1 มิถุนายน 2564 - การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก เปิดเผยรายงานในชื่อ Market Share: IT Services, Worldwide 20201 โดยระบุเกี่ยวกับส่วนแบ่งการตลาดบริการ IaaS (Infrastructure as a Service) ประจำปี พ.ศ. 2563 ว่าหัวเว่ยได้คว้าอันดับ 2 ในตลาดประเทศจีน อันดับ 3 ในตลาดประเทศไทย อันดับ 4 ในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอันดับ 5 ในตลาดโลก โดยในช่วงปีพ.ศ. 2562 – 2563 รายได้จากตลาดบริการ IaaS ของหัวเว่ยนั้นเติบโตเร็วที่สุดในตลาดโลกเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นที่ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน
HUAWEI CLOUD ได้ยกระดับเทคโนโลยี full-stack เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการคลาวด์แบบสาธารณะในด้านความเสถียร ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ความยั่งยืน รวมถึงการให้บริการโซลูชันของคลาวด์แบบไฮบริด โดยภายในปลายปี พ.ศ.2563 HUAWEI CLOUD ได้เปิดตัวการให้บริการคลาวด์กว่า 220 รูปแบบสำหรับในภาคอุตสาหกรรม 15 ชนิด และโซลูชันอื่น ๆ อีกมากกว่า 210 รูปแบบ นอกจากนี้ยังได้ร่วมงานกับพาร์ทเนอร์มากกว่า 20,000 ราย รวมถึงนักพัฒนาอีกกว่า 1.8 ล้านคน และยังได้เปิดตัวแอปพลิเคชันจำนวนมากกว่า 4,000 แอปพลิเคชันในตลาดคลาวด์อีกด้วย
โดยจำนวนรายได้ จำนวนผู้ใช้บริการที่จ่ายค่าบริการ และโครงสร้างพื้นฐานจาก HUAWEI CLOUD ต่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศจีน HUAWEI CLOUD ได้มอบการให้บริการในหลากหลายภาคอุตสากรรม ซึ่งรวมถึงการให้บริการในกระทรวงต่าง ๆ มากกว่า 30 แห่ง สาธารณูปโภคของรัฐบาลและประชาชนทั่วไปกว่า 600 แห่ง องค์กรด้านอินเทอร์เน็ตชั้นนำ 30 แห่งจากจำนวนทั้งหมด 50 แห่ง และองค์กรขนาดใหญ่ด้านยานยนต์อีกมากกว่า 30 แห่ง
นอกจากภายในประเทศจีนแล้ว HUAWEI CLOUD ยังได้เปิดศูนย์ข้อมูลคลาวด์ในประเทศสิงคโปร์ ไทย ฮ่องกง มาเลเซีย ชิลี บราซิล เม็กซิโก และเปรู โดยได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ต่าง ๆ เพื่อมอบการให้บริการใน 45 พื้นที่การให้บริการ ครอบคลุมทั่วทั้ง 23 ภูมิภาคทั่วโลก สำหรับองค์กรระดับนานาชาติ HUAWEI CLOUD ได้มอบการให้บริการคลาวด์พร้อมด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่มีเสถียรภาพ เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีความเสถียรให้แก่ผู้ใช้บริการทั่วโลกอย่างทั่วถึง
ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้คนมากมายหันมาซื้อของผ่านออนไลน์ โดยบนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซอย่าง Aladdin ได้มีผู้เข้าชมมากขึ้นกว่าร้อยเท่าในช่วงที่มีโปรโมชันพิเศษหรือลดราคา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการใช้งานมากเกินไปของเซิร์ฟเวอร์หรือแม้กระทั่งทำให้แพลตฟอร์มหยุดทำงาน HUAWEI CLOUD จึงได้ส่งมอบนโยบายปรับเปลี่ยนระดับการให้บริการเพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีโปรโมชันจำนวนมาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถส่งมอบการให้บริการที่เสถียร โดยทรัพยากรด้านการปฏิบัติการของ HUAWEI CLOUD สามารถเปิดหรือปิดได้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้บริการอย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านเซิร์ฟเวอร์ลงราว 20% พร้อมทั้งทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นผ่านบริการบนแพลตฟอร์มของ Aladdin อีกด้วย
นอกจากนี้ โซลูชันอัจฉริยะด้านสื่อของหัวเว่ยยังช่วยอำนวยความสะดวกด้านการผลิตและการเผยแพร่วิดีโอ โดย HUAWEI CLOUD ช่วยเร่งขั้นตอนการผลิตคอนเทนท์ประเภทวิดีโอได้อย่างครบวงจร ซึ่งประกอบไปด้วยการรวบรวมและถ่ายทอดสัญญาณวิดีโอ การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และการเผยแพร่วิดีโอ สำหรับด้านการรวบรวมสัญญาณ การเร่งความเร็วของฮาร์ดแวร์ที่ใช้อุปกรณ์ FPGA (Field Programmable Gate Array) เป็นพื้นฐาน จะช่วยลดการใช้แบนด์วิดท์ลงมากกว่า 30% และสำหรับการเผยแพร่วิดีโอ HUAWEI CLOUD CDN จะช่วยส่งมอบพื้นที่ครอบคลุมของการให้บริการที่กว้างขึ้น โซลูชันแบบ full-stack และเทคโนโลยี CDN ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วกว่า 100 ชนิดเพื่อพัฒนาการให้บริการที่ครอบคลุมถึง 99.99% และการเติบโตอย่างรวดเร็วของส่วนแบ่งตลาด HUAWEI CLOUD ในอุตสาหกรรมสื่อนี้เอง ที่เป็นแหล่งที่มาที่สำคัญของการเติบโตของ HUAWEI CLOUD ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
สำหรับเฟส 1.0 ของ เทคโนโลยี Cloud Native หรือเฟสที่รู้จักกันในชื่อว่า “ON Cloud” คือเฟสที่องค์กรต่าง ๆ เริ่มย้ายการให้บริการมาอยู่บนคลาวด์ ซึ่งทำให้การเดินระบบและการซ่อมบำรุง (Operation & Maintenance – O&M) การติดตั้ง และการปรับระดับสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากขนาดสถาปัตยกรรมที่มีขนาดใหญ่และการปฏิบัติการที่มุ่งทำงานแค่ในส่วนของตนเอง จากรูปแบบของสถาปัตยกรรมการใช้งานแบบเดิม (siloed architecture) ยังคงอยู่ ซึ่งในเฟส 2.0 ของ Cloud Native นั้นจะเป็นเฟสแบบ “IN Cloud” ที่องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการโดยอาศัยพื้นฐานของเทคโนโลยี Cloud Native อาทิ AI, Big Data, วิดีโอและเสียง รวมทั้งการประมวลผลแบบ Edge มาผนวกรวมด้วย
องค์กรต่าง ๆ ยังต้องการศักยภาพการใช้งานที่รองรับสถาปัตยกรรมแบบเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้บริการทั้งรูปแบบเก่าและใหม่สามารถทำงานประสานกันได้ ซึ่งหัวเว่ยถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายแรก ๆ ที่ลงทุนในโซลูชัน Cloud Native และเป็นบริษัทสมาชิกจากทวีปเอเชียเพียงบริษัทเดียวที่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) โดย HUAWEI CLOUD ได้มุ่งมั่นทำงานในด้าน Cloud Native และครองอันดับหนึ่งในด้านการส่งมอบหลักปฏิบัติการภายในชุมชนนักพัฒนา และผู้คอยให้การสนับสนุนในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ HUAWEI CLOUD ได้ส่งมอบโครงการแรกในด้าน Cloud Native อัจฉริยะ หรือ KubeEdge และโครงการระบบประมวลผล Volcano ซึ่งถือเป็นการริเริ่มการพัฒนาเทคโนโลยี Cloud Native และในปีที่ผ่านมา HUAWEI CLOUD ได้กลายเป็นบริษัทเดียวของทวีปเอเชียที่ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการอำนวยการแห่ง Istio
ทั้งนี้ โซลูชัน Cloud Native 2.0 ของ HUAWEI CLOUD จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านนวัตกรรมธุรกิจ อีโคซิสเต็ม โมเดล และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการขนส่ง อี-คอมเมิร์ซ สื่อ และในอีกหลากหลายภาคอุตสาหกรรม
แหล่งอ้างอิง:
1 Gartner, Market Share: IT Services, Worldwide 2020, By Christine Tenneson, Neil Barton, et al., 8 April 2021
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น