23 มิถุนายน 2566 - ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ประกาศความร่วมมือกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระดับโลก ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระยะเวลา 3 ปี ในการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ทั่วโลก
ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น และ WWF มีจุดยืนร่วมกันในด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเคยทำงานร่วมกันในโครงการอนุรักษ์ทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อมีนาคม 2565 ก่อนจะจับมือกันเป็นพันธมิตร เพื่อดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ประการ ประกอบด้วย 1) จัดการกับรอยเท้านิเวศของเอปสัน 2) สนับสนุนโครง การฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าของ WWF ใน 7 ประเทศทั่ว 4 ภูมิภาค และ 3) สร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เอปสันจะทำการสนับสนุนเงิน 240 ล้านเยน หรือประมาณ 59 ล้านบาท ในระยะ เวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่มีนาคม 2566 สำหรับใช้ในโครงการด้านป่าไม้ของ WWF โดยตลอดระยะเวลาความร่วมมือ เอปสันในฐานะองค์กรสมาชิกในโครงการ Forests Forward ของ WWF จะร่วมสนับสนุนกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และฟื้นฟูธรรมชาติในผืนป่าที่เสียหายจากการถูกตัดไม้ในพื้นที่ต่างๆ ที่ WWF เข้าดำเนินงาน และจะช่วยปรับปรุงด้านความยั่งยืนในห่วงโซอุปทานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังจะมุ่งสร้างโลกที่มีธรรมชาติที่ดีขึ้นกว่าเดิม (nature-positive) ผ่านการผลักดันการใช้ทรัพยากรป่าไม้ (กระดาษ) ในภาคธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงการอนุรักษ์ระบบนิเวศน้ำสะอาดและกิจกรรมที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนซึ่งจะมีตามมาในอนาคต
นายยาสึโนริ โอกาว่า ประธานบริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “เอปสันรู้สึกยินดีที่ได้ลงนามในข้อ ตกลงความร่วมมือกับ WWF โลกกำลังเผชิญกับความหายนะทางสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องลงมือทันที เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของโลกใบนี้เอาไว้ก่อนที่มันจะสายเกินไป การร่วมเป็นพันธมิตรครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเอปสันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดปริมาณของเสีย และทำให้แน่ใจว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นไปอย่างยั่งยืน ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างอนาคตที่ผู้คนสามารถใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน องค์กร WWF จึงเหมาะสมที่สุดสำหรับเอปสัน”
“ในปี 2564 เอปสันได้ประกาศวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าที่จะก้าวไปเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เป็นลบรวมถึงไม่มีการใช้ทรัพยากรใต้ดินให้ได้ภายในปี 2593 และเพื่อทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ บริษัทฯ ได้ริเริ่มกระบวนการใหม่ๆ ที่รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ การใช้ทรัพยากรแบบวงปิด การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม เอปสันตระหนักดีว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนมีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน เช่นเดียวกับความร่วมมือจากพันธมิตรที่มีแนวคิดเดียวกัน อย่าง WWF ที่จะร่วมกันสร้างความตระหนักรู้และดำเนินการอย่างกล้าหาญ เพื่อแก้ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญอยู่”
นายโตอาบิ ซาดาโยสิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WWF ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า “WWF มีความยินดีที่ได้ร่วม มือกับเอปสัน เพื่ออนาคตของป่าไม้ และไม่ใช่แค่เพียงความมุ่งมั่นของบริษัทเพียงบริษัทเดียว แต่นี่ยังสะท้อนให้เห็นถึงย่างก้าวที่สำคัญของความพยายามอย่างเร่งรีบจากภาคเอกชน เพื่อป้องกันความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ โดย เฉพาะป่าไม้ที่เราทุกคนต้องพึ่งพา”
“การคุ้มครองและการจัดการต่อระบบนิเวศในผืนป่าด้วยความรับผิดชอบเป็นวาระสำคัญในการประชุมระดับโลกเมื่อเร็วๆ นี้ อย่าง การประชุม UN COP27 ว่าด้วยเรื่องสภาพภูมิอากาศ และ UN COP15 ว่าด้วยเรื่องความหลาก หลายทางชีวภาพ แสดงให้เห็นว่าประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องวิกฤตที่ทุกองค์กรจะต้องช่วยกันขับเคลื่อน ด้วยการให้คำมั่นที่แน่วแน่และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน เพราะนี่คือสิ่งจำเป็นต่อการฟื้นคืนความสูญเสียของความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างสังคมที่มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ด้วยการเป็นพันธมิตรและการมีส่วนร่วมในโครงการ Forests Forward เอปสัน และ WWF จะมุ่งมั่นรักษาผืนป่าที่ถูกคุกคาม ทั้งภายในและนอกเหนือประเทศที่เอปสันมีห่วงโซ่อุปทานไปถึง ผ่านการบริหารจัดการป่าไม้และฟื้นฟูธรรมชาติให้ดียิ่งขึ้น”
ด้านนายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เอปสันและ WWF ได้มีการร่วมงานกันตั้งแต่ปี 2565 ในโครงการอนุรักษ์ทางทะเล เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากการฟื้นฟูปะการังที่สิงคโปร์ ก่อนจะขยายไปยังอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย รวมถึงการฟื้นฟูป่าชายเลนในฟิลิปปินส์ โดยให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และพันธมิตรทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้าและสื่อมวลชน สำหรับประเทศไทย เอปสันจะยังสานต่อกิจกรรมอนุรักษ์ทางทะเล ทั้งยังขยายขอบเขตการทำงานร่วมกับ WWF ประเทศไทยในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทั้งบนบกและใต้น้ำ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น