กรุงเทพฯ ประเทศไทย 7 ธันวาคม 2566 – เสียวหมี่ คอร์เปอเรชัน ("เสียวหมี่" หรือ "กลุ่มธุรกิจ"; Stock Code:1810) ได้ทำการเผยแพร่เอกสารไวท์เปเปอร์ (White Paper) ฉบับแรกเกี่ยวกับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ และการทำงานของบริษัทเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดย มร. อาลัน แลม ไซไว (Alain Lam Sai-wai) รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของเสียวหมี่ได้เผยแพร่เอกสารไวท์เปเปอร์ (White Paper) ในระหว่างการประชุมภาคีอนุสัญญากรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ (COP28) ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศครั้งสำคัญของปี
“เสียวหมี่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแนวทางในการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนเป็นศูนย์ (zero-carbon transition) ของเราด้วย ซึ่งการแสวงหานวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสีเขียวของบริษัทฯ” มร. อาลัน แลม (Alain Lam) กล่าวในสุนทรพจน์ของเขาว่า "ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เสียวหมี่ยังเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ของเราและพัฒนาความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs) เป็นจริง ขณะเดียวกันเราก็ยังได้รับผิดชอบต่อโลกอีกด้วย"
เอกสารดังกล่าวกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับปรัชญาคาร์บอนเป็นศูนย์ของเสียวหมี่ (Xiaomi's Zero-carbon Philosophy) ซึ่งรวมถึงการใช้ AIoT (Artificial Internet of Things) ที่นำ AI เข้ามาใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน เป้าหมายของบริษัทคือการสนับสนุนด้านการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนเป็นศูนย์ (zero-carbon transition) สำหรับอุตสาหกรรมและสังคมโดยรวม
การดำเนินการของเสียวหมี่ไปสู่การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero emissions) นั้นสอดคล้องกับแนวทางของ ISO Net Zero ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับผู้กำหนดนโยบายที่มุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero greenhouse gas emissions) บริษัทมุ่งมั่นที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2583 ในธุรกิจที่มีอยู่*
เสียวหมี่กำลังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการดำเนินงานโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและนำแนวทางปฏิบัติด้านการผลิตแบบอัจฉริยะมาใช้ เสียวหมี่ยังสนับสนุนให้พันธมิตรกำหนดเป้าหมายสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับความมุ่งมั่นในการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแหล่งพลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มอัตราการใช้วัสดุ การรีไซเคิล และการนำกลับมาใช้ใหม่ เสียวหมี่ ให้คำมั่นสัญญาในด้านความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่ามีความคืบหน้าในการลดคาร์บอน
ปรัชญาคาร์บอนเป็นศูนย์ของเสียวหมี่ (Xiaomi’s Zero-carbon Philosophy) ได้นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด และสะอาดต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและนวัตกรรม AI ช่วยให้เสียวหมี่สามารถเสนอทางเลือกไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เสียวหมี่กำลังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในครัวเรือนและการใช้พลังงานโดยใช้โซลูชันบ้านอัจฉริยะ
แพลตฟอร์ม AIoT ของเสียวหมี่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น และจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เสียวหมี่ยังนำเสนออุปกรณ์สวมใส่และอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อมอบประสบการณ์คุณภาพสูงที่ใช้คาร์บอนต่ำให้กับผู้ใช้งาน
ระบบนิเวศอัจฉริยะของบริษัทที่เพิ่งประกาศเปิดตัวไปคือ “Human x Car x Home” ที่ผสานรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์มากกว่า 200 หมวดหมู่มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์กว่า 820 ล้านเครื่อง และครอบคลุมผู้ใช้งานมากกว่า 95% เพื่อมอบประสิทธิภาพสูงสุดของอุปกรณ์ในระบบนิเวศผ่านระบบบูรณาการเพียงระบบเดียว นั่นก็คือ Xiaomi HyperOS ซึ่งได้รับการตั้งค่าให้ลดความซ้ำซ้อนของระบบ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาเป้าหมายระดับโลกของการบริโภคที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ เสียวหมี่ยังเพิ่มความพยายามในการพัฒนาโมเดลธุรกิจแบบหมุนเวียนอีกด้วย บริษัทได้เรียกร้องให้มีโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนระดับโลกหลายโครงการ รวมไปถึงการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero emission) การเข้าร่วมโครงการ GE100% การขยายโครงการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ระหว่างปี 2565 ถึง 2569 เสียวหมี่วางแผนที่จะรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 38,000 ตัน และลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนที่หลากหลาย
เสียวหมี่มุ่งมั่นที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อันน่าทึ่งในราคาที่เป็นจริง และใช้เทคโนโลยีที่ยั่งยืนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม และราคาเป็นมิตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น