บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น (Change Fusion) ภายใต้มูลนิธิบูรณชนบทแห่งประเทศไทย ประกาศผลคัดเลือก 3 ผู้ชนะรางวัล “สุดยอดนวัตกรรมช่างชุมชนปี2” ประกอบด้วย กับดักแมลงโซลาร์เซลล์ จ.นครปฐม, ซาเล้งโซลาร์เซลล์ จ.ราชบุรี และเครื่องผลิตเทียนอัตโนมัติระดับชุมชน จ.เลย โดยมอบเงินรางวัลสนับสนุนให้กับช่างชุมชนทั้ง 3 ผลงาน มูลค่ารวม 300,000 บาท พร้อมเดินหน้าสานต่อ “โครงการส่งเสริมนวัตกรรมช่างชุมปี3” เพื่อพัฒนานวัตกรรมและยกระดับทักษะช่างชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับชุมชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ดร.สุภามาส ตรีวิศวเวทย์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัท ช.การช่าง มีความภูมิใจที่ได้เห็น “โครงการส่งเสริมนวัตกรรมช่างชุมชน” ได้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาทางสังคมผ่านกระบวนการพัฒนานวัตกรรมช่างชุมชนต่อเนื่องมาเป็นปีที่2 โดยต้องขอขอบคุณ “ช่างชุมชน” ทั่วประเทศที่ได้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการในปีนี้ และขอแสดงความยินดีกับช่างชุมชนเจ้าของนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ทั้ง 3 ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “สุดยอดนวัตกรรมช่างชุมชนปี2”
เราเชื่อว่า แม้จะเป็นช่างที่เริ่มต้นจากสเกลงานเล็กๆ แต่ก็สามารถที่จะร่วมแรงร่วมใจกับทีมงาน พัฒนาตนเองขึ้นมาจนกลายเป็นช่างที่สามารถทำงานใหญ่ระดับประเทศหรือระดับนานาชาติได้ ช.การช่างขอเป็นกำลังใจให้ช่างทุกคนมีแรงใจที่ดีในการพัฒนาทักษะและผลงานต่อไป เพื่อพัฒนาองค์ความรู้นำมาใช้แก้ปัญหา ช่วยซ่อมสิ่งที่ขาดตกบกพร่องและช่วยสร้างสิ่งดีๆให้เกิดขึ้นในสังคมและประเทศชาติ โดยทางช.การช่าง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนโครงการดีๆเช่นนี้ต่อไปในอนาคต”
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้กล่าวเสริมว่า “สำหรับโครงการส่งเสริมนวัตกรรมช่างชุมชนถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ช่วยเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันและเข้าถึงทรัพยากร องค์ความรู้ แหล่งเงินทุน และบริการภาครัฐ โดยอาศัยเครือข่ายช่างชุมชน ซึ่งในวันนี้เราได้ 3 ทีมสุดยอดนวัตกรรมช่างชุมที่มาพร้อมผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการนำไปต่อยอดเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มีคุณค่า ซึ่งทาง NIA ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือและสนับสนุนช่างทุกคนที่ต้องการพัฒนาความสามารถ และอยากนำแนวคิดที่ตนมีไปต่อยอดเพื่อยกระดับชุมชนที่ตนอาศัย และคาดหวังจะได้สนับสนุนโครงการที่ดีแบบนี้ในปีถัดๆไปเช่นกัน”
สุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น (Change Fusion) กล่าวถึงความสำคัญของการร่วมมือครั้งนี้เช่นกัน “ในปีนี้โลกเราเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาดที่ยังคงสร้างปัญหาอย่างต่อเนื่อง สงคราม เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ซึ่งช่างชุมชนทุกท่านก็สามารถมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน โดยใช้ภูมิปัญญา องค์ความรู้ ทรัพยากรภายในชุมชนมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างรายได้ให้หมุนเวียนภายในชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ให้สามารถฝ่าวิกฤติไปด้วยกันได้”
โดยในปีนี้ ทางโครงการฯได้คัดเลือก 3 ทีม 3 นวัตกรรม ที่ชนะรางวัลสุดยอดนวัตกรรมช่างชุมชนปี2 ได้แก่
- กับดักแมลงโซลาร์เซลล์ โดย นายชำนาญ ด้วงสโน - อุปกรณ์ดักจับแมลงช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถเคลื่อนย้ายไปปักไว้ตามจุดต่าง ๆ ภายในแปลงเกษตรได้ตามความต้องการ อุปกรณ์จะเก็บสะสมพลังงานไฟ้ฟ้าในเวลากลางวันเพื่อเปิดไฟล่อแมลงในเวลากลางคืน และยังเป็นการช่วยลดต้นทุนการกำจัดศัตรูพืชให้กับเกษตรกรอีกด้วย
- ซาเล้งสูบน้ำโซลาร์เซลล์ โดย นายวิชัย เข็มทอง - โซลาร์เซลล์แบบเคลื่อนที่สำหรับใช้ในพื้นที่ทางการเกษตร ไม่ต้องลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบประจำที่หลายชุด ถือเป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร และยังสามารถแบ่งใช้งานร่วมกันในชุมชนได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น