บริษัท
บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพเพื่อโลกที่ยั่งยืน
ด้วยสมดุลของพอร์ตธุรกิจจากทั้งพลังงานความร้อน (Thermal Power Business) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power
Business) ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
เผยความคืบหน้าของการเดินหน้าลงทุนและเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โรงไฟฟ้าต่างๆ
นับตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถขยายกำลังผลิตที่มีคุณภาพ
(Quality
Megawatt) ในกลุ่มประเทศยุทธศาสตร์ในระบบนิเวศทางธุรกิจของกลุ่มบ้านปู
(Banpu Ecosystem) รวม 545
เมกะวัตต์ตามสัดส่วนการลงทุน อีกทั้งล่าสุดยังได้รับการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนจากสถาบัน
S&P Global ด้วยคะแนนประเมินในระดับสูงมาก
(Very High) และได้รับการคัดเลือกอยู่ใน
Sustainability Yearbook 2022 สะท้อนความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามหลัก
ESG
นายกิรณ ลิมปพยอม
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปัจจุบัน BPP ได้รับการจัดอันดับอยู่ในดัชนี SET100 และดัชนี SETHD ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นหลักทรัพย์ที่จ่ายเงินปันผลย้อนหลัง
3 ปีอยู่ในเกณฑ์ดี
ด้วยการเป็นหลักทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มีสภาพคล่อง
และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน โดยในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา BPP มุ่งสร้างการเติบโตของธุรกิจผลิตพลังงานไฟฟ้าภายใต้กลยุทธ์ Greener
& Smarter โดยได้ขยายกำลังผลิตจากการลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ๆ
ที่เดินเครื่องจ่ายไฟแล้ว พร้อมสร้างรายได้ทันที
และการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โครงการโรงไฟฟ้าในพอร์ตธุรกิจตามแผน รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง คิดเป็น เมกะวัตต์ที่มีคุณภาพ (Quality Megawatt) ทั้งหมด 545 เมกะวัตต์ ในประเทศกลยุทธ์ของกลุ่มบ้านปู ได้แก่ ญี่ปุ่น
เวียดนาม ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้รับการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนจากองค์กรชั้นนำระดับโลกอย่าง
S&P Global ในระดับสูงมาก (Very High) เทียบเท่าสมาชิก Dow Jones
Sustainability Indices (DJSI) ซึ่งเป็นดัชนีที่เป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนนานาชาติ และได้รับการคัดเลือกให้อยู่ใน
Sustainability Yearbook 2022 ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งยืนยันถึงความพร้อมของบริษัทฯ
และความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายในการเดินหน้าสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมถึง 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568”
ในรอบปีที่ผ่านมา กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุนที่ BPP เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพิ่มเติมในโรงไฟฟ้า
10 แห่ง รวม 545 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า
HELE จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้านาโกโซ
(Nakoso IGCC) ในจังหวัด ฟุกุชิมะ
ประเทศญี่ปุ่น กำลังผลิต 73 เมกะวัตต์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีผสมผสานในการแปลงสถานะถ่านหินให้กลายเป็นก๊าซเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า
(Integrated
Gasification Combined Cycle: IGCC) และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I ในรัฐเท็กซัส
สหรัฐอเมริกา 384 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยี Combined Cycle Gas Turbines หรือ CCGT ที่อยู่ในตลาดที่มีการซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี
และตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์รวมเศรษฐกิจและประชากรที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการเพิ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในพอร์ตโฟลิโออีก 8 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เบอริล
(Beryl) และมานิลดรา (Manildra) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์
ประเทศออสเตรเลีย กำลังผลิตรวม 16.6 เมกะวัตต์ ซึ่งนับเป็นการสร้างรากฐานการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในออสเตรเลีย
ตามมาด้วยการทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 แห่งในญี่ปุ่น ได้แก่ เคเซนนุมะ (Kesennuma) นิฮอนมัสซึ (Nihonmatsu) และชิราคาวะ (Shirakawa) กำลังผลิตรวม 21 เมกะวัตต์ ที่ล้วนมีโครงสร้างราคารับซื้อไฟฟ้าระยะยาวแบบ
Feed-in Tariff (FiT) สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกลับสู่บริษัทฯ
รวมไปถึงการลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีก 3 แห่งในเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่มีปริมาณความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงและมีนโยบายสนับสนุนด้านพลังงานหมุนเวียนที่ชัดเจนจากภาครัฐ
ได้แก่ ฮาติ๋ญ (Ha Tinh) กำลังผลิต 25 เมกะวัตต์ ตามด้วย ชูง็อก
(Chu
Ngoc) และน็อนไห่ (Nhon
Hai) กำลังผลิตรวม 25 เมกะวัตต์
ด้วยความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental,
Social, and Governance: ESG) เพื่อส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน ในปี
2564 ที่ผ่านมา
BPP ยังได้รับรางวัลและการประเมินจากองค์กรชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศ
ดังนี้
·
ได้รับรางวัลด้านความยั่งยืน Rising
Star Sustainability Awards ในกลุ่มรางวัล Sustainability Excellence ประจำปี 2564 ในกลุ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market
Capitalization) 30,000-100,000 ล้านบาท จากงาน SET Award
2021 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและวารสารการเงินธนาคาร
·
ได้รับการคัดเลือกเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีรายชื่ออยู่ใน “หุ้นยั่งยืน” หรือ Thailand Sustainable Investment (THSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
·
ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 168
บริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดีเลิศ (Excellence CG Scoring)
จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี
2564 โดยสถาบันกรรมการบริษัทไทย
·
ได้รับอันดับเครดิตองค์กรที่ระดับ “A+” ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่”
จากทริสเรทติ้ง ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำในประเทศไทย
“ทั้งนี้ BPP
จะยังคงพิจารณาโอกาสการลงทุนและต่อยอดมูลค่าทางธุรกิจจากระบบนิเวศทางธุรกิจภายในกลุ่มบ้านปูใน
7 ประเทศที่บริษัทมีฐานการผลิตไฟฟ้าอยู่แล้ว คาดว่าจะเห็นความชัดเจนของการเติบโตสู่เป้าหมาย
5,300 เมกะวัตต์
บริษัทฯ จะรายงานความคืบหน้าเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป” นายกิรณ กล่าวปิดท้าย
ข้อมูลโรงไฟฟ้าและโครงการโรงไฟฟ้าของ BPP ณ วันที่ 25 มกราคม 2565
|
โรงไฟฟ้าและ โครงการโรงไฟฟ้า |
โครงการที่เปิดดำเนินการ |
โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา |
จำนวน (แห่ง/โครงการ) |
38 |
36 |
2 |
กำลังผลิตตามสัดส่วนการลงทุน (เมกะวัตต์) |
3,389 |
3,298 |
91 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น