กรุงเทพฯ (2 กุมภาพันธ์ 2564) - โลกยุคใหม่คือโลกแห่งการทำคอนเทนต์
ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน
หรือแม้กระทั่งคอนเทนต์ที่สะท้อนถึงตัวตน หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ
ซึ่งด้วยแพลทฟอร์มที่หลากหลายในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Instagram Facebook
TikTok หรือ YouTube ล้วนรองรับและส่งเสริมให้ทุกคนเป็นคอนเทนต์
ครีเอเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น
‘วิดีโอคอนเทนต์’
เทรนด์ใหม่มาแรงที่สุดในทศวรรษนี้
หนึ่งในสื่อหลักที่คนนิยมใช้ในการทำคอนเทนต์
คือ ‘ภาพนิ่ง’
(Still photos) เพราะด้วยความคุ้นเคย ความง่ายและสะดวกรวดเร็ว
โดยไม่ต้องคิดถึงการสร้างเนื้อเรื่องก่อน (Storyline)
รวมถึงการที่คนส่วนใหญ่คิดว่าการถ่ายวิดีโอต้องมีการวางแผนเนื้อเรื่อง
หรือต้องมีความรู้ด้านเทคนิคถึงจะสื่อสารคอนเทนต์ออกมาได้เป็นอย่างดี
ทำให้คนไม่ค่อยเลือกบันทึกช่วงเวลาสำคัญต่างๆ ด้วยโหมดวิดีโอมากนัก
แต่ด้วยเทรนด์ที่เปลี่ยนไป
จะเห็นได้ว่า ‘วิดีโอ’ คือสื่อที่กำลังมาแรงที่สุดในยุคนี้
ทั้งในมุมของการรับชมคอนเทนต์และการผลิตคอนเทนต์วิดีโอ
ดังจะเห็นได้จากผลสำรวจที่ว่าคนไทยใช้เวลาบน YouTube เพิ่มขึ้น
20% เมื่อเทียบกับปี
ก่อนหน้า พร้อมทั้งมีคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในช่อง YouTube
ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนมากถึง 450 ช่อง รวมถึงมีจำนวนผู้ใช้ TikTok เพิ่มขึ้น 44.5%
ภายใน 4 เดือน โดยมียอดชมวิดีโอ 61.9 พันล้านครั้งต่อเดือน และสร้างวิดีโอ
89.8 ล้านวิดีโอต่อเดือน
สร้างคอนเทนต์ให้ปัง
ต้องมาทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ
คอนเทนต์เพียงรูปแบบเดียวไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนยุคใหม่อีกต่อไปแล้ว
เพราะจากประสบการณ์
การใช้งานที่ผ่านมา
ทำให้คนรับรู้ว่าภาพนิ่งและภาพวิดีโอทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน โดย ‘ภาพนิ่ง’ จะเป็นการแคปเจอร์ภาพที่เกิดจากความตั้งใจ
หรือเป็นการถ่ายทอดวินาทีที่สวยและโดดเด่นที่สุด
ซึ่งเราสามารถมาปรับแต่งเพิ่มเติมให้สวยงามมากขึ้นในภายหลังได้ แตกต่างจาก ‘วิดีโอ’ ที่จะถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก เหตุการณ์
หรือสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารกับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้างได้ดียิ่งกว่า พร้อมสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมได้ง่ายกว่า
ดังนั้น
จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นคนเริ่มทำคอนเทนต์ทั้งสองแบบเพื่อลงในโซเชียลมีเดียมากขึ้น
โดยวิดีโอคอนเทนต์ถือเป็นรูปแบบสื่อที่สร้างการมีส่วนร่วม
(Engagement) สูงมาก โดยโพสต์ประเภทวิดีโอใน Facebook
ได้รับการแชร์มากกว่าภาพนิ่งถึง 65% พร้อมทั้งเทรนด์คนดูและแชร์ต่อโพสต์บน
IG Story มากขึ้นถึง 30.23% รวมถึงการมีส่วนร่วมบน
Instagram เพิ่มขึ้น 2 เท่า และบน Facebook
สูงที่สุดอยู่ที่ 9.52%[1] ในปี 2019 ซึ่งด้วยโซเชียลมีเดียแพลทฟอร์มยอดนิยมในปัจจุบันกว่า
9 ใน 10
ได้พัฒนาให้รองรับทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ
ทำให้เทรนด์นี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตไปอย่างไม่หยุดยั้งในปี 2021 นี้
คอนเทนต์ที่ดี
เริ่มจากการมีเครื่องมือที่ใช่
จากการที่วิดีโอเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนมากยิ่งขึ้น
โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำเสนอตัวตนและความชอบของตนเองบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบคอนเทนต์วิดีโอยาว
ที่ทำหน้าที่บรรยายความรู้สึกในรูปแบบที่หลากหลายและแสดงตัวตน ผ่านช่องทาง YouTube หรือคอนเทนต์วิดีโอสั้น
เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจในชีวิตประจำวัน
ด้วยพฤติกรรมตามแพลทฟอร์มวิดีโอต่างๆ ทำให้สมาร์ทโฟนถูกใช้งานเพื่อถ่ายวิดีโอมากขึ้น
ซึ่งส่งผลให้การเลือกสมาร์ทโฟนที่มีกล้องคุณภาพดี ฟีเจอร์ยอดเยี่ยม
เพื่อมอบการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอที่สร้างคอนเทนต์ได้ดี
เป็นหนึ่งในเกณฑ์การตัดสินใจซื้อของคนยุคนี้
Galaxy S21 Series 5G ออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์
‘การทำคอนเทนต์’ ให้เก็บทั้งภาพและวิดีโอได้คุณภาพสูงดั่งมืออาชีพ ถ่ายรูปสวย ครบทุกสีสัน
ผ่านเซ็นเซอร์กล้องใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในซัมซุง กาแลคซี่ พร้อมแต่งภาพได้มากกว่าโดยไม่เสียรายละเอียด
กับไฟล์ภาพแบบ Raw 12-bit มาตรฐาน D.S.L.R
รวมถึงการถ่ายวิดีโอระดับ HDR10+ คมชัดทุกสภาพแสง
ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ ที่จะช่วยให้การถ่ายวิดีโอง่ายและสนุกขึ้น อย่างโหมด Director’s
View กับมุมมองหลากหลายเลนส์ให้เลือกปรับเปลี่ยนได้ขณะถ่าย
ไม่ต้องตัดต่อ ใช้งานได้ทันที รวมถึงโหมด Vlogger View ถ่ายคอนเทนต์ผ่านกล้องหน้า-หลังได้พร้อมกัน เพื่อเก็บความประทับใจทุกช็อตได้แบบไม่มีพลาด
พร้อมทั้งยังเหมาะกับ ‘การดูคอนเทนต์’ ด้วยจอแสดงผลรีเฟรชเรท 10 - 120Hz บนความละเอียดสูงระดับ WQHD+
เพื่อการดูคอนเทนต์ได้อย่างลื่นไหล แสดงผลเฉดสีที่แม่นยำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วยจอขอบเขตสีกว้างถึง
3 ล้านต่อหนึ่ง นอกจากนี้ยังสู้แดดได้ดี ใช้งานกลางแจ้งชัดเจนกับความสว่างจอ
1,500 nits
§ Galaxy S21 Ultra 5G เปิดตัวมาใน 2 สีสุดคลาสสิก ได้แก่ Phantom
Black และ Phantom Silver
§ Galaxy S21+ 5G มาใน 3 เฉดสีสุดโมเดิร์น นำโดย Phantom
Violet, Phantom Black และ Phantom Silver
§ Galaxy S21 5G มาใน 3 สี ได้แก่ Phantom Pink, Phantom Gray และ
Phantom Violet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น