วันที่ 5 มิถุนายน
ของทุกปีถือว่าเป็น “วันสิ่งแวดล้อมโลก”
เพื่อให้เราได้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายล้อมรอบตัว ทั้งสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ และไม่มีชีวิต
ที่จำเป็นต้องอาศัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกันเป็นวัฏจักรที่แยกออกจากกันไม่ได้
หากสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดสมดุลก็ย่อมส่งผลกระทบต่ออีกไปเรื่อยๆ
ในฐานะปัจเจกบุคคลเรามีวิธีแสดงออกและร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายๆ
เริ่มตั้งแต่ที่บ้าน เช่น การแยกขยะ ลดการใช้พลังงาน
หันมาใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน
ส่วนในระดับองค์กรธุรกิจย่อมต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนและประเทศที่เข้มข้นมากขึ้น
อีกทั้ง หากสามารถริเริ่มหรือต่อยอดโครงการที่มีประโยชน์ สร้างจิตสำนึก หรือแรงบันดาลใจให้คนในสังคมรวมถึงองค์กรต่างๆ
นำไปเป็นแบบอย่างก็นับเป็นเรื่องที่ดี
ที่ทุกภาคส่วนจะได้ร่วมกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของทุกคน
กลุ่มบริษัท
สยามพิวรรธน์ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน
สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของ ไอคอนสยามและสยาม
พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนยกระดับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินโครงการต้นแบบในการใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
ที่สนับสนุนให้คนใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ให้สมดุลและร่วมกันดูแลรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีหลากหลายโครงการที่น่าสนใจ
และเป็นต้นแบบให้กับองค์กร หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนประชาชนทุกคนได้ศึกษาเป็นแนวทางและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลกได้ผ่านทางโครงการต่างๆ
“Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste”
ระบบจัดการขยะทั้งห่วงโซ่
เป็นโครงการที่ปลุกกระแสรักษ์โลกด้วยการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการใช้ซ้ำ
(reuse)
หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (recycle) จนนำไปสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง
(Upcycling) นำขยะมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสยามพิวรรธน์ ร่วมกับ
กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย บริษัท
คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เต็ดตราแพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด
สร้างจุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้ว
เปิดให้ลูกค้าและประชาชนสามารถนำขยะที่ทำความสะอาดและคัดแยกแล้วมาทิ้งที่จุดดรอปออฟ Recycle Collection Center ที่ตั้งอยู่ที่สยามพารากอน จุดที่ 1
บริเวณจุดจอดรถทัวร์ ชั้น G ฝั่ง North และ จุดที่ 2 บริเวณทางออก 4
ชั้น G (ฝั่งธนาคารกรุงเทพ) ตั้งแต่มิถุนายน 2564 จนถึงปัจุบัน ซึ่งมีคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของสยามพิวรรธน์ นำขยะที่คัดแยกดังกล่าวมาตรวจสอบประเภทขยะอย่างละเอียด
พร้อมทำความสะอาดในส่วนขยะพลาสติก ที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดก่อนนำมาทิ้ง
ในปีที่ผ่านมามีปริมาณขยะที่เข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการมากกว่า
4.7 ตัน ประกอบด้วย กระดาษ /นิตยสารใบปลิว 1,489 กก. ขวดพลาสติกใส
776 กก. พลาสติกแข็ง
233 กก. อลูมิเนียม 121 กก. พลาสติกแบบยืด
209 กก. พลาสติกแบบซอง Multilayer 351
กก. กล่องนม / น้ำผลไม้ / กะทิ 418 กก. และขวดแก้ว 1,193
กก. โดยขยะทั้งหมดได้นำเข้าสู่กลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
ส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งบางส่วนนำเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง
และส่วนหนึ่งยังกลับมาวางจำหน่ายบนพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย”
ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ และยังเปิดพื้นที่ให้สามารถนำขยะกำพร้าหรือขยะพลาสติกไร้ค่าที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบได้เพื่อส่งต่อให้กับวงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมินำไปทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
(RDF) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป
ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกไร้ค่าแล้ว ยังเป็น การสร้างระบบจัดการขยะเป็นศูนย์ได้อย่างแท้จริง
มุ่งมั่นลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สู่นวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อป
แม้ว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจศูนย์การค้า
ส่วนใหญ่จะเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน
แต่สยามพิวรรธน์ก็ยังให้ความสำคัญและส่งเสริมให้มีกิจกรรมต่างๆ อาทิ
โครงการติดตั้งระบบประตูอัตโนมัติเพื่อลดภาระการทำงานของระบบทำความเย็น
โครงการปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศ (chiller) ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น
โครงการปรับเปลี่ยนระบบแสงสว่างมาใช้หลอด LED
โครงการลดการส่งของเสียไปกำจัดโดยการฝังกลบเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทนออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ
โดยสยามพิวรรธน์ทำงานร่วมกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกลยุทธ์ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (VGREEN)
ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กรตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ที่เทียบเท่ากับ มาตรฐานสากล ISO 14064-1 จนได้รับการรับรองค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ทำให้ที่ผ่านมาสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น
14,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับ การปลูกต้นไม้ 858,800 ต้น ยิ่งไปกว่านั้น ไอคอนสยาม ได้นำเอานวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อปมาติดตั้งไว้เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้า
โดยจากปี 2562 เป็นต้นมา
ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 996
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 57,921 ต้น อีกทั้ง ยังเตรียมต่อยอดโครงการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อปบนพื้นที่สยาม
พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย
เดินหน้าสู่ต้นแบบของธุรกิจค้าปลีกในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร
ดำเนินโครงการ
“CE
Model Pathumwan” (1 มีนาคม 2564 - 30 พฤศจิกายน 2565) ร่วมกับสถาบันพลาสติกและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อวิจัยและพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) โดยมุ่งหวังให้สยามพิวรรธน์เป็นต้นแบบของธุรกิจค้าปลีกในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร
โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และกำหนดให้สยามพิวรรธน์เป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญสำหรับใช้ศึกษาข้อมูลของผู้บริโภค
วงจรการใช้ชีวิต พฤติกรรมการบริโภค การคัดแยกและทิ้งขยะ และนำผลวิจัยไปวิเคราะห์เตรียมจัดทำเป็นแนวคิดพัฒนาแบบแผนธุรกิจ
(Business Model) การบริหารจัดการขยะพลาสติกในสังคมเมือง
โดยในปี
2564 ได้จัดกิจกรรมมากมาย อาทิ จัดเสวนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ “Siam Piwat
สู่เส้นทางการจัดการขยะพลาสติกใช้แล้วครบวงจร” จัดกิจกรรม From Pieces to Business: Let’s Close the Loop เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าร่วมประกวดนำเสนอไอเดียเพื่อนำไปสู่ Business
Model นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และออกบูธให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติกและผลิตภัณฑ์จากพลาสติกของหน่วยงานบริษัทต่างๆ
และในอนาคตยังมีแผนการจัดทำ Digital platform พัฒนาระบบเชื่อมโยงเข้ากับโครงการ
“Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” เพื่อเชิญชวนลูกค้านำขยะที่คัดแยกแล้วมาแลกสะสม points รับเป็นของรางวัลต่างๆ อีกด้วย
สยามพิวรรธน์รวมใจ
สู้ภัยโควิด
ในช่วงปีที่ผ่านมา
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่สยามพิวรรธน์ยังคงมุ่งมั่นและขับเคลื่อนโครงการต่างๆ
ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและจริงจังผ่าน “สยามพิวรรธน์รวมใจ สู้ภัยโควิด” อาทิ
โครงการ "แยกขวดช่วยหมอ” ที่ร่วมกับ Less Plastic เชิญชวนลูกค้าและประชาชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนขวดพลาสติกใส (PET) ที่ใช้งานแล้ว โดยมีขวดพลาสติกที่ได้รับจำนวนทั้งสิ้น 1,442 กิโลกรัม สามารถนำไปผลิตเป็นชุด PPE
ได้ประมาณ 2,884 ชุด รวมถึงเปิดจุดรับกล่องกระดาษเหลือใช้เพื่อนำกลับมารีไซเคิลเป็นเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี
ส่งไปยังผู้รับบริจาคทั่วประเทศรวมกว่า 230 เตียง
ส่งท้ายปีกับวิถีไลฟ์สไตล์รักษ์โลก
ในทุกปี สยามดิสคัฟเวอรี่ จะเนรมิตต้นคริสต์มาสรักษ์โลก
โดยปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ 11 จัดในแนวคิด “Circular
Living X'mas Tree 2021” ร่วมกับ บริษัท
พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC นำขวดพลาสติกขุ่น
(HDPE) ใช้แล้ว เชิญชวนทุกคนให้มาร่วมเติมความสุขส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ไปด้วยกันในวิถีไลฟ์สไตล์รักษ์โลกสร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
(Eco-Friendly & Sustainable) ซึ่งภายหลังจบงานในเดือนมกราคม
2565 สยามพิวรรธน์ และ GC ได้นำขวดพลาสติกขุ่นที่ใช้เป็นวัสดุหลักส่งต่อให้กับโครงการ
YOUเทิร์น เพื่อนำไปรีไซเคิล (recycle) ให้เป็นถังสำหรับทิ้งขยะ และมอบให้กับสาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคนบนโลกใบนี้
สยามพิวรรธน์จึงเดินหน้าดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างความสมดุลให้กับโลก
ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจในทุกมิติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น