วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ส่องโมเดลความสำเร็จซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น ขยายเครือข่ายต้นกล้าไร้ถัง 2023 มุ่งสู่ 524 โรงเรียนทั่วประเทศ ส่งแนวคิด “เปลี่ยนขยะเป็นทรัพย์สิน” สู่เยาวชน-ชุมชน

 


การเดินหน้าบูรณาการหลักสูตรการศึกษาให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ผ่านโครงการ ต้นกล้าไร้ถัง” ยังคงเป็นโครงการที่ ซีพี ออลล์-เซเว่น อีเลฟเว่น ให้การสนับสนุนและเดินหน้าขยายเครือข่ายต่อเนื่องมุ่งสู่ 524 โรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนมีส่วนช่วยคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ผ่านกระบวนการรียูส รีไซเคิล และอัพไซเคิล จัดการ​วัสดุอินทรีย์ สร้างรายได้กลับสู่โรงเรียน พร้อมขยายสู่ชุมชน  

 

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่า ในปีการศึกษา 2566 โครงการต้นกล้าไร้ถังได้ดำเนินการมาถึงรุ่นที่ มีโรงเรียนเข้าร่วม​21แห่ง ส่งผลให้มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสะสมรวมทั้ง รุ่นจำนวน 524 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนภายใต้โครงการ CONNEXT ED จำนวน 179 แห่ง และโรงเรียนนอกโครงการ CONNEXT ED จำนวน 345 แห่ง สำหรับผลสำเร็จของการดำเนินโครงการทั้ง รุ่นที่ผ่านมาสามารถช่วยลดปริมาณขยะเหลือ 20 -30% ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 161 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 11,421 ต้น และขยายผลไปยังสถานศึกษาและชุมชนรวมกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ  

 

“จากโครงการเล็กๆ ของโรงเรียนอนุบาลทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันนี้โครงการต้นกล้าไร้ถังได้รับการขยายผลจนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้าง หลายโรงเรียนนำโครงการนี้ไปต่อยอด จนสามารถลดปริมาณขยะได้อย่างน่าพึงพอใจ เช่น โรงเรียนวัดนาคู (จันทศึกษาคาร) อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่สามารถลดปริมาณขยะได้ 70% ภายในระยะเวลา  ปีการศึกษา กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการขยะประจำภาคกลาง ให้โรงเรียนอื่นๆ สามารถเข้ามาดูงานได้ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของโครงการ CONNEXT ED ที่ซีพี ออลล์ ได้เข้าไปร่วมขับเคลื่อนขยายเครือข่าย นอกจากจะช่วยปลูกฝังจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน ผ่านกระบวนการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี องค์ความรู้ที่เด็กๆได้รับยังถูกส่งต่อกลับสู่ชุมชนอีกด้วย” นายยุทธศักดิ์ กล่าว 

 

ทั้งนี้ซีพี ออลล์ ในฐานะพันธมิตรที่ให้การสนับสนุนโครงการต้นกล้าไร้ถัง โรงเรียนอนุบาลทับสะแก มาโดยตลอด จึงขอยืนหยัดให้การสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังในการขับเคลื่อนสำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนซึ่งเปรียบได้กับต้นกล้า ที่พร้อมจะเติบโตเป็นไม้ใหญ่ในอนาคต ตามปณิธานองค์กร “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน” 

 

ด้าน นายตรีเทพ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะทำงานโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการต้นกล้าไร้ถังรุ่นที่ มีเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมเพิ่ม หน่วยงาน ได้แก่ 1.บริษัท เจเนซิส เอกซ์ จำกัด สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับขยะเศษอาหาร (Food Waste) รีไซเคิลขยะอินทรีย์ ด้วยการนำเศษอาหารมาเลี้ยงหนอนแมลงทหารดำ (Black Soldier Fly) เพื่อนำหนอนไปเลี้ยงสัตว์อื่นต่อ เช่น ไก่ ปลา ให้สัตว์ได้รับโปรตีนสูง เพิ่มคุณภาพไข่และปลาให้มีน้ำหนักดีขึ้น และ 2.สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้การสนับสนุนองค์ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ และ 3.บริษัท​ เทคแคร์โซลูชั่น​ จำกัด​ ผู้ร่วมพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลการจัดการขยะ​พร้อมร่วมกับ 10 ภาคีด้านการจัดการขยะในปีที่ผ่านมาได้แก่ 1.บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC 2.บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP 3.บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด (Unilever) 4.บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค จำกัด 5.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ แคน จำกัด 6.บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด 7.กลุ่มอำพลฟูดส์ (Amphol Foods Group) 8.บริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ จำกัด 9.บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด และ 10.วัดจากแดง ส่งผลให้ภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถังมีสมาชิกทั้งสิ้น 13 องค์กร และในอนาคตคาดว่าจะมีพันธมิตรใหม่ๆ เข้ามาร่วมกันยกระดับระบบนิเวศและเครือข่ายการจัดการขยะของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น   

 

นางวันทนา มุลเมืองแสน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านมาบฟักทอง จ.ชลบุรี หนึ่งในโรงเรียนสมาชิกใหม่ของภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถัง รุ่นที่ กล่าวเสริมว่า ขยะ คือหนึ่งในปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม หากเยาวชนได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญเรื่องการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีก็จะช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชน และโครงการต้นกล้าไร้ถังถือเป็นโครงการที่จะช่วยให้เยาวชนรู้จักใช้วัสดุให้คุ้มค่าที่สุด ช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียน ปลูกจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมให้เด็กๆ  

 

ด้าน นางจิดาภา บูรณ์เจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีไผทสมันต์ จ.สุรินทร์ หนึ่งในโรงเรียนสมาชิกใหม่ของภาคีเครือข่ายต้นกล้าไร้ถัง รุ่นที่ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงเรียนอยู่ในโครงการสวนพฤกษศาสตร์ มีพื้นที่สวนป่าและพื้นที่โรงเรียนรวมกันกว่า 273 ไร่ ดำเนินโครงการเกี่ยวกับการกำจัดขยะผ่านหลักสูตรการเรียนรู้อยู่แล้ว เช่น ชุมนุมไร้ค่าพารวย โดยให้เด็กๆ คัดแยกวัสดุเหลือใช้และนำมาให้โรงเรียนจำหน่ายให้ผู้รับซื้อ เด็กๆ จะมีรายได้จากการขายวัสดุเหลือใช้ หรือการนำเศษใบไม้มาทำเป็นปุ๋ยเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับนักเรียน และการที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการต้นกล้าไร้ถัง จะช่วยเสริมศักยภาพและองค์ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและการใช้ประโยชน์จากขยะ ผ่านการบูรณาการหลักสูตรให้กับนักเรียน นอกจากจะช่วยลดปัญหาขยะแล้วยังช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้กับนักเรียนในอนาคต 

 

โครงการต้นกล้าไร้ถัง” เป็นการนำโมเดลการจัดการขยะแบบ “ทับสะแกโมเดล” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการลดปริมาณขยะจาก 15 ตัน/เดือนเหลือเพียง กิโลกรัม/ เดือน ปลูกฝังเยาวชนให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ รียูส รีไซเคิล อัพไซเคิล และมีส่วนร่วมคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางภายในโรงเรียน รวมทั้งสร้างรายได้จากการคัดแยกขยะ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนหันมาคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นำสิ่งที่เป็นวัสดุอินทรีย์ วัสดุรีไซเคิล ส่งต่อไปยังหน่วยงานและกระบวนการจัดการขยะที่เหมาะสม สร้างรายได้กลับเข้าสู่โรงเรียนและชุมชน และทำให้โรงเรียนกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อส่งต่อองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะไปยังชุมชนใกล้เคียงโรงเรียน ปลูกฝังให้คนในท้องถิ่นร่วมคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยทางภาคีจะสนับสนุนงบประมาณ และองค์ความรู้ มีคู่มือการดำเนินงาน การจัดฝึกอบรม การลงพื้นที่ และการติดตามผลอย่างใกล้ชิด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที ลีสซิ่ง จับมือ ศรีประจันต์วัฒนยนต์ จัดอบรม "ขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดมลพิษ" โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

  บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด  ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ อรถจักรยานยนต์  ในเครือ เอ็ม บี เค  เล็งเห็นความสำคัญของการขับขี่ รถบนท้องถนนอย่างปลอ...