กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2564 – สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) (Electronic Transactions Development Agency) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดงาน “ETDA สู่ปีที่ 11 ก้าวสำคัญ ยกระดับชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” เปิดผลงานเด่น ความสำเร็จในการขับเคลื่อนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศในรอบปี 2564 พร้อมปรับโฉมเปิดตัวโลโก้ใหม่ ก้าวสำคัญ ปี 65 “ยกระดับชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” เร่งเครื่อง 4 งานสำคัญ กำกับดูแล Digital Service, ร่วมผลักดัน Digital ID, ส่งเสริม ร่วมสร้างนวัตกรรมที่น่าเชื่อถือด้วย ETDA Sandbox และขยายความร่วมมือสร้างโอกาสก้าวสู่โลกออนไลน์ที่ทุกคนมั่นใจ
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประธานในพิธี กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ พร้อมด้วยหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ETDA หน่วยงานที่มุ่งยกระดับชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านการดำเนินงานที่ส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ จึงเดินหน้าขับเคลื่อนงานสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้คนไทย มีการทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเชื่อมั่น เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ สะท้อนให้เห็นจากตัวเลขล่าสุด จากการสำรวจมูลค่าอีคอมเมิร์ซของไทย ที่สำรวจโดย ETDA ที่ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2564 นี้ มูลค่าอีคอมเมิร์ซของไทยจะมีแนวโน้มการเติบโตสูงถึง 4.01 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 6.11% จากปี 2563 อันเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลได้มุ่งส่งเสริมและผลักดันในการวางสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นในการใช้งาน ทุกที่ ทุกเวลา มาอย่างต่อเนื่อง
นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า จากแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564-2565 กรอบในการขับเคลื่อนการทำธุรกรรมออนไลน์ไทย มีเป้าหมายหลักคือ ประเทศไทยจะต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมออนไลน์ ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทุกเวลา ตลอดจนรองรับโลกแห่งอนาคต ดังนั้น ETDA ในฐานะองค์กร ที่มุ่งยกระดับชีวิตคนไทยด้วยดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับชีวิตคนไทยให้โกออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมา อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปี 2564 ที่ ETDA ได้เดินหน้าขับเคลื่อนงานสำคัญใน 3 มิติ ดังนี้
· มิติที่ 1 กำหนดทิศทาง นำการขับเคลื่อนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ (NATIONAL POLICY) ผ่านการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564-2565
ที่มี 4 โปรแกรมเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนธุรกรรมออนไลน์ของไทย รวมถึงการต่อยอดสู่ (ร่าง) แผนพัฒนามาตรฐานดิจิทัล พ.ศ. 2566-2570 ทิศทางการกำหนดมาตรฐานดิจิทัลไทยให้สอดคล้องมาตรฐานสากล เพื่อให้ทุกภาคส่วนกำหนดมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกัน ตลอดจนกรอบแนวทางการพัฒนาบริการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID framework) ให้เป็นก้าวสำคัญสู่โลกดิจิทัลอย่างมั่นใจ
· มิติที่ 2 ผลักดันกลไกการดูแล ยกระดับธุรกิจ บริการดิจิทัลที่สำคัญ (DIGITAL SERVICE) ผ่านการฉายภาพ Digital Service Landscape ไทย ว่าปัจจุบัน ETDA มีบริการดิจิทัลที่สำคัญและจำเป็นอะไรบ้าง
สู่ Co-Creation Regulator ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง สู่การผลักดัน (ร่าง) พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .... ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เพื่อสร้าง
ความโปร่งใส ความเป็นธรรมและความน่าเชื่อถือในการให้บริการ ที่ล่าสุด ผ่านมติในที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรียบร้อยแล้ว ทั้งยัง ลดข้อจำกัด Work from Home ด้วยการสร้าง Guideline การจัดการประชุมออนไลน์ (e-Meeting), การลงคะแนนเสียงทางออนไลน์ (e-Voting), การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ที่มั่นคงปลอดภัย กฎหมายรองรับให้เลือกใช้งาน อีกทั้งมุ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนดำเนินงาน ด้วย e-Office โดยเป็นหน่วยงานนำร่องใช้งาน e-Saraban ก่อนขยายผลไปยังหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลฯ 5 หน่วยงาน และยกระดับงานเอกสารภาครัฐสู่ e-Document แล้วกว่า 38 หน่วยงานร่วมกับพาร์ตเนอร์บริษัทเทคโนโลยี ยกระดับการทำงานและการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านโครงการ e-Solution: Opportunity Enabler for SMEs ที่ปูพื้นฐานความรู้ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านการทำงาน และเปิดเวที Hackathon เฟ้นหานวัตกรรม ด้าน e-Office เพื่อ SMEs ไทย ทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้ Digital Service ด้วยกลไก ETDA Sandbox ทดสอบนวัตกรรมเพื่อให้เกิด Guarantee ก่อนให้บริการจริง พร้อมปรับหลักเกณฑ์การเข้าสู่สนามทดสอบใหม่ ไม่จำกัดแค่รัฐ-เอกชน ไม่จำกัดรอบการสมัคร เน้นร่วมสร้างนวัตกรรม
· มิติที่ 3 ยกระดับคนไทย พร้อมรับรองภาคธุรกิจ-ธุรกรรมออนไลน์ (HUMAN DEVELOPMENT) ด้วยการพัฒนา Workforce ด้าน e-Transaction & e-Commerce แก่คนทุกกลุ่ม รองรับตลาดยุคดิจิทัล อาทิ สร้างคนรุ่นใหม่สู่การเป็น “โค้ชดิจิทัลชุมชน” เพื่อขยายฐานสร้างเครือข่ายเทรนเนอร์ (Trainer) ครอบคลุมพื้นที่ 4 ภูมิภาคแล้วกว่า 1,899 คน ส่งเสริมคนไทยสู่พลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ รู้เท่าทันภัยออนไลน์ ภายใต้โครงการ Internet For Better Life อาทิ สื่อเรียนรู้ (การ์ตูน หนังสั้น) ชุด วัยเก่าวัยใสฉลาด รู้เน็ต หลักสูตร “Digital Citizen” เปิดช่อง คุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ ผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 OCC ที่นำเทคโนโลยี Social Listening มาช่วยวิเคราะห์ ฟังเสียงสะท้อนของผู้บริโภค พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ส่งต่อความช่วยเหลือคุ้มครอง แก้ไขปัญหาไปแล้วกว่า 85% จากจำนวนเคสทั้งหมดสะท้อนภาพอนาคต ผ่านการสำรวจและวิจัยด้าน e-Transactions & e-Commerce เช่น IUB, e-Commerce Survey, Mini Hot Issue และ International Ranking ถอดบทเรียนจากเวทีระหว่างประเทศให้ภาคส่วนต่างๆ มีฐานข้อมูลไปกำหนดนโยบาย วางแผนการทำธุรกิจและการตลาด
สำหรับก้าวต่อไปในปี 2565 เนื่องในโอกาสก้าวสู่ปีที่ 11 ETDA ได้ปรับโฉมภาพลักษณ์องค์กร พัฒนาโลโก้ใหม่ให้สอดคล้องกับบทบาท ภารกิจที่มุ่งยกระดับชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการทำธุรกรรมออนไลน์ พร้อมเดินหน้าสานต่องานปี 2564 ที่จะยกระดับงานให้เข้มข้นมากขึ้น เพื่อผลักดันให้เทคโนโลยีดิจิทัลนำชีวิตทุกคนเติบโตก้าวไปข้างหน้าและดีขึ้นกว่าที่เคยเป็น โดยเฉพาะใน 4 งานที่ ETDA ให้ความสำคัญ ได้แก่ 1. กำกับและดูแลธุรกิจบริการดิจิทัล (Digital Service) เดินหน้าผลักดันให้เกิดการบังคับใช้ (ร่าง) พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. ... ลดความทับซ้อนการกำกับดูแล ด้วยการสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน regulator ที่สำคัญ ทั้งยังเดินหน้าเตรียมความพร้อมสร้างกรอบในการพัฒนากระบวนการกำกับดูแลที่ใช้งานได้จริง 2. สร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมฯ ด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) โดยการสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ Digital ID ผ่าน Campaign “MeID” สู่การผลักดันเกิดการใช้งานจริงอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยนวัตกรรมที่ผ่านการทดสอบจาก ETDA Sandbox รวมถึงผลักดันให้หน่วยงาน Regulator เดินหน้าขับเคลื่อนงานด้าน Digital ID ไป ในทิศทางเดียวกันผ่าน Digital ID framework
3. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้นวัตกรรม ผ่านสนามทดสอบ ETDA Sandbox ที่ปรับบทบาทสู่การเป็นCo-sandbox ผสานความร่วมมือทดสอบนวัตกรรมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อยอดขอบเขตการทดสอบนวัตกรรมที่ครอบคลุมนวัตกรรมในกลุ่ม Health Tech และ AI ผลักดันการดำเนินงานที่สอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลในการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลด้วยใบหน้า (Face Verification System: FVS) 4. ขยายความร่วมมือสร้างโอกาสเพื่อร่วมแก้ Pain point ของสังคม ก้าวสู่โลกดิจิทัลที่ทุกคนมั่นใจ ผ่านการเร่งสร้างบริการดิจิทัลให้เกิดขึ้นในภาครัฐ อาทิ สนับสนุนให้เกิดการใช้งาน Digital Signature ในกระทรวงฯ ขยายระบบ e-Saraban ไปยังหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันมากขึ้น พร้อมสนับสนุน SMEs ให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ เพิ่มการใช้งานนวัตกรรมด้าน e-Office พัฒนากระบวนการทำธุรกิจ รวมถึงการยกระดับคนในชุมชนอย่างเต็มรูปแบบ ที่พร้อมไปด้วยคู่มือหลักสูตรต่างๆ ที่ทุกคนเข้าถึงได้ เดินหน้าสร้างความตระหนักรู้ ผลักดันให้เกิดการนำหลักสูตรและคู่มือ Digital Citizen เพื่อสร้างฐานพลเมืองดิจิทัลคุณภาพ สู่การเป็น Trainer ส่งต่อความรู้ พร้อมยกระดับคุ้มครองผู้บริโภคกับการทำงานเชิงรุก และขยายเครือข่ายความร่วมมือเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนผ่านหน่วยงานสถิติในแต่ละจังหวัด เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น