Car x Home" ผสมผสานเอาอุปกรณ์ส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฮม และรถยนต์เข้าด้วยกันได้อย่างราบรื่น สิ่งนี้ช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างไร้กังวล ประสานงานแบบเรียลไทม์ ขับเคลื่อนความก้าวหน้า รวมไปถึงการร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอีกด้วย ระบบนิเวศอัจฉริยะนั้นถูกออกแบบมาด้วยวิสัยทัศน์ที่ปรับให้เข้ากับความต้องการ โดยได้รับการออกแบบให้ปรับให้เข้ากับความต้องการของคุณทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร้รอยต่อ

 

Xiaomi HyperOS เป็นมากกว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบโอเพ่นซอร์ส (open-source) โดยมาพร้อมนวัตกรรมระดับระบบที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันข้ามอุปกรณ์อย่างไร้ขีดจำกัด และรับประกันการดำเนินงานที่สอดคล้องกันทั่วทั้งแพลตฟอร์มชีวิตอัจฉริยะแบบบูรณาการของเสียวหมี่ ทั้งนี้รากฐานของระบบนิเวศอัจฉริยะ “Human x Car x Home” ได้ทำการรวมเอาผลิตภัณฑ์กว่า 200 หมวดหมู่ที่รวมอุปกรณ์มากกว่า 600 ล้านเครื่องทั่วโลกและครอบคลุมสถานการณ์ต่างๆ ของผู้ใช้งานมากกว่า 95%1 เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้การร่วมมือกับพันธมิตร นักพัฒนา และผู้ผลิตทั่วโลก Xiaomi HyperOS จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับระบบนิเวศในการปลดล็อกและใช้ประโยชน์จากความเป็นไปได้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

 

ผลิตภัณฑ์แรกของ Xiaomi EV คือ Xiaomi SU7 ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในระดับ "ซีดานของเทคโนโลยีเชิงนิเวศประสิทธิภาพสูงเต็มขนาด" (full-size high-performance eco-technology sedan) ที่ขยายขอบเขตในด้านประสิทธิภาพ บูรณาการระบบนิเวศ และพื้นที่อัจฉริยะบนมือถือ นอกเหนือจาก Xiaomi SU7 แล้ว เสียวหมี่ยังได้พัฒนาเทคโนโลยี EV หลัก รายการ ได้แก่ E-Motor, CTB Integrated Battery, Xiaomi Die-Casting, Xiaomi Pilot Autonomous Driving และ Smart Cabin ด้วยการลงทุนมหาศาลกว่า หมื่นล้านหยวนในการวิจัยและพัฒนา และทีมงานระดับโลกที่ประกอบด้วยวิศวกรมากกว่า 3,400 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคกว่า 1,000 คนในด้านต่างๆ จึงทำให้เสียวหมี่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่โดดเด่น

 

ร่วมสำรวจความเชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพบนมือถือ

เสียวหมี่เชื่อมั่นในนวัตกรรมที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การถ่ายภาพบนมือถือที่ดีและใช้งานง่ายมากยิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้งาน ในขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการถ่ายภาพบนมือถืออย่างต่อเนื่อง ด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Leica เสียวหมี่ได้ค้นหาหัวใจหลักของการถ่ายภาพและขยายขอบเขตของการถ่ายภาพระดับมืออาชีพ ในส่วนของ Xiaomi Imagery Technology นั้น Xiaomi 12S Ultra ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนเครื่องแรกที่พัฒนาร่วมกันโดยทั้งสองบริษัทนั้นก็ได้จัดแสดงควบคู่ไปกับสมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นอื่นๆ ด้วย

 

ความร่วมมือระหว่างเสียวหมี่ และ Leica นั้นประสบความสำเร็จครั้งสำคัญจากการก่อตั้ง Xiaomi-Leica Optical Institute ซึ่งนับเป็นการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก และยังกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับประสบการณ์การถ่ายภาพอีกด้วย สมาร์ทโฟน Xiaomi 14 Series ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ล่าสุดนี้ มาพร้อมเลนส์ Leica Summilux ที่ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันด้วยโซลูชั่นสำหรับระบบออปติคอลเจเนอเรชันใหม่ ที่มอบความสามารถในการถ่ายภาพที่เหนือชั้นในทุกสภาวะและสถานการณ์

 

การขยายความเป็นเลิศด้านวิทยาการหุ่นยนต์และการผลิต

ที่งาน MWC เสียวหมี่นำเสนอหุ่นยนต์สี่ส่วน (quadruped robot) ที่ได้รับแรงบันดาลใจทางชีวภาพที่ล้ำสมัยอย่าง CyberDog 2 ด้วยระบบการตรวจจับแบบฟิวชั่นและระบบการตัดสินใจที่ใช้เซ็นเซอร์ 19 ตัวสำหรับการมองเห็น การสัมผัส และการได้ยิน หุ่นยนต์ตัวนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อจำลองการเคลื่อนไหว รูปลักษณ์ และปฏิสัมพันธ์ของสุนัขจริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นแห่งการบุกเบิกของเสียวหมี่ และความมุ่งมั่นในการก้าวข้ามขีดจำกัดของวิทยาการหุ่นยนต์ ทั้งนี้ธรรมชาติของเทคโนโลยีแบบโอเพ่นซอร์ส (open-source) ถือเป็นรากฐานของระบบนิเวศที่เตรียมไว้สำหรับการปรับแต่งและการเขียนโปรแกรม โดยปลดล็อกความเป็นไปได้ที่สร้างสรรค์อย่างไร้ขีดจำกัดสำหรับนักพัฒนา

นอกเหนือจากการบุกเบิกผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีแล้ว เสียวหมี่ยังคงสร้างนิยามใหม่ให้กับการผลิต โดยทำให้โรงงานอัจฉริยะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมทางอุตสาหกรรม โดยมีหลักการสำคัญคือเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ความคล่องตัว ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความแม่นยำ สำหรับการก่อตั้งโรงงานอัจฉริยะระยะที่ ในเขตฉางผิงของปักกิ่งนั้นตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของเสียวหมี่ในการส่งมอบคุณภาพที่เหนือชั้นและนวัตกรรมที่ก้าวล้ำให้กับผู้บริโภค

 

การสร้างสรรค์เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

เสียวหมี่ไม่เพียงแต่มุ่งมั่นที่จะมอบผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูงและยั่งยืนให้กับผู้ใช้งานทั่วโลก แต่ยังให้ความสำคัญกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจอีกด้วย เสียวหมี่ได้ให้คำมั่นว่าจะบรรลุ carbon neutralityภายในปี 2040 และได้แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสในความพยายามด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการเปิดตัวไวท์เปเปอร์ในการดำเนินการเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเป็นครั้งแรกในงาน COP28

 

เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของเสียวหมี่ ในโครงการด้านความยั่งยืนที่สำคัญ เช่น โครงการ GE100% ที่สนับสนุนให้มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้อย่างกว้างขวาง และโครงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนภารกิจในการดำเนินงานอย่างยั่งยืน เสียวหมี่ได้นำโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้โดยมีเป้าหมายในการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ 38,000 ตันตั้งแต่ปี 2022 ถึง 2026 ความพยายามนี้เป็นตัวอย่างของแนวทางแบบองค์รวมของเสียวหมี่ ในการเชื่อมช่องว่างระหว่างโซลูชันทางเทคโนโลยีขั้นสูงและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการปรับเปลี่ยนบทบาทรูปแบบใหม่ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในการส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืน

 

หมายเหตุ

ข้อมูลจากการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่สามของปี 2023 ของเสียวหมี่คอร์เปอเรชัน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที ลีสซิ่ง จับมือ ศรีประจันต์วัฒนยนต์ จัดอบรม "ขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดมลพิษ" โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

  บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด  ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ อรถจักรยานยนต์  ในเครือ เอ็ม บี เค  เล็งเห็นความสำคัญของการขับขี่ รถบนท้องถนนอย่างปลอ...