กรมประมง อ่อนยวบเปิดนำเข้ากุ้ งจากเอกวาดอร์และอินเดียกว่า 10,000 ตัน ทั้งที่ยืนกรานปกป้องผลประโยชน์ ประเทศมานานกว่าปี หวั่นทำลายแรงจูงใจเกษตรกรเดิ นหน้าพัฒนาต่อเนื่อง กระทบความสามารถในการแข่งขั นและเศรษฐกิจไทยแน่นอน
นายอักษร ขจรกาญจนกุล ประธานชมรมกุ้งตรังพัฒนา กล่าวว่า เกษตรกรประหลาดใจกับการตัดสิ นใจของกรมประมงในครั้งนี้มากที่ อนุมัตินำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์ และอินเดียแบบไม่ทันตั้งตัว ทั้งที่ผ่าน กรมฯ ปกป้องเกษตรกรมาตลอด เนื่องจากกุ้งที่นำเข้าจะทำให้ ราคากุ้งในประเทศตกต่ำ ไม่มีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงเรื่องโรคที่ติ ดมากับกุ้ง รวมถึงเกิดปัญหาคุ ณภาพความปลอดภัย การปนเปื้อนของสารเคมีต้องห้ ามและยาปฏิชีวนะ จะสร้างความเสียหายกับผู้เลี้ ยงและห่วงโซ่การผลิต
"เกษตรกรขอเรียกร้องให้รั ฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ ทบทวนนโยบายการนำเข้ากุ้งจากทั้ งสองประเทศนี้อีกครั้ง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ ของประเทศและอนาคตของเกษตรกรเลี้ ยงกุ้งไทย ที่มุ่งมั่นพัฒนาการเลี้ยงจนเป็ นที่่ยอมรับในระดับโลก ก่อนที่การนำเข้าจะเป็นปัจจั ยสำคัญที่ทำลายห่วงโซ่การผลิ ตตลอดไป" นายอักษร กล่าวย้ำ
ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันกุ้งทะเลที่ มาจากการเพาะเลี้ยงที่จะนำเข้ ามาในประเทศไทย ต้องมาจากแหล่งผลิตต้นทางที่มี ระบบควบคุมโรคและระบบความปลอดภั ยทางชีวภาพที่มีประสิทธิ ภาพตามมาตรฐานสากลในระดับเดี ยวกับประเทศไทย ซึ่งประเทศต้นทางที่ไทยจะนำเข้ าสินค้ากุ้งทะเลนั้นจะต้องปฏิบั ติตามเงื่อนไขที่ กรมประมงกำหนดอย่างเข้มงวด
นายอักษร กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริ มเกษตรกรเลี้ยงกุ้งมาโดยตลอด ทั้งมาตรการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้ งแบบพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพการเลี้ยง โดยเฉพาะด้านการผลิตที่มีคุ ณภาพได้มาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และมาตรฐานสากล รวมถึงการเจาะตลาดใหม่เพื่อเพิ่ มช่องทางการส่งออก นอกจากนี้ การนำกุ้งจากต่างประเทศมาแปรรู ปบรรจุใหม่ และนำไปส่งออกขายต่ างประเทศในนามประเทศไทย อาจกระทบภาพลักษณ์กุ้งคุณภาพดี ของไทยที่สร้างชื่อเสียงในระดั บโลกมายาวนาน
“เป็นเรื่องที่ช็อกเกษตรกรมากที่ รัฐบาลอนุญาตให้นำเข้ากุ้ง ทั้งที่ผ่านมากระทรวงเกษตรฯ ระงับการนำเข้ามาโดยตลอด ทำให้เกษตรกรมุ่งมั่นพั ฒนาระบบการเลี้ยงเพื่อสร้างมู ลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยมีราคาเป็นแรงจูงใจในการเดิ นหน้าอย่างต่อเนื่อง หากมีการนำเข้ากุ้ง จะทำให้ราคาในประเทศตกต่ำ ทำลายภาคการผลิตของเกษตรกรทั้ งระยะสั้นและระยะยาว” นายอักษร กล่าว
สำหรับคาดการณ์ผลผลิตกุ้ งของไทยปี 2565 จะอยู่ที่ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 280,000 ตัน ในปี 2564 เนื่องจากปัญหาโรคระบาดกุ้ง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลผลิ ตเพิ่มขึ้นไม่มาก./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น