จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า มีผู้เดินเท้าได้รับอุบัติเหตุสูงถึง 2,500 - 2,900 ราย/ปี ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ เฉลี่ย 900 ราย/ปี คิดเป็น 1 ใน 3 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยในช่วงปี 2556 - 2560 มีคนเดินเท้าเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฉลี่ยปีละ 740 คน ซึ่งอุบัติเหตุรถชนคนเดินเท้ายังจัดเป็นอุบัติเหตุที่มีดัชนีความรุนแรงสูงสุด โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 55 ราย/อุบัติเหตุ 100 ครั้ง
ในปี 2564- 2565 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตที่เป็นคนเดินเท้าในปี 2564 เฉลี่ย 26.88 ราย/เดือน และปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 29.11 ราย/เดือน
3 นโยบายเพื่อความปลอดภัยทางถนนของกรุงเทพมหานคร
1. ปรับปรุงด้านกายภาพของทางข้าม โดยติดตั้งสัญญาณไฟจราจรกว่า 1,200 จุด
- จัดทำทางข้ามด้วยวัสดุสีโคลด์พลาสติก (สีแดง) ในปี 2565 จำนวน 885 จุด และเพิ่มอีก 210 จุดในปี 2566
- ปรับปรุงทาสีทางข้ามด้วยวัสดุสีเทอร์โมพลาสติก (สีขาว) จำนวน 1,000 จุดในปี 2565 และจปรับปรุงเพิ่มเติมอีกจำนวน 500 จุดในปี 2566
- ล้างทำความสะอาดเครื่องหมายจราจรพื้นทางและทางข้ามด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ในปี 2565 จำนวน 421 จุด และเพิ่มเติมอีกจำนวน 507 จุด ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2566
- ติดตั้งสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้ามในปี 2565 จำนวน 50 จุด และติดตั้งเพิ่มอีก 50 จุด ในเดือนเมษายน – กรกฎาคม 2566 โดยจะขยายการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรกะพริบเตือนทางข้ามให้ครอบคลุมทางข้ามสำคัญในย่านชุมชนเพิ่มขึ้น
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีทางข้าม เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน โดยพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับรายงานสภาพถนน หรือบริเวณที่มีการใช้รถใช้ถนนที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงพัฒนาระบบรับรายงานในรูปแบบภาพถ่าย หรือวิดีโอจากกล้องมือถือและกล้องหน้ารถ
3. รณรงค์สร้างจิตสำนึกความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากผู้ใช้ทางข้ามและผู้ขับขี่ ในการลดอุบัติเหตุความสูญเสียและลดปัญหาจุดเสี่ยงบริเวณทางข้ามในพื้นที่กรุงเทพฯ
ข้อมูลอ้างอิง :
สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
https://pr-bangkok.com/?p=53266
https://www.tcc.or.th/tcc_media/info-crosswalk/
https://www.isranews.org/article/isranews-other-news/115431-Isranews-6.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น