มูลนิธิเชฟแคร์ส เดินหน้าตามเจตนารมณ์สร้างคนคุ ณภาพกลับสู่สังคม ผ่านโครงการสานฝันปั้นเชฟ ให้ "โอกาส" เด็กจากสถานพินิจและเด็กด้ อยโอกาส สู่การเป็นเชฟมืออาชีพ โดยนางมาริษา เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พร้อมด้วยนายณัฏฐพล ภวไพบูลย์ (เชฟนิค) และนายชุมพล แจ้งไพร (เชฟชุมพล) สมาชิกมูลนิธิเชฟแคร์ส ร่วมกันต้อนรับเยาวชนทั้ง 12 คนในวันเปิดเทอม ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
นางมาริษา เจียรวนนท์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเชฟแคร์ส กล่าวว่า Chef Cares ประสบความสำเร็จจากหัวใจจิ ตอาสาของเชฟระดับท้อปเชฟทั้ง 73 ท่าน จึงต้องการสานต่อการช่วยเหลือสั งคมผ่านมูลนิธิเชฟแคร์ส โดยคงแนวคิดทางด้านอาหาร ในรูปแบบของการให้ทุนการศึ กษาแก่เยาวชนที่มีความชื่ นชอบการทำอาหารเป็นพิเศษ (passion) ให้ได้เข้ามาเรียนรู้จากเชฟระดั บชั้นนำของเมืองไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และ Role Model สานฝันการเป็นเชฟในอนาคตให้เด็ กๆ
"เป็นความตั้งใจที่จะให้โอกาสกั บเด็กด้อยโอกาสกลุ่มนี้ได้มี อาชีพที่ดี โครงการนี้จะให้ทั้งความรู้ และการบ่มเพาะแนวความคิดด้านบวก ให้เขากลับตัวได้ และมีงานทำ น้องๆ จะได้รับแรงบันดาลใจจากท็ อปเชฟที่เขาได้ใกล้ชิด และเขาจะเป็นคนคุณภาพกลับคืนสู่ สังคมได้ในที่สุด” นางมาริษากล่าว
ด้านนายณัฏฐพล ภวไพบูลย์ หรือ เชฟนิค สมาชิกมูลนิธิเชฟแคร์ส และเจ้าของร้านอาหารวังหิ่งห้อย กล่าวว่า ในฐานะเจ้าของร้านอาหารที่จะเข้ ามาสอนน้องๆด้วย สิ่งสำคัญที่ตั้งใจจะถ่ายทอด นอกเหนือจากเทคนิคพิ เศษในการทำอาหารแล้ว คือการส่งเสริมให้พวกเขามีทั ศนคติเป็นบวก (Positive thinking)
"ผมตั้งใจจะเปิดโอกาสให้เด็ กๆได้พิสูจน์ตนเองอีกครั้ง เชื่อว่าภายหลังการบ่มเพาะผ่ านโครงการสานฝันปั้นเชฟ น้องๆเหล่านี้ที่มีประสบการณ์ อย่างหนักในชีวิต จะมีความคิดเชิงบวกต่ อตนเองและสังคม" เชฟนิคกล่าว
นางสาวดวงพร อุกฤษณ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบงานยุติ ธรรมเด็กและเยาวชน กล่าวว่า “ยังไม่เคยเห็นโครงการทุนการศึ กษาใดที่มีความสมบูรณ์แบบเท่ากั บโครงการนี้ ที่จะให้ทั้งความรู้ และความเข้าใจต่อเยาวชน ที่ต้องการ "โอกาส" ในการกลับคืนสู่สังคม ขอขอบคุณมูลนิธิเชฟแคร์สเป็นอย่ างมากที่หยิบยื่นโอกาสที่มีค่ ายิ่งนี้ให้น้องๆ อย่างเต็มที่ หากน้องคนไหนมีความสามารถ มีความประพฤติดี ก็มีโอกาสที่จะร้องต่อศาลเพื่ อให้ปล่อยตัวออกไปใช้ชีวิตในสั งคมก่อนครบกำหนดโทษได้”
ทั้งนี้ โครงการสานฝันปั้นเชฟ เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของมูลนิธิ เชฟแคร์ส เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้วิธี การประกอบอาหารทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ตลอดจนได้ฝึกงานจริงกับเชฟมื ออาชีพที่มีชื่อเสียงระดั บแนวหน้าของประเทศ ควบคู่การพัฒนาศั กยภาพของตนเองภายใต้การดู แลของนักจิตวิทยา รวมถึงมีโอกาสได้ประกอบอาชี พเชฟตามความฝันของตน
หลักสูตรดังกล่าว มีระยะเวลาศึกษา 5 เดือน แบ่งเป็นการเรียนรู้ในภาคทฤษฎี กับปฏิบัติ เป็นเวลา 2 เดือน และฝึกประสบการณ์วิชาชีพยังร้ านอาหารของเชฟระดับแถวหน้ าของเมืองไทย (Top Chef ) อีก 3 เดือน
สำหรับเยาวชนที่ได้รับการคัดเลื อกเข้าร่วมโครงการนี้เป็นน้องๆ จากสถานพินิจ 6 คนและเป็นเด็กด้อยโอกาสจากพื้ นที่ห่างไกล เช่น ชาวเขา ที่ผ่านการคัดเลือกจากศูนย์วิจั ยการจัดการความรู้การสื่อสารเพื่ อการพัฒนา (CCDKM) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อีก 6 คน รวมเป็น 12 คน ทุกคนล้วนมีความชื่ นชอบในการทำอาหาร และใฝ่ฝันอยากเป็นเชฟมืออาชีพ
โครงการ “สานฝันปั้นเชฟ” มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ โอกาสเยาวชนที่เคยหลงผิดได้กลั บตัว มีอาชีพสุจริตและสามารถกลับคื นสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ โดยมูลนิธิเชฟแคร์สสนับสนุนทุ นการศึกษา และใช้สถาบันการจัดการปัญญาภิวั ฒน์เป็นสถานที่จัดการเรี ยนการสอนตลอดหลักสูตร และหากเยาวชนรายใดมี ความสามารถและมีความประพฤติดีก็ จะได้รับโอกาสในการจ้างงานต่อไป
อนึ่ง โครงการเชฟแคร์ส เริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่เดื อนมีนาคม 2563 เพื่อส่งมอบความห่ วงใยแทนคำขอบคุณให้กับบุ คลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ โควิด-19 ผ่านเมนูอาหารกลางวัน ที่รังสรรค์โดยเชฟยอดฝีมือระดั บแถวหน้าของเมืองไทยหมุนเวียนกั นเสิร์ฟเมนูรสชาติดีมีคุณค่ าทางโภชนาการ และได้ต่อยอดสู่การจัดตั้ง "มูลนิธิเชฟแคร์ส์" ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริ มศาสตร์แห่งอาหารไทยที่ปรุงด้ วยความพิถีพิถัน ให้เป็นที่รู้จักและยอมรั บในระดับโลก และจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้ างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคมได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นการสร้างแรงบั นดาลใจให้เยาวชนที่รักการปรุ งอาหารได้เรียนรู้และเติบโตเป็ นเชฟระดับแนวหน้าเช่นเดียวกั บเชฟแคร์ส์ต้นแบบ ด้วยความหลากหลาย ความสร้างสรรค์และงดงาม ที่สุดจะเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ จะสนับสนุนวิถีอาหารไทยให้ทั่ วโลกได้รู้จักในฐานะศูนย์ รวมศาสตร์ของอาหารที่ดีที่สุ ดของเอเซีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น