วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565

เคพเพล (Keppel) เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังไฮโดรเจนแห่งแรกของสิงคโปร์ ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยกิจการค้า ร่วมระหว่างมิตซูบิชิ พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก และจูรอง เอ็นจิเนียริ่ง

 


กรุงเทพฯประเทศไทย 13 กันยายน 2565 เคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (เคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์) ได้บรรลุการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ผ่านทางเคพเพล เอนเนอร์ยี่ บริษัทย่อยที่ตนถือหุ้นทั้งหมด เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซขั้นสูง (CCGT) ขนาด 600 เมกะวัตต์ที่ล้ำสมัย และได้ทำสัญญางานวิศวกรรม จัดซื้อ และก่อสร้าง (EPC) สำหรับการก่อสร้างโรงงาน กับกิจการค้าร่วมซึ่งประกอบไปด้วย มิตซูบิชิ พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก และ จูรอง เอ็นจิเนียริ่ง โรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน ที่จะสร้างขึ้นในเขตซาครา บนเกาะจูร่ง ประเทศสิงคโปร์ นี้ จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังไฮโดรเจนแห่งแรกในสิงคโปร์

 

เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจที่ลดการลงทุนในสินทรัพย์ของเคพเพล โรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน จะอยู่ในการครอบครองของ บริษัท เคพเพล ซาครา โคเกน จำกัด (KSC) ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทย่อยทางอ้อมที่ เคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ ถือหุ้นทั้งหมด โดยห้างหุ้นส่วนจำกัด เคพเพล เอเชีย อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ (KAIF)[1] และเคพเพล เอนเนอร์ยี่ จะถือหุ้นในบริษัท เคพเพล ซาครา โคเกน (KSC) 70% และ 30% ตามลำดับ นอกจากนี้ บริษัท เคพเพล ซาครา โคเกน (KSC) และเคพเพล เอนเนอร์ยียังมีกำหนดการทำสัญญาเหมาจ้างแบบเบ็ดเสร็จในการพัฒนาโรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน การลงทุนทั้งหมดสำหรับโรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 750 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

 

โรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในขั้นต้นยังได้รับการออกแบบให้ทำงานกับเชื้อเพลิงที่มีปริมาณไฮโดรเจน 30% และมีความสามารถในการสลับไปทำงานโดยใช้ไฮโดรเจนทั้งหมด นอกจากนี้ ในฐานะโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซขั้นสูง (CCGT) จะสามารถผลิตไอน้ำเพื่อใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมสำหรับลูกค้าด้านพลังงานและเคมีภัณฑ์บนเกาะจูร่ง โรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน ประเทศสิงคโปร์ มีกำหนดการณ์ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2569 โดยจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ล้ำสมัยและประหยัดพลังงานที่สุดในสิงคโปร์ ซึ่งหมายความว่าจะมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า เช่น ความเข้มของการปล่อยมลพิษที่ต่ำลงและความยืดหยุ่นในการทำงานที่สูงขึ้น  โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซขั้นสูง (CCGT) นี้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาโรงไฟฟ้าที่ดำเนินงานอยู่ในสิงคโปร์ และจะสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้มากถึง 220,000 ตันต่อปี เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการทำงานโดยเฉลี่ยสำหรับการผลิตพลังงานที่เทียบเท่ากันของสิงคโปร์ การลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ดังกล่าว เทียบเท่ากับการลดจำนวนรถยนต์ตามท้องถนนประมาณ 47,000 คันต่อปี

 

มิตซูบิชิ พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก ยังได้รับสัญญาบริการระยะยาว (LTS) สำหรับการบำรุงรักษาของกังหันอีกด้วย

 

ภาคพลังงานที่คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 40% ของการปล่อยคาร์บอนในประเทศสิงคโปร์[2] การผลิตไฟฟ้าแบบลดการปล่อยคาร์บอนจึงเป็นหัวใจสำคัญของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก และเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญตามแผนสีเขียว (Green Plan) ของประเทศสิงคโปร์

 

นอกจากสัญญางานวิศวกรรม จัดซื้อ และก่อสร้าง (EPC) กับสัญญาบริการระยะยาว (LTS) บริษัทเคพเพล นิว เอนเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ เคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ ถือหุ้นทั้งหมด ยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าที่ใช้แอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิง 100% ในพื้นที่ที่เลือกไว้ในสิงคโปร์ ความร่วมมือนี้มุ่งหวังที่จะจัดการกับปัญหาด้านพลังงานและส่งเสริมการสร้างภาคพลังงานที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้นในสิงคโปร์และภูมิภาคโดยรอบ

 

การตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ของโรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา ตลอดจนบันทึกความร่วมมือ (MOU) เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้แอมโมเนีย 100% นั้นสอดคล้อง นโยบาย วิสัยทัศน์ 2030” ของเคพเพล ซึ่งยึดถือความยั่งยืนเป็นแกนหลักของกลยุทธ์บริษัท

 

"ความต้องการใช้ไฟฟ้าของสิงคโปร์คาดว่าจะเติบโตด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตทาง เศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ สำนักงานตลาดพลังงานจึงยินดีรับการลงทุนจากภาคเอกชนเพื่อนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในระดับเดียวกันมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ด้วยการใช้ไฮโดรเจน โรงไฟฟ้าแห่งนี้ของเคพเพลจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยคาร์บอน สิ่งนี้จะช่วยผลักดันให้สิงคโปร์เปลี่ยนผ่านไปสู่อนาคตด้านพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น พร้อมรับประกันความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของการจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้บริโภค" นายเหวียม ชื่อ ชุน ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานตลาดพลังงาน (EMA) กล่าว

 

คุณซินดี้ ลิม ประธานกรรมการบริหารเคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ กล่าวว่า "โรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน ขนาด 600 เมกะวัตต์ จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกังหันก๊าซแห่งแรกในสิงคโปร์ที่ใช้ไฮโดรเจนและมีประสิทธิภาพขั้นสูงสุดทำให้ เคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ เป็นแนวหน้าของความพยายามในการลดคาร์บอนของภาคพลังงานของสิงคโปร์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วโรงไฟฟ้านี้จะเพิ่มยอดการผลิตไฟฟ้าของเคพเพลจาก 1,300 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน เป็น 1,900 เมกะวัตต์ ซึ่งช่วยให้เรามีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากความต้องการพลังงานที่เชื่อถือได้ยังคงเพิ่มขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์"

 

คุณคริสติน่า แทน ประธานกรรมการบริหารเคพเพล แคปปิตอล ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของหน่วยบริหาร เคพเพล เอเชีย อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ (KAIF) กล่าวว่า "การร่วมทุนโดย เคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ และ เคพเพล เอเชีย อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ ในโรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบธุรกิจที่ลดการลงทุนในสินทรัพย์ของเคพเพล พร้อมกับคว้าโอกาสในด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เราเชื่อว่าไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความมุ่งมั่นของสิงคโปร์ในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน เคพเพล แคปปิตอล จะยังคงใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันของ เคพเพล กรุ๊ป เพื่อค้นหาและลงทุนในโครงการที่พร้อมในอนาคตเพื่อสร้างมูลค่าให้กับนักลงทุนของเรา"

 

นายโอซามุ โอโนะ กรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการบริหารของ มิตซูบิชิ พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า "มิตซูบิชิ พาวเวอร์ ตั้งตารอที่จะจัดส่งกังหันก๊าซ JAC พลังไฮโดรเจนของเราให้โรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะมีการผสมผสานที่เหนือชั้นระหว่างประสิทธิภาพระดับโลกและความน่าเชื่อถือที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยชั่วโมงการทำงานที่มากมายในทั่วโลก ศูนย์ตรวจสอบโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่เชื่อมต่อกับโครงข่าย T-Point 2 ซึ่งตั้งอยู่ที่ทากาซาโกะ ไฮโดรเจน ปาร์ก ในญี่ปุ่น และประสบการณ์ที่มากมายของเรา ด้วยการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงที่อุดมด้วยไฮโดรเจนมานานกว่าครึ่งศตวรรษเนื่องจากเป็นนวัตกรรมเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำและไม่มีคาร์บอน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการใช้ไฮโดรเจนในระบบผลิตไฟฟ้าเพื่อลดการปล่อยมลพิษ เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นหุ้นส่วนกับเคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ ซึ่งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ในภาคพลังงาน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่วางไว้และสร้างอนาคตด้านพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับสิงคโปร์"

 

นาย โคอิจิ วาตานาเบะ กรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการบริหารของ จูรอง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด แสดงความคิดเห็นว่า "เราดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าเคพเพล ซาครา โคเกน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามร่วมกันในการขจัดคาร์บอนในการผลิตไฟฟ้าในอนาคตของเรา จูรอง เอ็นจิเนียริ่ง จะยังคงสร้างความหลากหลายและเสริมความแข็งแกร่งให้กับความสามารถด้านวิศวกรรมของเรา โดยการนำเสนอโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ในขณะที่มีส่วนผลักดันอนาคตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

 

การพัฒนาดังกล่าวคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบที่สำคัญกับกำไรต่อหุ้นรวมถึงสินทรัพย์สุทธิที่มีตัวตนต่อหุ้นของเคพเพล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเคพเพล แคปปิตอล และเคพเพล อินฟราสตรัคเจอร์ สำหรับปีงบประมาณปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที ลีสซิ่ง จับมือ ศรีประจันต์วัฒนยนต์ จัดอบรม "ขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดมลพิษ" โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

  บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด  ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ อรถจักรยานยนต์  ในเครือ เอ็ม บี เค  เล็งเห็นความสำคัญของการขับขี่ รถบนท้องถนนอย่างปลอ...