กรุงเทพฯ
– 29 กันยายน 2566 – เนสกาแฟ
แบรนด์กาแฟอันดับ 1 ของคนไทยจากเนสท์เล่ เดินหน้ากลยุทธ์ด้านความยั่งยืน จัดแคมเปญ
“เนสกาแฟ เดย์” อย่างยิ่งใหญ่ เชิญชวนผู้บริโภคร่วมปลูกต้นไม้สร้างความยั่งยืนตามหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู
หรือ Regenerative Agriculture สานต่อพันธกิจด้านความยั่งยืนระดับโลก ‘เนสกาแฟ
แพลน 2030’
เนื่องในโอกาสฉลองวันกาแฟสากล ซึ่งจัดขึ้นในวันที่
1 ตุลาคมเป็นประจำทุกปี
งาน “เนสกาแฟ เดย์” ในปีนี้
มีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ชงเนสกาแฟปลูกความยั่งยืน” ณ
แฟชั่นฮอลล์ สยามพารากอน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการ เนสกาแฟ แพลน 2030 ที่มุ่งส่งเสริมการเกษตรเชิงฟื้นฟูให้กับเกษตรกรไทย
พร้อมทั้งยังได้จำลองเรื่องราวของสวนกาแฟที่ปลูกอย่างยั่งยืนโดยใช้การเกษตรเชิงฟื้นฟูใน
Glass House ครั้งแรกใจกลางเมืองมาให้คนไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ เนสกาแฟยังเปิดโอกาสให้คอกาแฟได้ดื่มด่ำกาแฟคุณภาพดีจากสวนที่ปลูกอย่างยั่งยืนที่
คาเฟ่สไตล์รักษ์โลก และเชิญทีมพรีเซนเตอร์ นำโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ กลัฟ-คณาวุฒิ
ไตรพิพัฒนพงษ์ ต่อ-ธนภพ ลีรัตนขจร
หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย และ
แจม-รชตะ หัมพานนท์ มาพูดคุยถึงเรื่องราวกาแฟและความยั่งยืนในด้านต่าง ๆ
ของ
เนสกาแฟ พร้อมแชร์เคล็ดลับในการส่งต่อความยั่งยืนให้โลก
บอกเล่าเรื่องราวดี ๆ ของบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกของเนสกาแฟ และร่วมกันปลูกต้นไม้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเกษตรเชิงฟื้นฟูที่จะช่วยสร้างความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในสวนกาแฟเพื่อสร้างความยั่งยืน
ทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ต้นยางนา ต้นตะเคียน ต้นสะเดาเทียม และต้นจำปาทอง
ซึ่งล้วนเป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาในสวนกาแฟที่สามารถคลุมดิน กักเก็บความชื้น
และช่วยดูดซับคาร์บอน พร้อมปักป้ายชื่อในกระถางกันทุกคน และยังสามารถนำไป ถ่ายภาพเก๋
ๆ กับแก้วแดงยักษ์ ได้อีกด้วย
นายวิคเตอร์ เซียห์
ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า เปิดเผยว่า
“กิจกรรมใน
ครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเนสท์เล่ในการขับเคลื่อนการเกษตรเชิงฟื้นฟูภายใต้โครงการ
‘เนสกาแฟ แพลน 2030’ โดยมีเป้าหมายในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่วงการกาแฟในประเทศไทย
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเนสท์เล่ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net
Zero ภายในปี 2050”
นางสาวศรีประภา
จิงประเสริฐสุข
ผู้จัดการธุรกิจกาแฟสำเร็จรูปและครีมเทียม บริษัท เนสท์เล่
(ไทย) จำกัด กล่าวว่า
“เนสท์เล่เป็นผู้ริเริ่มส่งเสริมการเกษตรเชิงฟื้นฟู หรือที่เรียกว่า Regenerative Agriculture คือการทำเกษตรกรรมแนวใหม่ให้การปลูกกาแฟอยู่คู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การเกษตรเชิงฟื้นฟู เป็นหัวใจหลักของโครงการ ‘เนสกาแฟ แพลน 2030’ ซึ่งเป็นโครงการด้านความยั่งยืนระดับโลกที่เราส่งเสริมและให้ความรู้กับเกษตรกรไทยมานานหลายทศวรรษ
เมล็ดกาแฟทุกเมล็ดที่เรารับซื้อจากเกษตรกรมาผลิตเป็นเนสกาแฟ ได้รับการรับรองมาตรฐานการเพาะปลูกอย่างยั่งยืนระดับโลก
ที่เรียกว่า 4C 100%”
หัวใจของการเกษตรเชิงฟื้นฟูสำหรับการทำสวนกาแฟคือการ
ปกป้อง-ทดแทน-ฟื้นฟู ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกกาแฟโดยเฉพาะอย่างยิ่งดินและน้ำ
เช่น การส่งเสริมให้ปลูกพืชคลุมดิน การป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การนำเศษวัสดุเหลือทิ้งในฟาร์มกลับมาทำปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี
นอกจากนี้ เนสท์เล่ยังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชหลากชนิดเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและยังเป็นการเสริมรายได้ให้เกษตรกรอีกด้วย
การทำการเกษตรเชิงฟื้นฟูสร้างคุณค่าให้ทุกภาคส่วนในสังคมไทยแบบ
Triple Win+ เพื่อโลก เพื่อเราทุกคน ได้แก่ ความมุ่งมั่นของเนสท์เล่ในการสร้างความมั่นคงทางอาหารผ่านการสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่มั่นคงและเพียงพอ
ดูแลเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ให้มีรายได้ที่ยั่งยืน และมีความพร้อมรับมือภาวะโลกร้อน
ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ด้วยการฟื้นฟูดิน ดูแลป่า ปกป้องแหล่งน้ำ
เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และลดคาร์บอน และ + คือ การสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภค ด้วยการส่งมอบกาแฟคุณภาพจากวัตถุดิบคุณภาพให้กับคอกาแฟชาวไทย
และส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นต่อไป
“นี่คือคำมั่นสัญญาของเนสกาแฟ ที่จะพัฒนาโลกแห่งกาแฟ
ให้ทุก ๆ แก้ว มีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น เพราะเบื้องหลังกาแฟคุณภาพของเนสกาแฟคือความทุ่มเทของเกษตรกรชาวสวนกาแฟ
เราจะนำต้นไม้ส่งต่อไปที่สวนกาแฟในจังหวัดชุมพร
และส่งมอบต้นไม้ส่วนหนึ่งให้กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดความยั่งยืน
และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในอีกหลาย ๆ จังหวัดในประเทศไทย และทุกแก้วเนสกาแฟ เป็นกาแฟคุณภาพ
ที่ดูแลทั้งโลกและเกษตรกร ผู้บริโภคที่ดื่ม
เนสกาแฟ ก็สามารถมั่นใจได้ถึงคุณภาพและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนได้” นางสาวศรีประภา
กล่าวทิ้งท้าย
#ชงเนสกาแฟปลูกความยั่งยืน
#NESCAFEDay2023
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น