เซินเจิ้น, 2 มีนาคม 2564 – นายเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของหัวเว่ย ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนถึงแนวทางการหาโอกาสใหม่ ๆ จากการนำเทคโนโลยี 5G ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การคมนาคม ดนตรี และอื่น ๆ โดยเขาตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมและแก่นของธุรกิจในการนำเสนอแพลตฟอร์มพื้นฐานสำหรับทุกอุตสาหกรรมแห่งยุค 5G
นายเหริน เจิ้งเฟย ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการนำโซลูชันด้านไอซีทีไปใช้เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมพื้นฐานว่า “ในยุค 5G เป้าหมายหลักของหัวเว่ยคือ การเชื่อมต่อธุรกิจหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน ถึงแม้ว่ารูปแบบของการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ในแต่ละภาคอุตสาหกรรมจะแตกต่างกัน แต่สุดท้ายแล้วเทคโนโลยีที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เป็นตัวเดียวกัน ดังนั้นเป้าหมายของเราคือ เพิ่มการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ หรือระบบการประมวลผลคอมพิวเตอร์”
หัวเว่ยยังลงทุนในการทำวิจัยขั้นพื้นฐานและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเร่งความเร็วในการพัฒนาไปสู่ 5G โดยนายเหรินเปิดเผยว่าหัวเว่ยได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและห้องปฏิบัติการร่วมกว่า 100 แห่งทั่วโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในหลายด้าน เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวมถึงด้านสุนทรียะ เพื่อพัฒนาการใช้งานเทคโนโลยี 5G และโซลูชันด้านไอซีทีในแวดวงต่าง ๆ เสริมให้เกิดอีโคซิสเต็มที่ครบสมบูรณ์สำหรับเมืองอัจฉริยะ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ รวมไปถึงแวดวงอื่น ๆ เช่น การศึกษา การสาธารณสุข อุตสาหกรรมเหมืองแร่ เป็นต้น
ภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างหัวเว่ยและพันธมิตร รวมถึงลูกค้าผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม หัวเว่ยได้ช่วยสร้างโครงข่าย 5G และการเชื่อมต่อดิจิทัลในเมืองหลวงหลายแห่งทั่วโลก เช่น เบอร์ลิน โซล กรุงเทพมหานคร และริยาด โครงข่ายเหล่านี้ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมโครงข่ายของหัวเว่ย ด้วยการปลดล็อกการเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อและส่งมอบศักยภาพสูงสุดให้แก่อุปกรณ์ระดับไฮเอนด์ที่ทำงานอยู่บนโครงข่ายเหล่านั้น
ในวันนี้ หัวเว่ยซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านไอซีทีระดับโลกยังคงมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยได้เริ่มวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ในปี 2009 และในช่วงปลายปี 2019 หัวเว่ยได้ส่งมอบมาตรฐานกว่า 26,600 โครงการให้แก่สถาบันด้านมาตรฐานเครือข่ายมือถือระดับโลกอย่าง 3GPP นอกจากนี้สถาบัน ETSI หรือ European Telecommunications Standards Institution ยังให้ข้อมูลว่าหัวเว่ยเป็นเจ้าของสิทธิบัตรด้าน 5G มากถึง 4,348 ฉบับ คิดเป็น 20% ของสิทธบัตรทั้งหมดในด้านนี้ จึงนับได้ว่าเป็นผู้ให้บริการด้านโซลูชัน 5G ที่มีสิทธิบัตรมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งช่วยวางรากฐานที่แข็งแกร่งในการทำวิจัยและพัฒนารวมไปถึงการนำเทคโนโลยี 5G ไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น