หน่วยงานพันธมิตรจากภาค รัฐ เอกชน และประชาสังคม 7 องค์กรร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่ าด้วยความร่วมมือ ในการดำเนินศูนย์สวัสดิ ภาพและธรรมาภิ บาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center หรือ ศูนย์ FLEC) ในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2564-2568) ชูหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจหมุนเวียน หนุนครอบครัวแรงงานประมงมี ความมั่นคงทางอาหารบนพื้นฐานสิ ทธิมนุษยชน ควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการจั ดการขยะทะเลและชายฝั่งในเขตพื้ นที่ท่าเรือสงขลา เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่ างยั่งยืน
หน่วยงานที่ร่วมมือในการดำเนิ นงานศูนย์ FLEC ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่ งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด และ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) การคุ้ มครองแรงงานในภาคการประมงและครอ บครัวตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ต่อยอดการสร้างความมั่ นคงทางอาหาร การพึ่งพาตนเอง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับการนำแนวทางเศรษฐกิ จหมุนเวียนช่วยจัดการขยะทะเล
นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดิ นทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC กล่าวว่า จากความสำเร็จของการดำเนิ นงานของศูนย์ฯ ในระยะแรก (2558-2563) เป็นผลจากการบูรณาการของ 5 องค์กรก่อตั้ง มีแผนงานและกำหนดเป้าหมายอย่ างมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันปัญหาการทำประมงผิ ดกฎหมายแบบครบวงจร และยกระดับคุณภาพชีวิ ตแรงงานและครอบครัวมีความเป็ นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ องค์กรก่อตั้งได้สานต่อการดำเนิ นงานของศูนย์ฯ FLEC ระยะที่ 2 (2564-2568) เป็นเวลา 5 ปี โดยประสานความเชี่ยวชาญของ 7 องค์กร ขับเคลื่อนภารกิจด้านการคุ้ มครองแรงงานในอุ ตสากรรมประมงไทยต่อเนื่อง พร้อมทั้งต่อยอดสู่การส่งเสริ มความมั่นทางอาหาร และการจัดการขยะทางทะเล ช่วยตอบโจทย์เป้าหมายการพั ฒนาอย่างยั่งยืนขององค์ การสหประชาชาติ (UN SDGs) ตั้งแต่ เป้าหมายที่ 2 การยุติความหิวโหย เป้าหมายที่ 3 การสร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิ ตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวั สดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมี การศึกษาที่มีคุณภาพอย่ างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เป็นต้น
การดำเนินของศูนย์ FLEC ในระยะที่ 2 จะประสานความชำนาญและเครือข่ ายของทั้ง 7 องค์กรมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชี วิตของแรงงานภาคประมงและครอบครั ว โดยให้ความช่วยเหลือ ข้อแนะนำ ตลอดจนการสนับสนุนที่จำเป็น เพื่อให้ทุกคน ได้รับความคุ้มครองและมีปัจจั ยพื้นฐานในการดำรงชีวิตตามหลั กมนุษยธรรม สอดคล้องต่อหลักการ สิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจ(UN Guiding Principles on Business and Human Rights) และการเคารพต่อสิทธิเด็ กและเยาวชน มุ่งส่งเสริมการนำหลักเศรษฐกิ จพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ของแรงงานและครอบครัว ให้สามารถพึ่งพาตนเองเรื่ องความมั่นคงทางอาหารภายในครั วเรือน รวมทั้งนำหลักการเศรษฐกิจหมุ นเวียนมาช่วยสร้างการมีส่วนร่ วมเรื่องการจั ดการขยะทะเลและชายฝั่งในเขตพื้ นที่ท่าเรือสงขลา เพื่อให้ศูนย์ฯ เป็นต้นแบบในการพัฒนาที่ยั่งยื นของห่วงโซ่อาหารทะเลให้กับท่ าเรือประมงและหน่วยอื่นๆ
นางสาวนาตยากล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินของศูนย์ฯ ในระยะที่ 2 บูรณาการความชำนาญและเครือข่ ายของทั้ง 7 องค์กร ดังนี้ 1). องค์การสะพานปลาอนุเคราะห์พื้ นที่ตั้งของศูนย์เพื่อดำเนินกิ จกรรมต่างๆ รวมทั้งเป็นห้องเรียนของลู กหลานแรงงานข้ามชาติ 2).กรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน สนับสนุนสื่อในการให้ความรู้ด้ านสิทธิและการคุ้มครองแรงงาน สนับสนุนบุคลากรในการให้คำปรึ กษารับเรื่องร้องทุกข์ ประสานงานหน่ วยงานกระทรวงแรงงานและภาครัฐ 3).สมาคมวางแผนครอบครัวแห่ งประเทศไทย สนับสนุนการ สร้างโอกาสการศึกษาของบุ ตรหลานของแรงงาน การส่งเสริมด้านสุขภาวะที่ดี การป้องกันโรคติดต่อ การวางแผนครอบครัว รวมทั้งการส่งเสริมการผลิ ตอาหารเพื่อลดค่าใช้จ่ายและมี อาหารที่สะอาดปลอดภัยไว้บริ โภคในครัวเรือน
4).ศูนย์อภิบาลผู้เดิ นทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) สนับสนุนบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ประจำศูนย์ฯ ทำหน้าที่ให้บริการสร้ างความตระหนักรู้ด้านสิทธิ และการคุ้มครองแรงงาน การเป็นที่ปรึกษาให้แรงงาน รวมทั้งการประสานความร่วมมือกั บภาคืภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ในการรณรงค์ต่อต้านการบังคับใช้ แรงงานและการค้ามนุษย์
5). ซีพีเอฟ เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณเพื่ อใช้ในการดำเนิ นโครงการและประเมินผลการดำเนิ นงานของศูนย์ฯ บรรลุตามเป้าหมาย รวมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ด้ านโภชนาการ การจัดการอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร
นอกจากนี้ 6.) บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ เก็บสะอาด สตาร์ทอัพไทยที่มีความเชี่ ยวชาญด้านการบริหารจัดการขยะ จะมาสนับสนุนการบริหารจัดการข้ อมูลการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ขณะที่ 7.) จีซี จะมาช่วยสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ ความรู้ระบบการจัดการขยะภายในชุ มชนแบบครบวงจร ตั้งแต่จัดเก็บจนถึงการซื้อขาย และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมู ลค่าขยะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อต่ อยอดการสร้างรายได้ให้ครอบครั วของแรงงานประมงต่อไป./
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น