วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

เลขาธิการ คปภ. ปลุกพลังบุคลากรสำนักงาน คปภ. มุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำบุคลากรมีศักยภาพสูง กระบวนการทำงานมีความคล่องตัว และขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใต้แนวคิด“ทันโลก ก้าวไกล ร่วมใจ ใฝ่คิด พิชิตเป้าหมาย”



เลขาธิการ คปภ. ปลุกพลังบุคลากรสำนักงาน คปภ. มุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำบุคลากรมีศักยภาพสูง กระบวนการทำงานมีความคล่องตัว และขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใต้แนวคิด“ทันโลก ก้าวไกล ร่วมใจ ใฝ่คิด พิชิตเป้าหมาย”

    

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาพนักงาน คปภ. ประจำปี 2563 ภายใต้แนวคิด OIC 5G – ปลุกไฟ..ให้ลุกโชน “ทันโลก ก้าวไกล ร่วมใจ ใฝ่คิด พิชิตเป้าหมาย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานปี 2563 และแนวทางการดำเนินงานในปี 2564 พร้อมมอบนโยบายให้กับพนักงานและลูกจ้าง สำนักงาน คปภ. ณ โรงแรม เดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

  

เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ในช่วงปี 2563 สำนักงาน คปภ. ต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ มากมาย ทั้งการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ COVID – 19 ที่ทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในยุค New Normal แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสในการปรับกระบวนการและวิธีการทำงานแบบใหม่ ภายใต้การรักษาระยะห่างทางสังคม Social distancing โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึงความร่วมแรงร่วมใจของพนักงานและภาคธุรกิจประกันภัย ที่ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมประกันภัยก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ ได้ด้วยดี โดยผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยจัดทำผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆ (New Product Development) ที่ตอบสนองพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน หรือตามภูมิภาคหรือพื้นที่เฉพาะ ส่งเสริมการเข้าถึงระบบประกันภัยและการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านประกันภัยแก่ประชาชน การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านประกันภัย โดยเฉพาะกรณีการเกิดอุบัติภัยรายใหญ่ การจัดทำแนวทางปฏิบัติในการเตรียมพร้อมรองรับ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ ทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายอนุบัญญัติ Regulatory Guillotine Project เพื่อลดละ เลิกกฎหมายที่ล้าสมัย หรือไม่จำเป็น การพัฒนาระบบงาน OIC Gateway การพัฒนาแอพพลิเคชั่นคนกลาง ForSure และการเพิ่มหลักเกณฑ์เรื่อง Digital Face to Face การเพิ่มช่องทาง OIC Chatbot เพื่อตอบปัญหาด้านการประกันภัย การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนราษฎร์กับกรมการปกครอง และข้อมูลการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับกับกรมการขนส่งทางบก การกำหนดทิศทางให้ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย (CIT) เป็น One Stop Service ด้านการประกันภัย มุ่งสู่การเป็น InsurTech Hub ของภูมิภาคอาเซียน การพัฒนานวัตกรรมด้านการประกันภัย ใน SandBox การเตรียมความพร้อมสำหรับการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 (IFRS17) เรื่องสัญญาประกันภัย จัดทำข้อเสนอแนะหรือแนวปฏิบัติ (Guidelines) ประเมินความพร้อมและผลกระทบ (Gap and Impact Analysis) ทั้งของบริษัทประกันภัยและสำนักงาน คปภ. ส่งเสริมให้ระบบประกันภัยเข้าไปบริหารความเสี่ยงให้กับภาครัฐ เป็นต้น 

 

 เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับนโยบายการดำเนินงานในปี 2564 ต้องเร่งขับเคลื่อนดำเนินการ ตามทิศทางยุทธศาสตร์ เป้าหมายที่คาดหวัง และกิจกรรมที่สำคัญ (Top Priorities) ตามแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 ซึ่งเป็นนโยบายในการกำหนดทิศทางและนโยบายในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทย เพื่อให้ “ระบบประกันภัยไทยมีความมั่นคง ยั่งยืน และแข่งขันได้ในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าถึงการประกันภัยและใช้ประโยชน์ในการรองรับความเสี่ยง” แผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี ที่เป็นเสมือนเข็มทิศกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ที่มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมและเท่าทันกับสภาพแวดล้อมในอนาคต แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 3 (IT Master Plan) เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรกำกับดูแลดิจิทัลที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน ลดการใช้กระดาษ (Paperless) และใช้เทคโนโลยีและข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจและสนับสนุนการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน และแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ระยะ 3 ปี เพื่อพัฒนาและยกระดับการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานภายใต้ธีม “SMART HR, SMART People, SMART OIC”โดยดำเนินการให้ครอบคลุมใน 4 มิติ คือ 1) มิติการปรับเปลี่ยน โดยการปรับเปลี่ยนและเพิ่มมิติการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมรับมือความเสี่ยงใหม่ และสอดคล้องกติกาสากล อาทิ ศึกษามาตรการและแนวทาง (Policy tools) ในด้านผลิตภัณฑ์ประกันภัย การลงทุน และเงินกองทุน พัฒนากระบวนการกำกับดูแลแบบอัตโนมัติ รวมถึงพัฒนาฐานข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในการกำกับและตรวจสอบธุรกิจประกันภัย และส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการดำเนินธุรกิจและการลงทุนที่สะท้อนแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) อย่างเป็นรูปธรรม 2) มิติการเชื่อมั่น โดยสร้างความเชื่อมั่นและปลูกฝังค่านิยมด้านการประกันภัยด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยและกลไกที่เป็นธรรม พัฒนาเครื่องมือ วิธีการและช่องทางใหม่ๆ ในการให้ความรู้ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัยให้กับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้การประกันภัยสอดแทรกเข้าไปในวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนและการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนมากขึ้น ยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัย และจัดทำมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติในการให้บริการด้านการประกันภัยที่ดี รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือของสำนักงาน คปภ. ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัย ทั้งในด้านการพัฒนาระบบงาน กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ฐานข้อมูลที่เชื่อมโยง 3) มิติการก้าวล้ำ โดยสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยปรับตัวให้ทันกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปรับปรุงหลักเกณฑ์และกระบวนการทดสอบนวัตกรรมในโครงการ Insurance Regulatory Sandbox ให้มีความยืดหยุ่นและรวดเร็ว พัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันภัย (Insurance Bureau System: IBS) และฐานข้อมูลการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (Claim Database) พัฒนากรอบและเครื่องมือในการประเมินความพร้อมด้านการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Resilience assessment framework: CRAF) และสร้างกลไกความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานกำกับดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคการเงิน ขยายบทบาท CIT ให้เป็น One Stop Service สำหรับบริษัทประกันภัยและ Startup รวมถึงสร้างเครือข่ายและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการประกันภัย และ 4) มิติการพัฒนา โดยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและความสามารถในการรับความเสี่ยงภัยที่สอดคล้องกับภูมิทัศน์ความเสี่ยง (Risk Landscape) ของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น (time to market) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความต้องการและรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งเสริมและขยายผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จำเป็นและตอบสนองความต้องการของประชาชนที่หลากหลายมากขึ้น ผลักดันการประกันสุขภาพภาคเอกชน (Private Health Insurance) และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดอุปสรรคและปัญหาของการประกันสุขภาพ และนำประกันสุขภาพไปต่อยอดสวัสดิการรักษาพยาบาล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการประกันสุขภาพได้อย่างแพร่หลาย ในราคาที่เหมาะสม ศึกษาความเป็นไปได้และกำหนดแนวทางในการเพิ่มบทบาทของการประกันภัยในการรองรับความเสี่ยงของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ ศึกษาและพัฒนาแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพในการรับเสี่ยงภัยของประเทศในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทความเสี่ยง และความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย

  



ในโอกาสนี้ ยังได้เชิญคุณอรพิมพ์ รักษาผล หรือ คุณเบส วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก มาบรรยายพิเศษหัวข้อ “ปลุกพลังชีวิต พิชิตเป้าหมาย” เพื่อปลุกกระตุ้นพลังและไฟในการทำงาน รวมถึงการเสริมสร้างทัศนคติ ความรัก ความภูมิใจในองค์กร และการรวมพลังกันของพนักงานเพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกันในอนาคต นอกจากนี้ ในช่วงบ่ายได้จัดให้มีกิจกรรม CSR โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ร่วมกิจกรรมทำประโยชน์เพื่อสังคม ได้แก่ กิจกรรมบำรุงศาสนาและทำความสะอาดห้องน้ำ ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดคลองตาลอง และกิจกรรมทำความสะอาดสถานที่ ให้อาหารช้าง และบริจาคสิ่งของที่จำเป็น ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เขาใหญ่ ส่วนกิจกรรมในช่วงเย็น เป็นการแสดงมุทิตาจิตให้กับผู้ที่เกษียณอายุประจำปี 2563 ซึ่งปีนี้มี ผู้เกษียณอายุจำนวน 11 คน โดยเลขาธิการ คปภ. ได้มอบโล่เกียรติคุณ ของที่ระลึก และกล่าวขอบคุณแก่พนักงานเกษียณที่ได้ทุ่มเททำงานให้กับสำนักงาน คปภ. อย่างเต็มความสามารถมาโดยตลอด จากนั้นได้จัดกิจกรรมสันทนาการร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคีระหว่างพี่น้องชาว คปภ.

  


“การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผ่านทุกมิติต้องตั้งอยู่บนรากฐานที่สำคัญ คือ การมุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำ บุคลากรมีศักยภาพสูง กระบวนการทำงานมีความคล่องตัว และขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไปพร้อมกับความร่วมมือ ร่วมใจ สามัคคี และความมุ่งมั่นทุ่มเทของพนักงานสำนักงาน คปภ. ทุกคน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายสูงสุด มุ่งสู่การเป็น Digital Insurance Regulator ได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง ได้รับความน่าเชื่อถือจากประชาชน และสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชนต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

Highlight TharnType the Series SS2 (7 years of love) EP.8 กำลังใจไม่มา “ธาร-ไทป์” ห่างกันในวันที่ต้องการที่สุด!!



 Highlight TharnType the Series SS2 (7 years of love) EP.8


กำลังใจไม่มา “ธาร-ไทป์” ห่างกันในวันที่ต้องการที่สุด!!

 

คืนวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคมนี้ ซีรี่ส์ TharnTypeThe Series Season 2 (7 Years of Love) EP.8 เวลา 22:45 น. ทางช่อง one31 ผลิตโดย บริษัท มี มายด์ วายจำกัด ร่วมกับ บริษัท ทริปเปิลเอท เอนเตอร์      เทนเมนท์ เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ “ไทป์” รับบทโดย คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์” ที่กำลังมีปัญหากับหัวหน้าอย่าง ฐิติ” รับบทโดย “วิวิศน์ บวรกีรติขจร” จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ในโรงพยาบาล เป็นเหตุให้ “ไทป์”ตัดสินใจลาออกทันที ในขณะที่ “ธาร” รับบทโดย “ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์” ต้องทำงานอยู่ที่ต่างจังหวัดหลายวันไม่สามารถกลับมาได้ ทำให้ทั้งคู่ไม่มีเวลาอยู่ด้วยกัน จนทำให้ “ไทป์” เข้าใจผิดว่า กิล” รับบทโดย ภูริชล คุ้มศิริ” เพื่อนร่วมงานของ “ธาร” กำลังจะเข้ามาเป็นมือที่สาม ระหว่างพวกเขาสองคน เรื่องราวทั้งหมดจะเป็นอย่างไรต่อไป

         อุปสรรคความสัมพันธ์ระหว่าง “ธาร-ไทป์” เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จะก้าวต่อไปอย่างไร มาร่วมลุ้น ให้กำลังใจ และติดตามบรรยากาศทั้งหมดนี้ได้ใน “TharnType the Series SS2 (7 years of loves)” EP.8 คืนวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคมนี้เวลา 22:45 น. ทางช่อง one31 และ  รับชมย้อนหลังได้ทาง LINE TV เวลา 23:45 น.

กกพ. สนับสนุน เทลสกอร์ ดึงพลังอินฟลูเอนเซอร์ส่งเสริมพลังงานสะอาด โครงการส่งเสริมการตระหนักรู้และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

 

กกพ. สนับสนุน เทลสกอร์ ดึงพลังอินฟลูเอนเซอร์ส่งเสริมพลังงานสะอาด

โครงการส่งเสริมการตระหนักรู้และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life

ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

 

กรุงเทพฯ, 24 ธันวาคม 2563 - กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ให้การสนันสนุนเทลสกอร์ และภาคีจากภาครัฐและเอกชนรวม 25 องค์กร จัดทำโครงการด้านการส่งเสริมพลังงานสะอาด 26 โครงการ  ภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้สังคมและประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมด้านไฟฟ้า และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานสะอาด (Clean Energy) ไปจนถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาที่ยั่งยืนทางด้านไฟฟ้าและพลังงานที่จะสร้างประโยชน์ในหลายระดับรวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวไทย โดยประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยสนับสนุนการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาล 77 แห่งทั่วประเทศ ผ่านมูลนิธิแพทย์ชนบทเพื่อไฟจากฟ้า



ดร.บัณฑูร  เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)  กล่าวว่า พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ดังนั้น กกพ. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลกิจการพลังงานด้านกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติ จึงต้องการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผ่านพลังการสื่อสาร ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อสังคมไทยและคุณภาพชีวิตของคนไทย ทั้งนี้จากความสำเร็จของโครงการในปีที่แล้วเพื่อสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารทุกมิติ จนก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมทางสังคม สู่การปรับใช้จริงในชีวิตประจำวัน เราจึงเดินหน้าต่อยอดไปสู่กลยุทธ์การสื่อสารอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2563 - 2564 โดยมุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจจนก่อเกิดเป็นรูปธรรม รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างเครือข่ายใหม่จากพลังงานหมุนเวียน เพื่อความยั่งยืนด้านพลังงานในประเทศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของโครงการสื่อสารในปีนี้คือการดึงอินฟลูเอนเซอร์จากหลากหลายวงการเข้ามาช่วยเผยแพร่เนื้อหาผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มในวงกว้าง

“ผลสำเร็จของโครงการภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน  จะสร้างประโยชน์เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยดีขึ้นจากการใช้และผลิตพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แนวคิดนี้ยังนำไปสู่การเข้าถึงพลังงานสะอาดในราคาที่เข้าถึงได้ สร้างผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งทุกคนในสังคมไทยจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ท้ายสุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกนี้ จะช่วยพัฒนาสังคมไทยให้เกิดสมดุลในทุกมิติ และเชื่อมโยงสังคมทุกระดับ จากครัวเรือนสู่ชุมชน สู่สังคมโดยรวม และสู่ระดับโลก บนเส้นทางสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน”  

นอกเหนือจากการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนแล้ว เป้าหมายสูงสุดของแนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน คือการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการช่วยสนับสนุนการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาล 77 แห่งทั่วประเทศไทย ผ่านมูลนิธิแพทย์ชนบทเพื่อไฟจากฟ้า ซึ่งต้นทุนสำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์กำลังผลิต 100 กิโลวัตต์นั้น สามารถช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของโรงพยาบาลได้เดือนละประมาณ 60,000 บาท ดังนั้นในระยะเวลา 1 ปี โรงพยาบาลจะสามารถลดภาระค่าไฟฟ้าได้ราว 720,000 บาท โดยต่อ 1 โรงพยาบาล ใช้งบประมาณไม่เกิน ล้านบาทในการติดตั้ง และเนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งาน 25 ปี จึงสามารถช่วยโรงพยาบาลลดภาระค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 18 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการใช้งาน โดยส่วนต่างจากการจ่ายค่าไฟที่น้อยลง สามารถนำไปจัดหาอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคนอย่างยั่งยืน

 

สำหรับการสื่อสารผ่านอินฟลูเอนเซอร์ เทลสกอร์ (Tellscore) หนึ่งในผู้นำด้านอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งแพลตฟอร์ม ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้คัดสรรอินฟลูเอนเซอร์หรือผู้มีอิทธิพลด้านการสื่อสารให้ตอบโจทย์และส่งเสริมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ โดยงานครั้งนี้ Tellscore ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงาน กกพ. ในการทำหน้าที่ดึงพลังการสร้างสรรค์ของอินฟลูเอนเซอร์มาใช้ในการเชื่อมต่อและถ่ายทอดข้อมูลที่ถูกต้องและเข้าใจง่ายให้กับประชาชนในวงกว้าง โดยเฉพาะเยาวชนและคนรุ่นใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการ Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน

 


นางสาวสุวิตา จรัญวงศ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Tellscore กล่าวว่า “Tellscore มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในภาคีพันธมิตรที่จะช่วยทำให้แนวคิด Clean Energy for Life บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านเครื่องมือและช่องทางสื่อสารต่างๆ ที่จะสามารถเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายและนำไปสู่การมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคมได้ โดย Tellscore จะส่งต่อความรู้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนพลังงานงานสะอาด ผ่านแคมเปญการสื่อสารที่มีการวางแผนอย่างรอบคอบ รวมไปถึงกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบที่ได้รับความร่วมมือจากผู้มีอิทธิพลด้านการสื่อสารชั้นนำจากหลายวงการ ที่จะหยิบยกประเภทพลังงานทดแทนและหัวข้อสื่อสารที่สำคัญเพื่อแสดงถึงตัวอย่างของพลังงานสะอาดและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยแคมเปญการสื่อสารจะดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564” 

 

แคมเปญการสื่อสารผ่านอินฟลูเอนเซอร์ดังกล่าวมี 3 ระยะด้วยกัน เริ่มจากระยะที่ 1 การสร้างการตระหนักรู้เบื้องต้นด้านพลังงานสะอาด และแนะนำภาพรวมแนวคิด Clean Energy for Life พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ผ่านการสร้างคอนเทนต์ที่จะถูกเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์เพื่อกระตุ้นการรับรู้และความเข้าใจ ส่วนในการระยะที่ 2 เน้นการสื่อสารเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power) ซึ่งจะถูกจะถ่ายทอดผ่านโครงการ สร้างการตระหนักรู้และมีส่วนร่วมในเรื่องของการใช้พลังงานสะอาดเพื่อ 77 โรงพยาบาลทั่วไทย มอบโอกาสแก่คนไทยทุกคนในการมีส่วนร่วมติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาลทั้ง 77 แห่งทั่วประเทศ ผ่านมูลนิธิแพทย์ชนบทเพื่อไฟจากฟ้าและระยะที่ 3 “Waste Journey การเดินทางของขยะ ที่ทุกคนต้องรู้เป็นการสื่อสารเกี่ยวกับพลังงานขยะ (Waste to Energy) เพื่อสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีลดการสร้างขยะด้วยแนวคิด 3R และการแยกขยะอย่างถูกวิธีช่วยให้เราสามารถเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าร่วมสร้างพลังด้านการสื่อสาร อาทิ อเล็กซ์ เรนเดลล์, เรย์ แมคโดนัล, แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์, ศรราม น้ำเพชร, โต้ง Twopee, โตโน่ ภาคิน, สิงห์ วรรณสิงห์, รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น เป็นต้น โดยอินฟลูเอนเซอร์แต่ละท่านจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเรื่องราวและความรู้เกี่ยวกับพลังงานสะอาดตามแนวทางการสร้างคอนเทนต์ของตน เพื่อให้ผู้ติดตามสามารถเข้าใจและจดจำเนื้อหาสำคัญ ตลอดจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน 

โครงการ “คนละครึ่งสู้ภัยโควิด...รัฐไม่ต้องออกทิพยออกให้” ด่วน จำกัด 1,000,000 สิทธิ์ เพียงเดือนเดียวเท่านั้น

 


โครงการ “คนละครึ่งสู้ภัยโควิด...รัฐไม่ต้องออกทิพยออกให้”

ด่วน จำกัด 1,000,000 สิทธิ์ เพียงเดือนเดียวเท่านั้น

 

ทิพยประกันภัย ห่วงใยพี่น้องประชาชน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและแพร่กระจายไปยังหลายจังหวัดทั่วประเทศ ประกอบเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ที่มีพี่น้องประชาชนได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาจำนวนมาก ด้วยความห่วงใยและมอบเป็นของขวัญให้กับพี่น้องประชาชน ทิพยประกันภัย จึงจัดโครงการ “คนละครึ่งสู้ภัยโควิด...รัฐไม่ต้องออกทิพยออกให้” ให้ประชาชนสามารถมีประกันภัยโควิด-19 ในราคาครึ่งเดียวเพียง 75 บาท ทุนประกันภัยสูงสุด 1 แสนบาท จำกัด 1,000,000 สิทธิ์ สามารถซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มกราคม 2564 เพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น        

 

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย ว่า จากเหตุการณ์ ไวรัสโคโรนา (โควิด-19) สายพันธุ์ใหม่ ที่พบมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะนี้  ทิพยประกันภัยมีความห่วงใยในสุขภาพพี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่ง  รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ทำโครงการ “คนละครึ่งสู้ภัยโควิด...รัฐไม่ต้องออกทิพยออกให้”  ให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงการประกันภัยโควิด-19 เพื่อรองรับความเสี่ยงในราคาประหยัด และถือเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่จากทิพยประกันภัย ซึ่งบริษัทฯ จะช่วยออกค่าเบี้ยประกันภัยให้ครึ่งหนึ่ง พี่น้องประชาชนสามารถซื้อได้จากปกติราคา 150 บาท เหลือเพียง 75 บาท  จำกัดสิทธิ์เพียง 1,000,000 สิทธิ์เท่านั้น เริ่มโครงการ 1 มกราคม ถึง 31 มกราคม 2564

สำหรับรายละเอียดความคุ้มครอง จะมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลต่อปี 10,000 บาท และเงินชดเชยกรณีเจ็บป่วยภาวะโคม่า จากการติดเซื้อไวรัสโคโรนา 100,000 บาท (ความคุ้มครองเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์) 

 

สามารถซื้อกรมธรรม์ เพื่อรับความคุ้มครองได้ที่  www.Tipinsure.com หรือ โทร 1736 และทิพยประกันภัย ทุกสาขาทั่วประเทศ




ที ลีสซิ่ง จับมือ ศรีประจันต์วัฒนยนต์ จัดอบรม "ขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดมลพิษ" โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี

  บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด  ผู้ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้ อรถจักรยานยนต์  ในเครือ เอ็ม บี เค  เล็งเห็นความสำคัญของการขับขี่ รถบนท้องถนนอย่างปลอ...