ปัจจุบันที่การระบาดของเชื้อ COVID-19 ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทวีความรุนแรงและอันตรายมากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องดูแลตั
วเองและเด็กในครรภ์อย่างเคร่ งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะหากคุณแม่มีการติดเชื้อแล้ วนอกจากจะมีอาการรุนแรงมากกว่ าคนทั่วไปยังมีความเสี่ยงต่ อการเสียชีวิตอีกด้วย นายแพทย์ร่มไทร เลิศเพียรพิทยกุล แพทย์เวชศาสตร์
มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีการติ ดเชื้อ COVID-19 แล้วส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการ ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมักมี ภาวะอ้วน อายุมาก มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ เป็นต้น และมีโอกาส 2-5% ที่จะส่งต่อเชื้อไปยังเด็ กในครรภ์ได้ รวมถึงโอกาสเสี่ยงต่าง ๆ ทั้ง ครรภ์เป็นพิษ เลือดแข็งตัวผิดปกติ การคลอดก่อนกำหนดจนทำให้เด็กมี น้ำหนักตัวน้อยกว่ากว่าปกติได้ อีกด้วย เมื่อมีการติดเชื้อ COVID-19 คุณแม่จะมีไข้ ไอแห้ง ๆ มีอาการอ่อนเพลีย หายใจติดขัด เจ็บคอ ท้องเสีย สามารถรักษาได้ด้วยการให้สารน้ำ
เพื่อแก้ไขภาวะขาดสมดุลของเกลื อแร่ ให้ออกซิเจน ให้ยาต้านไวรัสในคุณแม่ตั้ งครรภ์ที่มีอาการปานกลางหรือรุ นแรง ใช้เครื่องช่วยหายใจกรณีที่ อาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับการประเมินโดยแพทย์ ข้อจำกัดในการรักษาคุณแม่ตั้ งครรภ์ที่ป่วย COVID-19 คือ การใช้ยาบางชนิดอาจมีผลต่ อทารกในครรภ์, การตรวจ X-Ray หรือ CT Scan มีผลทำให้ทารกได้รับปริมาณรังสี เพิ่มขึ้นด้วย, แม้ลูกมีโอกาสจะติดเชื้อ 2-5% และส่วนใหญ่ทารกแรกคลอดที่ติ ดเชื้อ จะมีอาการไม่รุนแรง แต่อาจส่งผลให้แพทย์ต้องพิ จารณาให้คลอดก่อนกำหนดในบางกรณี และคุณแม่ไม่สามารถนอนคว่ำเพื่ อรับออกซิเจนให้เพียงพอ จึงอาจต้องใส่เครื่องช่ วยหายใจเพื่อเพิ่มระดับการให้ ออกซิเจน คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้
อแล้วนั้นสามารถฝากครรภ์ได้ ตามปกติ แต่ในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ มากกว่า 32 สัปดาห์หรืออยู่ในกลุ่มครรภ์เสี่ ยงสูง มีโรคร่วมอย่างความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไทรอยด์ หัวใจ หอบหืด ปอดเรื้อรัง ไต ต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด ฝากครรภ์ตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง โดยนัดเวลาล่วงหน้าเพื่อให้ใช้ เวลาที่โรงพยาบาลน้อยที่สุด เลี่ยงการเดินทางโดยรถสาธารณะ ผู้ติดตามที่ไปด้วยต้องไม่เกิน 1 คน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ ออกนอกบ้าน ล้างมือให้บ่อย พกเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตั วตลอดเวลา เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้ อย 2 เมตรในทุกกิจกรรม กลับถึงบ้านล้างมือ ถอดหน้ากากทิ้งทันที เปลี่ยนเสื้อผ้า สังเกตความผิดปกติของการตั้ งครรภ์ เช่น บวม ลูกดิ้นน้อยลง มีเลือดออกทางช่องคลอด เจ็บครรภ์ น้ำเดิน หากมีอาการรีบพบแพทย์ทันที ในช่วง 3 - 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หากไม่มีการตรวจพิเศษอื่น ๆ อาจเลื่อนนัดได้ตามสถานการณ์ ในส่วนของการให้นมเมื่อมี การคลอดเด็กทารกแล้วนั้น จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานทางวิ ชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่ านทางน้ำนม ดังนั้นทารกสามารถกินนมแม่ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกั นการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด ในส่วนของคุณแม่ที่ติดเชื้อแต่ มีอาการไม่มากนัก สามารถกอดลูก ให้นมลูกได้ โดยสวมหน้ากากอนามัยและล้างมื อให้บ่อย กรณีที่มีอาการรุนแรง ได้รับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวี ยร์ (Favipiravir) และดารุนาเวียร์ (Darunavir) ไม่ควรให้นมลูก คุณแม่จำเป็นต้องดูแลตัวเองให้
ดีที่สุด พบแพทย์ตามนัดหมาย ฉีดวัคซีน COViD-19 เมื่ออายุครรภ์ครบ 3 เดือนหรือ 12 สัปดาห์ตามคำแนะนำของแพทย์ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือให้บ่อย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ที่สำคัญดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรง ไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป รับฟังข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ น่าเชื่อถือ และหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีการติ ดเชื้อจะต้องเข้ารับการรั กษาโดยเร็วที่สุด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719 หรือ แอดไลน์ @bangkokhospital
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น