“อุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล” หรือที่รู้จักกันดีว่า “อจ. มิ้นท์” หนึ่งในแม่ทัพบริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด Digital Super Agency สัญชาติไทยเจ้าแรกที่ให้บริการสื่อสารการตลาดครบวงจร รวมทั้งซอฟต์แวร์และโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอัจฉริยะตั้งแต่การทำ Big data การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกตลอดจนนำเสนอกลยุทธการตลาดดิจิทัลฟันธงการตลาดปี ‘65 ว่าเทคโนโลยีทางการตลาด (MarTech) จำเป็นและถือเป็นอาวุธที่เพิ่มพลังให้แบรนด์มากยิ่งขึ้น เตือนหากแบรนด์ไม่ผสาน MarTech นอกจากตกขบวน ยังก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงโลกดิจิทัลที่แข่งขันเร็วและแรง
นายอุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัดซึ่งยังเป็น Google Partner Academy Trainer และ Partner Academy Speaker รวมถึง Facebook Certified Training Partner เปิดเผยว่าการทำตลาดถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ให้แก่ผู้บริโภค ไปจนถึงการกระตุ้นยอดขายให้เติบโต และมีชัยเหนือคู่แข่งได้
ทั้งนี้ ในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีทางการตลาด หรือมาร์เทค (Marketing Technology : MarTech) ทวีความสำคัญมากขึ้นเพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักการตลาดวางแผนทำการตลาดกำหนดกลยุทธ์เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ไปจนถึงการวัดผลความสำเร็จของแคมเปญต่างๆ ทำให้การตลาดมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้จ่ายเงินได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากขึ้น
ในขณะที่วิกฤตโรคโควิด-19 ที่ระบาดตั้งแต่ปี 2563-2564 ได้สร้างปฏิกิริยาเร่งให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวัน มีการบริโภคข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หากแบรนด์ไม่ติดอาวุธการตลาดด้วยเทคโนโลยี ไม่เพียงแค่ตกขบวนไปแล้ว แต่อาจก้าวไม่ทันการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วย
อจ. มิ้นท์ กล่าวว่า MarTech คือเทรนด์ที่มาต่อยอดจากที่ผู้ประกอบการ นักการตลาดใช้ฐานข้อมูล (Data) ผสานกับแพลตฟอร์มออนไลน์ทุกช่องทาง หรือเรียกว่า POSE ซึ่งประกอบด้วย 1.การซื้อโฆษณาสร้างการรับรู้แบรนด์ (Paid Media) ที่ต้นทุนโฆษณาออนไลน์มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นทุกปี 2. การเก็บข้อมูลเป็นของตัวเอง (Owned Data) จากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทั้งเว็บไซต์ เพจฯ เนื่องจากข้อมูลเปรียบเสมือนน้ำมันสำหรับขับเคลื่อนธุรกิจ 3. การแบ่งปันเรื่องราว (Share) พฤติกรรมผู้บริโภคดิจิทัล มีการโพสต์ คอมเมนต์ บอกต่อเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ทั้งดีและไม่ดี และ 4. ชิงมูลค่าสื่อฟรี (Earned Media) สิ่งที่ผู้บริโภคชื่นชมแบรนด์และมีการกล่าวถึงบนโลกออนไลน์ถือเป็นกระบอกเสียงให้แบรนด์ (Brand advocacy) ทำให้ได้มูลค่าสื่อฟรีๆ
ในปี 2565 หากแบรนด์ต้องการติดอาวุธหรือนำเทคโนโลยีผสมผสานเพื่อเพิ่มพลังทางการตลาด จะต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา (Pain Point) ของแบรนด์หรือสินค้าคืออะไร แล้วใช้ MarTech ไปแก้ไข อีกมิติแบรนด์ต้องการเพิ่ม (Gain) ความสุขอะไรให้กับผู้บริโภค ตลอดจนการพิจารณาเป้าหมายระยะสั้นระยะยาวคืออะไร เพื่อใช้ MarTech ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
“MarTech คือการนำเทคโนโลยีมาติดอาวุธทางการตลาด เพื่อช่วยให้ลูกค้าทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งฟังเสียงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์หรือ Social Listening ที่พูดถึงแบรนด์ทั้งเชิงบวกและลบ เชิงบวกทราบความต้องการเพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและแคมเปญการตลาดให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย เชิงลบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดดราม่าหรือวิกฤตต่อแบรนด์ MarTecg ยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลตอบแทนให้ธุรกิจได้ด้วย เช่น การยิงโฆษณาออนไลน์ เพราะสามารถวัดผลความคุ้มค่าของเม็ดเงินที่ใช้จ่าย (ROAS: Return On Ad Spend) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทั้งเฟซบุ๊ก TikTok ยูทูป ทวิตเตอร์ เป็นต้น”
ขณะที่เรียล สมาร์ท เป็นผู้ให้บริการ MarTech ที่มีบริการหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น ด้านบริการตลาดเชิงรุก คิดแผนวางกลยุทธ์สื่อสารการตลาดดิจิทัล สร้างสรรค์คอนเทนท์ ซื้อสื่อโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ให้ลูกค้ามากที่สุด รับฟังเสียงผู้บริโภคผ่านบริการ Real Listening เพื่อเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของแบรนด์ ตลอดจน การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ (Data Analytics) เพื่อพัฒนาต่อยอดสร้างการเติบโตให้แบรนด์ การวิจัยตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค มี Smart Academy ที่ช่วยอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการตลาด การทำตลาดออนไลน์ และมีทีมงานพร้อมเสริมทัพแก่ลูกค้าในการทำตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น
“การทำตลาดในยุคดิจิทัลมีความท้าทายมากขึ้น เพราะบริบทต่างๆ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการทำตลาดในยุคดิจิทัล เปรียบเสมือนแบรนด์เข้าสู่สมรภูมิรบ อาวุธสำคัญยุคนี้ไม่ใช่มีด ดาบ แต่เป็นอาวุธทางเทคโนโลยีเหมือนปืนเลเซอร์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเจาะกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ รวดเร็ว” อุกฤษฎ์สรุป
ติดตามความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมได้ที่ www.realsmart.co.th
หรือ facebook.com/realsmart.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น