กรุงเทพฯ 1 ธันวาคม 2565 –
ในยุคแห่งโลกโซเชียลมีเดีย ภัยในโลกไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบการคุกคามของมิจฉาชีพบนอินเทอร์เน็ตก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง
สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ความรู้ไม่เท่าทัน
จนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อในที่สุด ซึ่งรวมทั้งกลุ่มเปราะบาง
หรือกลุ่มผู้พิการที่ปัจจุบันตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง
กลุ่มทรู ห่วงใยใส่ใจความปลอดภัยในโลกออนไลน์
ของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบางที่ทรูได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของกลุ่มนี้มาอย่างต่อเนื่องหลายปี
จึงได้จัดอบรมเตรียมพร้อมรับมือและเรียนรู้วิธี มารู้จัก เข้าใจ
และป้องกันภัย เพราะโลกออนไลน์ ไม่ใช่เซฟโซน…นับเป็นเวลากว่า
4 ปีแล้วที่กลุ่มทรู โดย ทรูปลูกปัญญา
ได้ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. พัฒนาหลักสูตร “รู้ทันโลกออนไลน์”
เดินหน้ารณรงค์ให้เยาวชนทั่วประเทศรวมกว่า
3,000 คน ให้สามารถรับมือกับภัยรูปแบบต่างๆ
ที่แอบแฝงมาบนโลกออนไลน์ และในครั้งนี้ ดร.เนตรชนก
วิภาตะศิลปิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการศึกษา กลุ่มทรู (แถวยืนที่ 4
จากซ้าย) ได้ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พ.ต.อ.จตุรวิทย์
คชน่วม รองผู้บังคับการอำนวยการ (แถวยืนที่ 2 จากขวา)
และมูลนิธิออทิสติกไทย โดย อาจารย์ชูศักดิ์ จันทยานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม
(ไทย)
(แถวยืนที่ 4 จากขวา) ร่วมผนึกกำลังจัดกิจกรรม “ทรู ชวนปลูกความรู้
วิธีรับมือมิจฉาชีพและภัยบนโลกออนไลน์”
ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามในโลกออนไลน์และการป้องกันให้รู้เท่าทันภัยใกล้ตัวจากอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ
เป็นการสร้างเกราะป้องกันเรียนรู้วิธีการรับมือไม่ตกเป็นเหยื่อ ให้เกิดความสูญเสียทั้งเวลาและทรัพย์สิน
ให้แก่เยาวชนออทิสติกและผู้ปกครองภายใต้เครือข่ายมูลนิธิออทิสติกไทยครอบคลุมกว่า
50 จังหวัด ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมอบรม ณ มูลนิธิออทิสติกไทย และแบบออนไลน์ทั่วประเทศ
รวมกว่า 700 คน โดยมี
3
หัวข้อหลัก ดังนี้
สอนวิธีการดูตัวเลขแปลกๆเบอร์ที่โทรเข้ามา ต้องตั้งสติ ไม่แจ้งข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลที่โทรเข้ามาอ้างอิง
และให้ทำการแจ้งเบาะแสกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที
· วิธีการป้องกันภัยในโซเชียลมีเดียด้วยตัวเอง โดย นายกันตภณ
หนุยจันทึก IT
Specialist หน่วยงาน Cyber Security กลุ่มทรู ได้ร่วมแบ่งปันทริคดีๆให้น้องๆเยาวชนได้ทราบถึงวิธีการป้องกันมิจฉาชีพจากโลกออนไลน์ง่ายๆในด่านแรกนั้นคือ
รหัสผ่านเข้าใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook Instragram TikTok Line ได้แนะนำว่าให้ตั้งรหัสผ่านให้ยาวและไม่ใช้ข้อมูลวันเดือนปีเกิดในการตั้งรหัส
จะได้ไม่ง่ายต่อการคาดเดาจากมิจฉาชีพ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้งาน Wifi ในที่สาธารณะ
ให้เลือกใช้จากเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อถือได้ รวมไปถึงแนะเคล็ดลับการใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างไรให้
มีความสุขปลอดภัยจากมิจฉาชีพในโลกออนไลน์
· “รู้ทันโลกออนไลน์”
เรียนรู้การป้องกันภัยออนไลน์ด้วยตนเอง ผ่าน e - Learning โดย นายชัชชัย
เถลิงสุข Senior
Project Coordinator กลุ่มทรู ร่วมบรรยายว่า ทรูปลูกปัญญา
ได้นำแพลตฟอร์ม
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ได้พัฒนาร่วมกับสำนักงาน กสทช. ในรูปแบบ e - Learning มาแนะนำกับน้องๆ และผู้ปกครองโดย
มีเนื้อหาในการรับมือกับภัยทุกรูปแบบในในโลกออนไลน์ เพื่อป้องกันไม่ให้
ตกเป็นเหยื่อ และไม่เป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง ผ่านคลิปวิดีโอที่มีความสนุกสนาน
อาทิ Cyberbullying เรียนรู้โทษข้อควรระวังจากการถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ Social media Undo
แนะวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างถูกต้อง Fake News วิเคราะห์ว่าข่าวใดเป็นเรื่องจริงหรือหลอกลวง
Cyber Security แนะการใช้งาน อินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย รวมถึงการแนะนำการเป็นพลเมืองเน็ตที่สร้างสรรค์
Net Citizen นอกจากนี้ กลุ่มทรูอยู่ระหว่างนำการต่อยอดนำหลักสูตร e - Learning ลงในแพลตฟอร์ม TRUE VCOURSE และ TRUE VCLASS ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบรับกับรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
(self-learning) ของคนในยุคปัจจุบันและอนาคต
เป็นระบบที่นำเข้าสู่บทเรียนหัวข้อต่างๆ
ในรูปแบบการให้ข้อมูลความรู้ผ่านคลิปวิดีโอ และแบบทดสอบความรู้หากผ่านเกณฑ์จะได้รับเกียรติบัตรจากกลุ่มทรูอีกด้วย
ผ่านโครงการทรูปลูกปัญญา อีกทั้งยังตอกย้ำความมุ่งมั่นนำศักยภาพนวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสาร ร่วมเสริมประสิทธิภาพระบบป้องกันภัยของบริการกลุ่มทรู เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อลูกค้า
ยุคดิจิทัล พร้อมเปิดบริการสายด่วน Hotline 9777 ให้ลูกค้าที่ได้รับเบอร์โทรต้องสงสัย ติดต่อสอบถามฟรี และยังเปิดเว็บไซต์ True Cyber Care ซึ่งเป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ ข่าวสาร เสริมเกราะป้องกันภัยไซเบอร์รูปแบบต่างๆ ที่มีความซับซ้อน ให้ลูกค้าทรูและผู้บริโภครู้ทันก่อนหลงเชื่ออีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น