วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565

เผยผลงานผู้ชนะรางวัล James Dyson Award 2022 คนแรกของประเทศไทย พร้อมไปต่อในเวทีระดับโลก กับนวัตกรรมที่ออกแบบเพื่อเกษตรกรโคนมในประเทศ KomilO ระบบตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมแบบอัตโนมัติ ช่วยลดอัตราการผสมเทียมผิดพลาด ผลงานจากนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 


·       อุตสาหกรรมผลผลิตจากโคนมในตลาดโลกมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะมีมูลค่ามากถึงหนึ่งพันสองร้อยล้าน ดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2569

·       หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำนมที่สามารถผลิตได้คืออัตราสำเร็จในการผสมเทียมโคนม

·       ในประเทศไทย หนึ่งในปัญหาของเกษตรกรโคนมคือการไม่สามารถตรวจจับอาการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำส่งผลให้เกิดการผสมเทียมผิดพลาด

·       ในประเทศไทย คาดการณ์ว่าการผสมเทียมโคนมผิดพลาดทำให้เกษตรกรเสียรายได้ประมาณ 266 ล้านบาทต่ออาการติดสัด รอบในช่วงระยะเวลา 21 วัน

นวัตกรรมของผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ทีมแรกในประเทศไทย มุ่งเป้าไปที่การลดข้อผลพลาดในการตรวจจับอาการติดสัดในโคนมโดยใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อเพิ่มอัตราการสำเร็จของการผสมเทียมในโคนมที่จะส่งผลให้การผลิตน้ำนมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

KomilO (โคมิโล) คือชื่อของระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประกอบเป็นเซนเซอร์ จุด ที่ติดตั้งบนตัวโคนม จุดแรกที่บริเวณหู และจุดที่สองบริเวณโคนหางเพื่อตรวจจับพฤติกรรมของโคนม ทำให้สามารถคาดการณ์รอบของการเป็นสัดในโคนมได้อย่างแม่นยำโดยอาศัยเทคนิคแมชชีนเลิร์นนิง และเพื่อให้เกษตรกรสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายระบบนี้ยังเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันซึ่งจะช่วยเก็บข้อมูลเฉพาะของโคนมแต่ละตัว จัดการเซนเซอร์ รวมถึงแจ้งเตือนเกษตรกรเมื่อโคนมมีอาการติดสัดและพร้อมสำหรับการผสมเทียม

A group of people holding a computer  Description automatically generated with low confidence

ทีมนักออกแบบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

ทีมผู้ออกแบบ KomilO ประกอบด้วยสมาชิกนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชานวัตกรรมบริการดิจิทัล จำนวน คน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี จุดมุ่งหมายของของนักออกแบบรุ่นใหม่เหล่านี้คือการสร้างโซลูชันที่ใช้ง่ายและสามารถเข้าถึงได้เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมของเกษตรกรไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจำนวนมากขึ้น

โดยทีมผู้ออกแบบ KomilO กล่าวว่า “โปรเจกต์นี้เริ่มจากความสนใจของพวกเรา แต่กลายเป็นว่ากลายเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงเลยว่าจะทำให้เราเป็นทีมผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้เรามั่นใจและมีกำลังใจในการจะพัฒนา KomilO ให้กลายเป็นโซลูชันที่จะสามารถช่วยพัฒนาด้านการเกษตรโคนมของประเทศไทยได้”

โดยรางวัลชนะเลิศระดับชาติจะทำให้โปรเจกต์ KomilO ได้รับเงินรางวัลจำนวน 222,000 บาทเพื่อเป็นทุนในการพัฒนาต่อไป “เราตื่นเต้นมากตอนที่รู้ว่า James Dyson Award จัดการแข่งขันในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และตื่นเต้นกว่าเดิมอีกตอนที่รู้ว่าพวกเราได้รับรางวัลชนะเลิศ เรารู้สึกว่ารางวัลนี้ให้กำลังใจกับพวกเรา รวมไปถึงเงินทุนในการพัฒนาโซลูชันนี้จนไปถึงขั้นใช้จริง นอกจากนั้นระหว่างทางที่พวกเราได้แก้ไขปัญหา ระดมความคิด และค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เราได้พัฒนาศักยภาพในการเป็นนักออกแบบด้วยเช่นกัน”

KomilO จะเป็นตัวแทนจากประเทศไทยในการประกวดรางวัล James Dyson Award ระดับนานาชาติ ซึ่งผู้เข้ารอบในการประกวดระดับนานาชาติจะประกาศในวันที่ 12 ตุลาคมนี้

ทีมผู้ออกแบบกำลังพัฒนาโปรเจกต์ KomilO เพื่อต่อยอดให้สามารถนำไปใช้จริงได้

 

Diagram

Description automatically generated

ผู้ชนะรางวัลรองชนะเลิศ The Amazing Hearing Devices or AHDs

ปัญหาในปี 2564 มีจำนวนผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินจำนวนประมาณหนึ่งพันห้าร้อยล้านคนทั่วโลก และคาดว่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นสองพันห้าร้อยล้านคนภายในปี 2573 ตามรายงานของ WHO (2021) ซึ่งอัตราส่วนของคนที่สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยฟังที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยเกิดจากการออกแบบเครื่องช่วยฟังที่ไม่สามารถใช้ได้สำหรับทุกคน ตัวอย่างเช่น คนที่ใส่แว่นจะไม่สามารถใส่เครื่องช่วยฟังได้ รวมไปถึงการขาดแคลนเครื่องช่วยฟังที่มีน้ำหนักเบาหรือเครื่องช่วงฟังแบบไม่รุกล้ำ

โซลูชัน: AHDs คือเครื่องช่วยฟังที่มุ่งเป้าไปที่การออกแบบให้สามารถเข้าถึงง่าย นำเสนอเครื่องช่วยฟังที่ใส่สบายและนำเสนอประสบการณ์ที่เป็นมิตรกับผู้ใส่โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นอกจากนั้นยังมาพร้อมกับที่คาดหัวเพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเยอะ

A picture containing indoor  Description automatically generated

Aeolus

ปัญหา: จากงานวิจัยระบุว่าประชากรโลกจำนวน 17% ประสบปัญหาเรื่องการนอนหลับโดยมีสาเหตุมาจากหมอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนอกจากสิ่งนี้จะทำให้การนอนแบบมีคุณภาพน้อยลงแล้ว ยังสามารถนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรงมากขึ้น เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต และภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ ในขณะที่ร่างกายของมนุษย์เราแตกต่างกันอย่าชัดเจน แต่หมอนในท้องตลาดที่สามารถปรับให้เข้ากับร่างกายได้ยังมีอยู่น้อยมาก

โซลูชัน: Aeolus คือหมอนแบบปรับตามความต้องการโดยอาศัยแอปพลิเคชันในการปรับขนาดเพื่อทำให้การนอนแบบมีคุณภาพสามารถเข้าถึงได้ ออกแบบมาให้ใช้การตรวจจับจุดกดทับเพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับท่าของการวางศีรษะและการวิเคราะห์คุณภาพการนอนหลับโดย แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเสริม ซึ่งข้อมูลที่ได้มาจะถูกวิเคราะห์และนำเสนอแก่ผู้ใช้ว่าการปรับหมอนแบบไหนจะส่งผลดีกับคุณภาพการนอนมากที่สุด หมอน Aeolus มีระบบควบคุมอากาศที่ประกอบด้วยปั๊มลมและหน่วยประมวลผลทำให้สามารถปรับความสูงของหมอนจนถึงระดับที่ทำให้หลับสบายที่สุดได้ ทำให้ส่งผลดีต่อร่างกายในระยะยาว

James Dyson Award

รางวัล James Dyson Award เป็นหนึ่งในความุ่งมั่นของเซอร์เจมส์ ไดสัน ในการแสดงให้เห็นถึงพลังของวิศวกรรมที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ โครงการต่าง ๆ ของเซอร์เจมส์ ไดสัน ได้แก่ สถาบันวิศวกรรมและเทคโนโลยีของ Dyson, มูลนิธิ James Dyson Foundation, และการประกวด James Dyson Award ที่สนับสนุนให้วิศวกรใช้ความรู้ในการค้นหาหนทางที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นผ่านเทคโนโลยี ปัจจุบันเจมส์ ไดสันได้มอบเงินทุนกว่า 140 ล้านปอนด์แก่การศึกษาในคอนเซปต์ที่แปลกใหม่รวมไปถึงโครงการด้านการกุศลอื่น ๆ

James Dyson Award ที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิ James Dyson Foundation ได้สนับสนุนเงินรางวัลแก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 โครงการ โดยมูลนิธิมุ่งเน้นสนับสนุนการศึกษาด้านวิศวกรรมดำเนินงานด้วยเงินสนับสนุนจาก Dyson

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ที ลีสซิ่ง จับมือ ศรีประจันต์วัฒนยนต์ จัดอบรม "ขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดมลพิษ" โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

  บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด  ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ อรถจักรยานยนต์  ในเครือ เอ็ม บี เค  เล็งเห็นความสำคัญของการขับขี่ รถบนท้องถนนอย่างปลอ...