กรุงเทพฯ - (26 มีนาคม 2564) ยุคปัจจุบันนับเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เป็นยุคที่เกิดการปฏิวัติ (Revolution) ในหลากหลายวงการและอุตสาหกรรม สร้างความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบกับทุกองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หลายองค์กรในประเทศไทยในปัจจุบัน ยังคงยึดหลักการบริหารแบบ Bureaucracy หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ ‘ระบบราชการ’ ซึ่งปลูกฝังความเป็นลำดับขั้น (Hierarchy) มีกระบวนการที่ซับซ้อน มีขั้นตอนซ้ำซ้อนเกินความจำเป็น กฎเยอะกฎแยะ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับการบริหารจัดการองค์กรในยุคดิจิทัลที่ต้องเน้นความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน ดังนั้น องค์กรยุคใหม่จึงต้องปฏิรูปและปรับวิธีการบริหารจัดการองค์กร (Organization Management Revolution) ให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อตอบโจทย์โลกการทำงานยุคใหม่ เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างคนทำงานกับองค์กรและยืดหยุ่นได้มากขึ้น (Engaging & Resilient)
จึงเป็นที่มาของโมเดลการบริหารจัดการองค์กรแบบใหม่ที่เน้นให้ความสำคัญกับผู้คน และผลักดันความสามารถของพนักงานให้ถึงขีดสุด เป็นใจความสำคัญของหนังสือสำหรับผู้บริหารยุคดิจิทัลชื่อดังอย่าง Humanocracy ของ แกรี่ ฮาเมล (Gary Hamel) และมิเชล ซานีนี (Michele Zanini) ผู้เขียนร่วมและผู้ก่อตั้ง Management Lab โดยองค์กรใหญ่ๆ ระดับโลกได้นำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ และประสบความสำเร็จมาแล้ว เป็นการปลูกฝังแนวคิดการเป็นเจ้าของกิจการให้กับพนักงานแต่ละคน เห็นคุณค่าของงานที่กำลังปฏิบัติ ผลักดันตนเองและองค์กรในการส่งมอบนวัตกรรมหรือผลงานที่มีคุณค่าที่จะไปขับเคลื่อนสังคมต่อไป ซึ่งการที่จะเริ่มปฏิวัติวิธีการบริหารจัดการองค์กรแบบใหม่ได้นั้น จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการ ดังนี้
1. สร้างแรงจูงใจในการทำงาน (Motivation)
การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในที่ทำงาน ไม่ใช่แค่เพียงลดอัตราการลาออกของพนักงานเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแต่ละคนด้วย โดยองค์กรจะต้องดึงเอาพลังและศักยภาพของแต่ละบุคคลออกมา อีกทั้ง คอยผลักดันให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีแรงจูงใจในการทำงานที่สูงขึ้น รู้สึกถึงคุณค่าและพึงพอใจในผลงานของตัวเอง กระตือรือร้นที่จะเอาชนะความท้าทายใหม่ๆ และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมการทำงานเป็นทีมให้ดีมากยิ่งขึ้น
2. ยึดรูปแบบการบริหารองค์กรที่ประสบความสำเร็จ (Models)
การยึดแบบอย่างจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ช่วยให้บริษัทมองเห็นภาพและแนวทางในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ไฮเออร์ (Haier) แบรนด์ชั้นนำระดับโลกด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ได้ยึดเอาหลักการพัฒนาองค์กรเรื่อง ‘การให้ความสำคัญกับคุณค่าของมนุษย์’ หรือที่ไฮเออร์เรียกกันว่า RenDanHeyi (เหรินตันเหออี) ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในโมเดลการจัดการธุรกิจที่ทั่วโลกให้การยอมรับ สิ่งที่ไฮเออร์ปฏิบัติทำให้พนักงานไฮเออร์รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และมุ่งส่งมอบนวัตกรรมให้กับผู้ใช้งานอย่างภาคภูมิใจ การเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างขององค์กรที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว จะช่วยให้การปฏิรูปองค์กรสู่ยุคดิจิทัลมีความเป็นไปได้มากขึ้น
3. ปรับวิธีคิด ให้ออกจากกรอบเดิมๆ (Mindsets)
วิธีคิดถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการบริหารจัดการองค์กร และสิ่งนี้เองสะท้อนถึงภาพลักษณ์และสิ่งที่องค์กรกำลังเป็นอยู่ ผ่านนวัตกรรมที่ส่งมอบสู่ผู้บริโภคและตัวพนักงาน ซึ่งแนวคิดแบบ Bureaucracy นั้นเชื่อว่า มนุษย์หรือพนักงานเป็นทรัพยากร และเครื่องมือที่จะมาสร้างรายได้ให้บริษัท (Human beings are resources) ในทางตรงข้าม แนวคิดแบบ Humanocracy กลับเชื่อว่า พนักงานทุกคนคือปัจเจกที่มารวมตัวกัน เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง และก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ (Impact) ให้กับบริษัทในทางที่ดีขึ้น (Human beings are agents)
4. ปรับตัว พร้อมรับสิ่งใหม่ (Migration)
ในโลกการทำงานยุคปัจจุบัน แนวคิดการบริหารจัดการองค์กรแบบเก่าอาจจะล้าหลังและถูกปฏิรูป เพื่อให้กลายเป็นองค์กรแบบใหม่ที่มีความยืดหยุ่น (Resilient) ตอบรับกับพฤติกรรมคนทำงานในยุคดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งผู้บริหารและตัวองค์กรเองจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่พร้อมปรับตัว เปิดรับแนวคิดใหม่ๆ ตลอดจนผลักดันองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าให้ทันยุคสมัย ทั้งวิธีคิดรูปแบบการบริหารจัดการพนักงาน รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุด
ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน (SEAC) จัดการบรรยายออนไลน์ในรูปแบบ Virtual Webinar สร้าง Executive Community เชิญผู้บริหาร นักคิด และผู้นำจากองค์กรและสถาบันชั้นนำทั่วโลก มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง และนำเสนอวิธีการจัดการองค์กรให้ก้าวทันยุคสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมปรับองค์กรให้เป็น Humanocracy ที่ “มองคนเป็นหัวใจสำคัญ” มากขึ้น โดยพบกับการบรรยายในรูปแบบ Virtual ของ SEAC ครั้งถัดไป ในหัวข้อ Lessons Learned: Application and Practices of RDHY Model in Large and Complex Organization โดย Kevin Nolan - President และ CEO ของ GE Appliances ได้ในวันที่ 8 เมษายน 2564 สามารถลงทะเบียนและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/3lomdHw
นอกจากนี้ SEAC ยังได้รวบรวมความรู้ หลักคิด และประสบการณ์จากผู้คว่ำหวอดในด้านการทรานฟอร์มธุรกิจมาไว้ให้เข้าถึงได้ใน IMRC หรือ ศูนย์วิจัยการจัดการนวัตกรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ความดูแลของ SEAC ร่วมกับสถาบันวิจัยผลิตภัณฑ์ไฮเออร์ (HMI) ซึ่งเป็นศูนย์กลางและแหล่งรวบรวมหลักสูตรและองค์ความรู้จากเครือข่ายองค์กรและสถาบันชั้นนำต่างๆ ระดับโลก ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมและการทรานส์ฟอร์มองค์กร เพื่อเป็นสังคมการเรียนรู้คุณภาพแห่งการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กร เปิดโอกาสให้องค์กรในประเทศไทยที่ต้องการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ระดับสากลนี้ ผ่านทาง SEAC โดยผู้บริหารและองค์กรที่สนใจสามารถเข้าถึงหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรและองค์กรต่างๆ ทั้ง Innovation Management Consulting and Training, Global Knowledge Network, และ Community Membership ได้แล้ววันนี้ ทาง https://www.seasiacenter.com หรือติดต่อคุณณัฐวุฒิ เทศผล ที่เบอร์ 081-890-4336 ได้ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น