โซเด็กซ์โซ่
บริษัทผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการบริการบริหารอาคารแบบครบวงจรจากประเทศฝรั่งเศส
ได้จัดกิจกรรม "STOP HUNGER" โครงการเพื่อสังคมที่
โซเด็กซ์โซ่ ทั่วโลกจัดขึ้นต่อเนื่องในช่วงเดียวกันของทุกปี
มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยขจัดความหิวโหยและลดภาวะขาดสารอาหารของผู้ด้อยโอกาสทั่วโลก
และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ณ
โรงเรียนมีชัยพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์
มร.อาร์โนด์
เบียเลคกิ ประธานบริหาร
โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย กล่าวว่า “กิจกรรม STOP HUNGER ครั้งนี้ได้เริ่มจัดขึ้นอีกครั้งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
โดยได้รับความร่วมมือจากพนักงานจิตอาสามาร่วมทำกิจกรรม “Cooking Class” เพื่อให้ความรู้กับนักเรียนตั้งแต่การเริ่มเตรียมวัตถุดิบตลอดจนการปรุงอาหารตามขั้นตอนให้ถูกสุขอนามัย
รวมทั้ง “Knowledge
Sharing” กิจกรรมที่ให้ความรู้ในการกำจัดขยะอาหารอย่างมีประสิทธิภาพให้กับนักเรียน
ไปจนถึงการจัดการขยะอาหารอย่างยั่งยืน นับเป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ที่น้องๆ
นักเรียนเหล่านั้นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับครอบครัวและชุมชนรอบๆ
โรงเรียนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เรายังได้นำอาหารไปมอบให้กับน้องๆ
และผู้สูงอายุในชุมชนรวมกว่า 250 ชุด พร้อมมอบเงินสดและอุปกรณ์ที่จำเป็นมูลค่ารวมกว่า
200,000 บาท เพื่อสนับสนุนการศึกษาและกิจกรรมสำหรับนักเรียน”
ด้าน ผอ. สำนาน ไชยโคตร รักษาการณ์ผู้อำนวยการ โรงเรียนมีชัยพัฒนา
กล่าวว่า “โรงเรียนมีชัยพัฒนา
เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
มีนักเรียนจากทั่วประเทศมาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้
โดยไม่ต้องจ่ายค่าเทอมแต่ผู้ปกครองและนักเรียนต้องทำความดี 800 ชั่วโมง และปลูกต้นไม้ 800 ต้น เป็นการทดแทน
เพื่อเป็นการมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี มีวินัย มีจิตสาธารณะ นอกจากนี้
เรายังมีการจัดหลักสูตรที่เน้นการเสริมสร้างศักยภาพของตัวนักเรียน
ฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม ให้สามารถคิดนอกกรอบและค้นคว้าหาคำตอบ
รวมไปถึงการทำงานร่วมกับชุมชนโดยรอบเพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ซึ่งตรงกับพันธกิจของ โซเด็กซ์โซ่
ที่เน้นการให้บริการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และทางโรงเรียนฯ
มีความรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสต้อนรับผู้บริหารและพนักงาน โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย
ที่มาให้ความรู้ พร้อมทั้งมอบเงินสมทบทุนและของใช้ที่จำเป็นต่างๆ มากมาย
ซึ่งทางโรงเรียนสัญญาว่าจะนำความรู้ที่ได้ในวันนี้นำไปฝึกฝนให้ชำนาญและนำไปถ่ายทอดให้กับชุมชนใกล้เคียง”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น