“บ้าน” ไม่ว่าจะถูกสร้างให้แข็งแรงเพียงใด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ย่อมต้องเสื่อมโทรมตามกาลเวลา เจ้าของบ้านจึงควรตรวจสอบสุขภาพของตัวบ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน และลดการเกิดปัญหาบานปลายในอนาคต โดยการตรวจสอบสุขภาพของบ้านจะแบ่งตามช่วงอายุของบ้าน ดังนี้
๐ บ้านที่มีอายุ 0-5 ปี ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักเกิดจากความบกพร่องของการก่อสร้าง เรียกว่า Defect อาทิ การแตกร้าวของผนังจากการฉาบ หรือเลือกใช้ปูนฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือความบกพร่องของอุปกรณ์ภายในบ้านที่มาจากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ อาจพบปัญหาดินรอบบ้านทรุดตัว จนเกิดโพรงใต้บ้าน ซึ่งหากเป็นบ้านในโครงการและอยู่ในช่วงรับประกัน ให้สอบถามทางโครงการว่าปัญหานี้อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันหรือไม่ แต่หากเป็นบ้านสั่งสร้างก็อาจจะพิจารณาซ่อมแซมเป็นจุด ๆ ไป
รายละเอียดบริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน
https://bit.ly/3k43G3N
รายละเอียดบริการออกแบบภูมิทัศน์ จัดวางองค์ประกอบสวน
https://bit.ly/2Yi7gQ4
๐ บ้านที่มีอายุ 5-15 ปี เป็นช่วงเวลาควรเริ่มทำการตรวจสอบและบำรุงรักษา ซึ่งหากแก้ไขได้ทันจะช่วยลดการเกิดปัญหาที่อาจบานปลายในอนาคตได้ โดยเน้นตรวจ 3 จุดสำคัญ ได้แก่ ภายนอกบ้าน, ภายในบ้าน และโครงสร้างของบ้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การตรวจสอบพื้นที่ภายนอกบ้าน
1.1 รอยร้าวที่ผนังบ้าน
การตรวจสอบ: สามารถตรวจสอบได้ด้วยตา โดยจะเห็นรอยร้าวขนาดเล็กแตกยาวไปมาแบบไร้ทิศทาง สร้างความเสียหายให้ผนังและสีภายนอก โดยเฉพาะทิศที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน เช่น ทิศใต้ และทิศตะวันตก รอยร้าวชนิดนี้ไม่อันตราย ไม่ส่งผลกับโครงสร้างอาคาร แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่วซึมของน้ำฝนเข้าสู่อาคารได้
การแก้ไข: แก้ไขได้โดยแต่งรอยแตกร้าวให้กว้างขึ้นเล็กน้อยเป็นรูปตัววี พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย หลังจากนั้นทำการทารองพื้นปูนเก่า และเก็บรอยร้าวด้วยวัสดุอุดโป้วที่มีความยืดหยุ่นสูง ก่อนทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตามระบบการทาสีที่ถูกต้อง แต่หากเป็นรอยเพียงเท่าเส้นผมให้ทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตัวสูงทาทับปิดรอยแตกร้าวได้เลย
บริการทาสีบ้าน อาคารทั้งภายในและภายนอก แบบครบวงจร
https://bit.ly/31urTK5
1.2 การรั่วซึมที่ผนัง
การตรวจสอบ: รอยรั่วบริเวณมุมประตูหน้าต่างมักมาพร้อมรอยแตกร้าวบริเวณมุมวงกบ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน อาจเกิดจากไม่ได้ใส่ลวดกรงไก่ จึงสร้างรอยร้าวเวลาใช้งานประตูหรือหน้าต่าง
การแก้ไข: ควรใส่ลวดกรงไก่เพื่อป้องกันรอยแตกร้าวอันเป็นสาเหตุรั่วซึม
รายละเอียดบริการติดตั้งประตู หน้าต่าง
https://bit.ly/3COPtin
1.3 รอยรั่วบริเวณรอยต่อผนังชนท้องคาน
การตรวจสอบ: แตกร้าวเป็นเส้นระหว่างใต้คานกับผนัง ทำให้น้ำฝนไหลเข้าตัวบ้าน สาเหตุมักเกิดตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง การผิดขั้นตอน หรือเร่งฉาบปูนเร็วเกินไป ทำให้ปูนเกิดการหดตัวลง
การแก้ไข: ใช้ซิลิโคน หรืออครีลิกยิงเข้าไประหว่างร่อง ความยืดหยุ่นของสารเชื่อมประสานจะช่วยอุดรอยร้าวได้
รายละเอียดซิลิโคน
https://bit.ly/30uubbA
1.4 รอยรั่วบริเวณรอยต่อแนวดิ่งข้างเสา สาเหตุอาจเกิดจากการเก็บงานรอยต่อจุดนี้ไม่ดี หรือร้ายแรงหน่อยคือ ไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งระหว่างเสากับผนังบ้าน
การแก้ไข: สกัดรอยแตกร้าวให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปตัววี จากนั้นยาด้วย PU แล้วทาสีเก็บความเรียบร้อย และควรใส่เหล็กหนวดกุ้งทุกครั้งในการก่อผนังชนเสา
1.5 การทรุดตัวของดินและพื้นรอบบ้าน
การตรวจสอบ: หลังจากที่พบการทรุดตัวของดินรอบบ้านในช่วง 5 ปีแล้วนั้น ปัญหาที่มักตามมาคือ ปัญหาพื้นรอบบ้านและพื้นจอดรถมีการทรุดตัวเสียหาย เป็นเพราะพื้นส่วนนี้ส่วนใหญ่มักไม่ได้ทำการลงเสาเข็ม หรือเป็นการลงเสาเข็มแบบสั้นที่อาศัยแรงฝืดในชั้นดินช่วยพยุงน้ำหนักของพื้นไว้ และเมื่อเวลาผ่านไปพื้นดินมีการทรุดตัวตามธรรมชาติ ทำให้เกิดความเสียหายตามมา โดยหากหากเป็นพื้นคอนกรีตจะเริ่มจากการสังเกตเห็นว่ามีระดับที่เอียงผิดปกติ และหากมีการทรุดมากขึ้น จะเห็นรอยแตกร้าวบริเวณพื้นตามมา การแก้ไข : หากเป็นพื้นจอดรถควรทำการลงเข็ม เพื่อช่วยลดการทรุดตัวในอนาคต และควรแยกขาดจากตัวบ้านเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในกรณีที่มีการขยับตัวของโครงสร้าง
รายละเอียดบริการตอกและติดตั้งเสาเข็ม แบบครบวงจร
https://bit.ly/3q5srAd
1.6 ตรวจสอบหลังคาเพื่อป้องกันสัตว์เล็ก ปัญหาสัตว์เล็กทำลายหลังคา ทั้งกัดกินโครงสร้างและเข้ามาทำรัง ซึ่งสัตว์เล็กๆ เหล่านี้คือตัวการที่ทำให้หลังคาบ้านโดนทำลาย ผุพังง่าย ก่อความรำคาญทั้งกลิ่นและเสียง รวมถึงทำให้บ้านสกปรก
การตรวจสอบ: ครอบข้าง อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง, สันหลังคา ไม่ชำรุด เเตกร้าว, เชิงชายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่แตกหัก, สันตะเข้ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง, ครอบปิดปลายสันตะเข้ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง และ ฝ้าชายคา ไม่ชำรุด เเตกหักเสียหาย
การแก้ไข: ติดตั้งระบบหลังคากันสัตว์เล็ก SCG เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ต่างๆ เข้ามาทำลายโครงสร้างหลังคาหรือเข้ามาอยู่อาศัยได้ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 5 ชนิด ช่วยป้องกันจุดเสี่ยง 5 จุดด้วยกัน ได้แก่ แผ่นปิดครอบข้าง แผ่นปิดครอบสันหลังคา แผ่นปิดเชิงชาย แผ่นปิดครอบสันตะเข้ แผ่นปิดปลายสันตะเข้
รายละเอียดบริการติดตั้งระบบหลังคากันสัตว์เล็ก SCG
https://bit.ly/2ZXSkqX
1.7 การรั่วซึมที่หลังคา
การตรวจสอบ: สังเกตรูปทรงหลังคาว่าได้ระดับ มีความสมมาตรดีหรือไม่ กระเบื้องมุงหลังคาติดตั้งได้แนว ไม่เผยอ ไม่มีรอยแตกร้าว, ครอบหลังคาทั้งแนวสันหลังคาและตะเข้สันปิดมิดชิด ถ้าครอบเปียกให้สังเกตว่าปูนใต้ครอบมีรอยร้าวหรือไม่ เพราะเป็นจุดที่น้ำซึมผ่านได้, มองหาคราบน้ำบนฝ้าชายคาว่ามีหรือไม่ และลองเปิดฝ้าเพดานชั้นบนแล้วสังเกตดูว่ามีช่องของแสง หรือคราบน้ำในโถงหลังคาหรือไม่
การแก้ไข: ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและซ่อมหลังคาตามมาตฐานการติดตั้งของประเภทหลังคา ชนิดนั้น ๆ
รายละเอียดบริการปรับปรุง ซ่อมแซมหลังคาบ้าน
https://bit.ly/3bHpFIY
2. การตรวจสอบพื้นที่ภายในบ้าน
2.1 พื้นไม้กับปัญหาเรื่องปลวก ตรวจสอบพื้นไม้ภายในบ้านว่ายังใช้งานได้ดี มีปัญหาเรื่องปลวกหรือไม่
การตรวจสอบ: ตรวจพบมีรอยทางเดินปลวกภายในบ้าน, ตรวจพบเศษปีกหรือมูลของแมลงเม่าภายในตัวบ้าน, ประตูหน้าต่างที่เป็นไม้เมื่อใช้งานเริ่มฝืดและเปิดยากขึ้น และได้ยินเสียงปลวกที่กำลังกินไม้อยู่
การแก้ไข: ควรเรียกบริษัทกำจัดปลวกมาทำการฉีดพ่นน้ำยาทั้งภายนอกและภายในบ้าน ทุก 1-3 ปี หรือ เลือกใช้วิธีเพาะเชื้อ เพื่อความปลอดภัยกับสุขภาพของผู้อยู่อาศัย
รายละเอียดบริการกำจัดปลวก
https://bit.ly/31iYLoT
รายละเอียดบริการติดตั้งพื้นภายในบ้าน
https://bit.ly/3bLUImV
2.2 พื้นกระเบื้องเซรามิค พื้นกระเบื้องเมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจเกิดปัญหากระเบื้องหลุดร่อน หรือยาแนวหลุดวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นสามารถทำการแก้ไขเป็นจุด ๆ ได้ แต่แนะนำว่าให้เตรียมซื้อกระเบื้องเซรามิคในเฉดสีเดียวกันสำรองไว้ เผื่อต้องการปรับปรุงหรือซ่อมแซมในบางจุด เพราะหากดำเนินการซื้อภายหลังอาจทำให้เฉดสีกระเบื้องแตกต่างกันได้ หรือบางรุ่นอาจไม่ทำการผลิตแล้ว
3. การตรวจสอบโครงสร้างของบ้าน
รอยแตกร้าวที่อันตรายกับโครงสร้าง จะมีรูปแบบรอยแตกร้าวที่มีขนาดใหญ่ ในตำแหน่งโครงสร้าง เช่น เสา คาน พื้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างของบ้านอาจมีปัญหา และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย
การตรวจสอบ: พบรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งเสา คาน พื้น ร้ายแรงหน่อยอาจเห็นเหล็กเสริมภายในโครงสร้าง, พบรอยแตกร้าวหรือรอยแตกเฉียง 45 องศาที่ผนัง, พบรอยแยกแตกแยกระหว่างโครงสร้างบ้านเดิมกับส่วนต่อเติม, พบเหล็กเส้นที่ตำแหน่งท้องพื้นชั้นดาดฟ้า และพบการล้มเอียงของพื้น หรือผนังของตัวบ้าน
การแก้ไข: แนะนำให้ปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อทำการแก้ไข
ลงทะเบียนปรึกษาเรื่องการทำบ้านกับผู้เชี่ยวชาญของ เอสซีจี โฮม ได้ที่ https://bit.ly/3wiVAsL
เพื่อให้ “บ้าน” อยู่สบาย และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามบานปลายในอนาคต จึงควรหมั่นตรวจสอบบำรุงรักษา “บ้าน” อยู่เสมอ ซึ่งทาง เอสซีจี โฮม มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและพร้อมให้บริการเกี่ยวกับการสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม และต่อเติมบ้าน โดยลูกค้าสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้ที่ ร้านเอสซีจี โฮม ทั่วประเทศ (ค้นหาสาขาร้านเอสซีจี โฮม : https://scghome.com/storehและลงทะเบียนปรึกษาเรื่องการทำบ้านกับผู้เชี่ยวชาญของ เอสซีจี โฮม ได้ที่ https://bit.ly/3wiVAsL สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SCG HOME Contact Center โทร 02-586-2222
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น