วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ป.ป.ช. นครสวรรค์ เดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการป้องกันทุจริตอุทยานแม่วงก์

 


สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ขับเคลื่อนมาตรการป้องกันทุจริตในอุทยาน ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการตามมาตรการที่ ป.ป.ช. มีข้อเสนอแนะ ณ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หวัง นำไปปฏิบัติใช้เป็นรูปธรรมเพื่อลดความเสี่ยงทุจริต และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอุทยานอย่างเป็นระบบ

นายอภินันท์  เรืองประเภท ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการติดตามการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันการทุจริตในอุทยานที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มีการลงพื้นที่ตรวจติดตามการทำงาน เพื่อหารือถึงปัญหาและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในอุทยานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้มีการลงพื้นที่พร้อมกับเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค 6 โดยกลุ่มงานสืบสวนทุจริต ดำเนินการติดตามมาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขานครสวรรค์ และ ผู้แทนจาก กอ.รมน. จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมสังเกตการณ์การดำเนินการติดตามครั้งนี้ด้วย โดยเป้าหมายคือ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โซนกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โซนนครสวรรค์ (หน่วยฯ แม่เรวา) จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการตรวจติดตามในประเด็นต่าง ๆ อาทิ ข้อมูลทั่วไปของอุทยานแห่งชาติ  การจัดเก็บรายได้เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ การพิจารณาและอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินรายได้เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น

          จากการลงพื้นที่ พบว่า อุทยานแม่วงก์ได้มีการนำเอามาตรการ ฯ ที่สำนักงาน ป.ป.ช.มีข้อเสนอแนะมาปรับใช้อย่างครอบคลุมหลายด้าน ได้แก่ ด้านการจัดเก็บเงินรายได้เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ ที่ได้รับรายได้จากการเก็บค่าเข้าอุทยาน ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะเข้าอุทยานแห่งชาติ ค่ากางเต็นท์ ค่าบริการเครื่องนอน ราคาต่าง ๆ ตามระเบียบของกรมอุทยานฯ โดยมีจุดเก็บเงินจำนวน 2 จุด เจ้าหน้าที่ประจำจุด ๆ ละ 2 คน วิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม จะเป็นแบบตั๋วฉีก และสามารถจองทางออนไลน์ได้ โดยค่าธรรมเนียมจะเข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติ สำหรับวิธีการจัดเก็บ จะมีเจ้าหน้าที่นำเงินส่งให้กับทางอุทยานหลัง 16.30 และจะมีการตรวจตั๋วฉีกกับรายได้ให้ตรงกัน โดยทางอุทยานจะมีการนำส่งเงินให้กับกรมอุทยานฯ เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งหากเกิน 500,000 บาท จะต้องนำส่งทันที โดยทางอุทยานจะมีการเก็บเงินในตู้เซฟ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน นำส่ง และนำฝากเงิน และเจ้าหน้าที่การเงิน ของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยทางอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ได้มีการจัดทำข้อมูลขีดความสามารถในการรองรับของอุทยาน เช่น บริเวณช่องเย็น 100 คน/วัน,ลานกางเต็นท์ขุนน้ำเย็น 300 คน/วัน, บริเวณอุทยาน 300 คน/วัน เป็นต้น อุทยานมีการจัดทำแผนการบริการนักท่องเที่ยว เป็นแผน 5 ปี (แผนปี 2566-2570) ด้านการพิจารณาและอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินรายได้เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์สามารถขอใช้เงินรายได้เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติแม่วงก์สามารถขอใช้เงินรายได้เพื่อบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ ร้อยละ 20 ของเงินได้อุทยานที่จัดเก็บ โดยการเขียนโครงการขอใช้เงินรายได้แต่ละโครงการจะต้องขอความเห็นชอบของคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติและหลังจากทำโครงการจะมีการรายงานผลการจัดทำโครงการฯไปยังกรมอุทยานฯ ด้านการบริหารจัดการ อุทยานแห่งชาติมีการจัดประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ โดยจำนวนครั้งเป็นไปตามงบประมาณที่กรมกำหนด โดยมีวาระ 2 ปี และมีส่วนราชการต่างๆมาร่วมเป็นกรรมการด้วย อย่างไรก็ตามจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยว พบว่า ส่วนใหญ่พึงพอใจกับการให้บริการ แต่มีปัญหาในเรื่องการจองระบบออนไลน์ที่ค่อนข้างจองยาก ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ช.ก็ได้ให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่อุทยานให้ดำเนินการตามระเบียบ เพื่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บเม็ดเงินรายได้ของอุทยาน และลดความเสี่ยงทุจริตอีกด้วย

 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที ลีสซิ่ง จับมือ ศรีประจันต์วัฒนยนต์ จัดอบรม "ขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดมลพิษ" โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

  บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด  ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ อรถจักรยานยนต์  ในเครือ เอ็ม บี เค  เล็งเห็นความสำคัญของการขับขี่ รถบนท้องถนนอย่างปลอ...