กรุงเทพฯ; 29 พฤศจิกายน 2564 — รายงานฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) วิเคราะห์เจาะลึกด้านการปรั
รายงานเรื่อง “The Future of Banking: It’s time for a change of perspective” มองอนาคตของธุรกิจการธนาคารด้ วยการวิเคราะห์โมเดลธุรกิ จของธนาคารชั้นนำร่วม 100 แห่งที่ดำเนินธุรกิจในแบบเดิม และผู้ให้บริการแบบดิจิทัลอย่ างเดียวกว่า 200 แห่งใน 11 ประเทศ ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียแปซิฟิก และละตินอเมริกา โดยศึกษาบทบาทของกิจการเหล่านี้ ในวงจรห่วงโซ่คุณค่าของอุ ตสาหกรรม ซึ่งสามารถแบ่งประเภทโมเดลธุรกิ จออกมาได้ 2 รูปแบบ ดังนี้:
- ขยายตัวในแนวดิ่ง (vertically integrated) — โมเดลธุรกิจเชิงเส้นแบบดั้งเดิม เช่น ธุรกิจที่ขายเฉพาะผลิตภัณฑ์
ของตนเอง นำผลิตภัณฑ์ของคนอื่นไปจัดจำหน่ าย หรือกิจการที่ให้บริการแก่บริษั ทอื่นในด้านเทคโนโลยีหรื อกระบวนการทางธุรกิจ เป็นต้น - ขยายตัวนอกระบบเชิงเส้น (non-linear) — โมเดลธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น “การจัดรวมสินค้าและบริการเป็
นแพคเกจ (packager)” โดยประกอบคุณค่าใหม่ เพิ่มมูลค่าเข้าไปมากกว่าการจั ดจำหน่าย และเป็นกิจการที่ผนวกคุณค่าเข้ าไปให้ครอบคลุมถึงบริ การจากภายนอกด้วย เช่น บริการ "ซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง" โดยรวมไว้ที่จุดขายของผู้ขายเลย
รายงานฉบับนี้ได้ศึกษาวิเคราะห์ ธนาคารชั้นนำหลายแห่งซึ่งมี โมเดลธุรกิจในลักษณะการขยายตั วแนวดิ่ง พบว่ากิจการที่ไม่นำผลิตภัณฑ์ เดิมมารวมไว้ แต่ได้ผสานความร่วมมือกับกิ จการอื่นเพื่อสร้างสรรค์สิ่ งใหม่และนำเสนอได้ตรงใจลูกค้ ารายบุคคล จะสามารถเติบโตเกินขีดจำกั ดและมีมูลค่าสูงกว่าที่ ตลาดประเมิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากใช้โมเดลธุรกิจแบบขยายตั วนอกระบบเชิงเส้น ซ้อนไปบนโมเดลธุรกิจเดิมที่ ขยายตัวในแนวดิ่ง จะยิ่งผลักดันการเติบโตของธุรกิ จให้ขยายตัวได้อีก 3.8% ต่อปี ส่งผลให้รายรับรวมเพิ่มขึ้นได้ อีก 5.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2025
นายวิชยา แซ่จาว กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจงานบริการทางด้านการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า "หากมองภาพรวมทั่วไป อุตสาหกรรมการธนาคารอาจจะดูแข็งแกร่ง เพราะว่าธนาคารมีขนาดใหญ่ มีรายรับและผลกำไรที่ดีมาก แต่เมื่อมองดูใกล้ๆ จะเห็นว่าได้รับผลกระทบทั้งจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ ค่าธรรมเนียมหดตัวจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันในตลาด สัดส่วนของธุรกิจธนาคารเมื่อเทียบต่อจีดีพี จึงค่อยๆ ลดลง ทั้งนี้ ในหลายตลาด รายได้จากธุรกิจการธนาคารและการชำระเงิน กำลังไหลออกจากลุ่มผู้ประกอบการเดิมไปสู่ผู้ประกอบการใหม่ที่เข้ามาในตลาด ดังนั้น ถ้าจะพลิกเกมการเติบโตอีกครั้ง ธนาคารแบบดั้งเดิมจะต้องปรับมุมมองใหม่เกี่ยวกับวิธีการสร้างและส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่น่าดึงดูด โดยเน้นให้ตอบโจทย์ความสนใจของลูกค้า ขณะเดียวกันก็ต้องทบทวนโมเดลการขยายธุรกิจในแนวดิ่งกันใหม่ด้วย”
รายงานระบุว่าระหว่างปี 2018 ถึง 2020 ผู้ให้บริการด้านดิจิทั ลอย่างเดียว สามารถทำผลประกอบการได้ดีกว่ าธนาคารแบบดั้งเดิมมาก โดยกิจการที่ใช้โมเดลการขยายตั วนอกระบบเชิงเส้น จะมีรายได้โตขึ้นเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ถึง 76% ขณะที่กิจการด้านดิจิทัลอื่นที่ เดินตามโมเดลการขยายตัวแนวดิ่ งแบบเดิม จะเติบโตเพียง 44% ส่วนธนาคารแบบดั้งเดิมที่ ทำผลประกอบการดีที่สุดในตลาดที่ โตเต็มที่แล้ว จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ เฉลี่ยน้อยกว่า 2% ต่อปี แม้จะมีฐานธุรกิจที่ใหญ่กว่ ามากก็ตาม
รายงานฉบับนี้ ได้ระบุถึงวิธีที่ธนาคารแบบดั้ งเดิมจะสามารถนำจุดแข็งมาเสริ มความแกร่งได้ ทั้งด้านงบดุล ความชำนาญในการบริหารความเสี่ยง และความคุ้นเคยกับกฎระเบียบต่ างๆ ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยเพิ่ มความยืดหยุ่นให้กับโมเดลธุรกิ จและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และที่สำคัญ ควรพิจารณานำโมเดลเหล่านี้มาใช้ กับหนึ่งรูปแบบหรือผสมผสานกัน เช่น:
- ขายเฉพาะผลิตภัณฑ์
ของธนาคารและกำกับทุกขั้ นตอนของห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การผลิตไปจนถึง
การจัดจำหน่าย โดยมีปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนคุณค่าคือ การผนึกกำลังผ่าน M&A (การควบรวมกิจการ) และได้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่ม - สร้างระบบนิเวศที่มีการกระจายสิ
นค้าเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทางการเงินและการธนาคารของบริษั ทอื่นๆ และสร้างตลาดเพื่อจำหน่ายผลิตภั ณฑ์อื่นที่ไม่เกี่ยวกั บการธนาคาร - หาโอกาสการขยายตลาด โดยให้บริการด้านเทคโนโลยีหรื
อกระบวนการทางธุรกิจแก่บริษัทอื่ นๆ - สร้างสรรค์คุณค่าใหม่ โดยการสร้างหรือรวมกลุ่มผลิตภั
ณฑ์และบริการย่อยเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งธนาคารหรือธุรกิจอื่ นสามารถจัดจำหน่ายได้
“การนำเทคโนโลยีทางด้านดิจิทั ลมาใช้ ไม่ใช่กลยุทธ์ที่สร้างความแตกต่ างอีกต่อไป ดังนั้น หากต้องการสร้างการเติบโต ธนาคารแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องก้ าวไปให้ไกลกว่าให้บริการที่ดีที่ สุดแบบเดิมบนระบบดิจิทัลเท่านั้ น แต่ต้องปรับตัว และใช้หลายๆ โมเดลธุรกิจในเวลาเดียวกัน ต้องเปลี่ยนมุมมอง นำโมเดลที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ ยนได้มาใช้ เน้นโมเดลที่ให้ความสำคัญกั บการสร้างสรรค์นวัตกรรมในผลิตภั ณฑ์ การกระจายสินค้าแบบเบ็ดเสร็จ รวมถึงเจตนารมณ์ขององค์ กรและความยั่งยืน ซึ่งธนาคารสามารถเลือกต่อยอดนวั ตกรรมไปตามจังหวะปัจจุบั นของตนเอง จะใช้แนวทางของการเป็นผู้ตามที่ ฉับไว (fast follower) หรือจะเป็นผู้นำในการปรั บโมเดลธุรกิจ แล้วแต่จะเลือก แต่ที่สำคัญคือ ธนาคารไม่สามารถอยู่เฉยได้อีกต่ อไป” นายวิชยากล่าวสรุป
กลุ่มธุรกิจการให้บริการทางด้ านการเงิ นและการธนาคารของเอคเซนเชอร์ มีบทบาทช่วยให้ธนาคารเพื่ อการพาณิชย์และรายย่อยต่างๆ รวมทั้งผู้ให้บริการระบบชำระเงิ น สามารถยกระดับนวัตกรรม รับมือกับความท้าทายทางธุรกิจ เทคโนโลยี และกฎระเบียบต่างๆ พร้อมปรับปรุงประสิทธิ ภาพการดำเนินงาน เพื่อกระชับทั้งความเชื่อมั่ นและการมีส่วนร่วมกับลูกค้า ให้ธุรกิจเติบโตได้โดยมี ผลกำไรและมีความมั่นคงปลอดภั ยมากขึ้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่ มธุรกิจนี้ได้ที่ https://www.accenture.com/us- en/industries/banking-index
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น