กรุงเทพฯ ประเทศไทย - 24 มิถุนายน 2564 - การบริโภคไวน์พรีเมียมจากประเทศออสเตรเลียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ข้อมูลจากผลการรายงานของ IWSR สถาบันเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับโลกในปี 2563 แสดงให้เห็นว่าไวน์จากประเทศออสเตรเลียถูกนำเข้ามาจัดจำหน่ายเป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย1
Treasury Wine Estates (TWE) บริษัทไวน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เล็งเห็นถึงเทรนด์การเติบโตของการดื่มไวน์ในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยและตั้งมั่นที่จะส่งเสริมผู้บริโภคที่รักในการดื่มไวน์ให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์ในการดื่มไวน์ รวมถึงยกระดับประสบการณ์การดื่มไวน์ให้ดียิ่งขึ้น
ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยและความต้องการไวน์ออสเตรเลียที่เพิ่มสูงขึ้น
ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีมูลค่าการใช้จ่ายรวมในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีการเติบโตของการรับประทานอาหารแบบไฟน์ไดนิ่ง (Fine-dining) มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความนิยมของไวน์เกรดพรีเมียมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มตลาดผู้บริโภคชาวไทย2 ผลสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ยังชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีความท้าทายจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา แต่การทำกิจกรรมทางตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับประสบความสำเร็จอย่างมากในโลกออนไลน์3
สำหรับผู้บริโภคชาวไทย ไวน์ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความสำเร็จทางสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ และเครื่องเสริมฐานะทางสังคมและตัวบ่งชี้ความสุขุมรอบคอบในการใช้ชีวิต นอกจากนี้ ไวน์ออสเตรเลียเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยว่าเป็นไวน์ที่มีคุณภาพและราคาสมเหตุสมผล โดยเฉพาะในผู้บริโภคกลุ่มมิลเลเนียล ที่พร้อมจะจับจ่ายเงินจำนวนมากไปกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แม้ปีที่ผ่านมาจะเป็นปีที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากการต้องปิดหน้าร้านค้าปลีก แต่อัตราการบริโภคไวน์เกรดพรีเมียมของออสเตรเลียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยโดย4 TWE พบว่า5 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พรีเมียมที่บ้านเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในหมู่ผู้บริโภคชาวไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความสุขและความเพลิดเพลินในการดื่มไวน์ไปพร้อมกับมื้ออาหารง่ายๆ โดยที่ไม่ได้จำกัดแล้วว่าต้องดื่มไวน์ในโอกาสพิเศษเท่านั้น
โดยเห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจากเพนโฟลด์ (Penfolds) หนึ่งในแบรนด์จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ไวน์พรีเมียมที่มีความหลากหลายและโดดเด่นของ TWE ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย ความพยายามในการพัฒนาแบรนด์เพนโฟลด์ส่งผลให้ในปี 2563 เพนโฟลด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์และมีการซื้อซ้ำมากขึ้นถึง 60 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 25626
สิ่งที่เพนโฟลด์ทำควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการในการบริโภคไวน์ คือ การให้ความรู้กับผู้บริโภคในเรื่องรสชาติ ลำดับขั้น ความหลากหลาย ต้นกำเนิดของไวน์ รวมไปถึงกิจกรรมที่มักทำร่วมกับการดื่มไวน์เพื่อเพิ่มความชื่นชอบในแบรนด์ของผู้บริโภค รวมไปถึงเป็นการเน้นย้ำจุดยืนเรื่องความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมไวน์อีกด้วย
นายโยดีเซน มูตูซามี่ ผู้จัดการทั่วไปด้านฝ่ายขายระหว่างประเทศของเพนโฟลด์ กล่าวว่า “เพนโฟลด์เป็นหนึ่งในโรงบ่มไวน์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศออสเตรเลียและเป็นแบรนด์ไวน์ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย โดยเพนโฟลด์มีตัวเลือกหลากหลายสำหรับตลาดลักซูรีในประเทศไทย ไม่ว่าจะไว้สำหรับดื่มที่บ้านหรือที่ร้านอาหาร 5 ดาว และแม้ว่าจะพบเจอความท้าทายต่างๆ ในปีที่ผ่านมา แต่เพนโฟลด์ก็สามารถกลับมาฟื้นตัวได้และยังสามารถสร้างยอดขายจากเทศกาลลดราคาในปี 2563 ได้มากขึ้นกว่า 82 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562”
ในปัจจุบัน บริษัท Independent Wine & Spirit (IWS) เป็นผู้จัดจำหน่ายไวน์แบรนด์เพนโฟลด์ในประเทศไทย รวมไปถึงไวน์ออสเตรเลีย แบรนด์อื่นๆ อาทิ Wolf Blass (วูล์ฟ บลาสส์) Lindeman’s (ลินเดอแมนส์) Rawson’s (รอสันส์) Retreat (รีทรีท) Rothbury (รอธบิวรี) Seppelt (เซปเพลท์), 19 crimes (ไนน์ทีนไครมส์) รวมไปถึงแบรนด์ที่เป็นสากลนิยม อย่างเช่น Squealing Pig (สควีลลิ่ง พิ๊ก) Beringer (เบรินเจอร์) และ Matu (มาทู) นอกจากนี้ TWE ยังได้ขยายพอร์ตโฟลิโอในประเทศ โดยการนำเข้าไวน์เพิ่มขึ้นถึง 6 แบรนด์ ได้แก่ Wynns (วินส์) Stag’s Lead (แสต๊กส์ ลีด) Coldstream Hills (โคลด์สตรีม ฮิลล์) Devil’s Liar (เดวิล ไลเออร์) Leo Buring (ลีโอ เบอริ่ง) และ Pepperjack (เปปเปอร์แจ๊ค) โดยมีบริษัท Italasia Trading (อิตัลเอเชีย เทรดดิ้ง) เป็นตัวแทนจำหน่าย
และเพื่อเป็นการตอกย้ำประสบการณ์สุดพิเศษของเพนโฟลด์ TWE ได้ทำการจัด Virtual media briefing และ session การชิมไวน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 – 15.00 ผ่านโปรแกรม Zoom meeting
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น