นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวเปิดงาน ThaiHealth Watch 2023 หรืองานจับตาทิศทางสุขภาพคนไทย
ปี 2566 : สังคมปรับ ชีวิตเปลี่ยน ว่า สสส.
มุ่งสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ได้สานพลังภาคีเครือข่ายทางวิชาการ
พัฒนานวัตกรรม ThaiHealth
Watch จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย เพื่อให้ข้อมูลและปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นใหม่
ภายใต้แนวคิด สังคมปรับ
ชีวิตเปลี่ยน เพื่อทุกคนเดินหน้าเปลี่ยนวิถีชีวิต
ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ปรับตัวพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในสังคมอย่างเข้าใจและเท่าทัน นำไปสู่สังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน
นางเบญจมาภรณ์ กล่าวอีกว่า ThaiHealth
Watch 2023 มี 7 ประเด็นทิศทางสุขภาพสำคัญ
1. ลองโควิด เมื่อไวรัสตัวร้ายจากไป
แต่ทิ้งบางสิ่งไว้เป็นของฝาก พบผู้ป่วยติดเชื้อถึง 50% มีภาวะลองโควิด ที่น่าห่วงคือ
กลุ่มผู้ป่วยโรค NCDs กว่า 1 ใน 4
มีความเสี่ยงสูง ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่กระทบการใช้ชีวิตในระยะยาว 2. สานพลังคือทางออก
เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ พบกว่า 99% ต้องสูดอากาศที่มีมลพิษ
ฝุ่น PM 2.5 ไนโตรเจนไดออกไซด์ในระดับที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ
เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าล้านคน/ปี รวมถึงวิกฤตโลกร้อน สหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าอีก
80 ปี ทั่วโลกจะเผชิญภาวะความเครียดจากความร้อนที่กระทบต่อร่างกายในทุกมิติ
3. ภาวะหมดไฟที่ลุกลาม รับมืออย่างไรให้สุขทั้งองค์กรและคนทำงาน รูปแบบการทำงานแบบลูกผสม (Hybrid Working) ทำให้พบ 76% ของพนักงานบริษัทมีความเหงาที่ส่งผลต่อจิตใจ
เกิดเป็นกระแสการลาออกครั้งใหญ่ในระบบอุตสาหกรรม
นางเบญจมาภรณ์
กล่าวต่อว่า เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์
ในประเด็นที่ 4. ผู้สูงอายุพร้อมแค่ไหน
เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ อีก 5 ปี จะมีผู้สูงอายุติดเตียงกว่า 2 แสนคน ติดบ้านอีกกว่า
3.5 แสนคน ในทางกลับกันพบกว่า 60% ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน
ต้องเร่งสร้างเสริมสุขภาวะทุกมิติ ทั้งการเงิน ที่อยู่อาศัย การดูแล เพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณที่มีคุณภาพ
5. ปลดล็อกความเข้าใจ
ในวันที่ไทยปลดล็อกกัญชา พบ 32% มีประสบการณ์เกี่ยวกับกัญชา
ผ่านอาหารเครื่องดื่ม รักษาโรค แต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ว่ากัญชามีทั้งคุณประโยชน์และโทษ
โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เด็กเยาวชน ที่ใช้ผิดวิธี
6. บุหรี่ไฟฟ้า
ภัยซ่อนเร้น ต้นเหตุจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน พบเด็กเยาวชน
ได้รับข้อมูลทางสื่อออนไลน์เฉลี่ย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ต้องดูแลใกล้ชิดป้องกันการเพิ่มจำนวนของนักสูบหน้าใหม่
“ประเด็นที่
7.
มิติใหม่แห่งการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ พบกิจกรรมออนไลน์ยอดนิยมคนไทยคือ จองคิวปรึกษาแพทย์ถึง
86.16% สสส. เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ
เร่งสานพลังภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับความรอบรู้ทางสุขภาพที่ถูกต้อง
อาทิ เชื่อมเทคโนโลยีเมตาเวิร์สเข้ากับเกม สร้างเว็บไซต์ Empower Living เพื่อเสริมพลังสุขภาวะในกลุ่มเปราะบาง ล่าสุด พัฒนาแอปพลิเคชัน Persona
Health สร้างระบบนิเวศทางสุขภาพที่รองรับทุกกลุ่ม มุ่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเฉพาะรายบุคคล
ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. และ
สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealth-watch” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น